หอการค้าไทยจับมือ 3 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธ.ก.ส. และ ส.ป.ก. ผลักดันโครงการ 1 ไร่ 1 แสน เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืน
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยภายหลังการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “แก้จน แก้จริง ปฏิบัติการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท” วันนี้ (25 มิ.ย.) ว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผลักดันโครงการ 1 ไร่ 1 แสน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรของประเทศให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยจะใช้พื้นที่แปลงนาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินธุรกิจ (Business Model) ให้เกษตรกรได้นำไปใช้ในการพึ่งพาต้นเองในระยะยาว
โดยรูปแบบการดำเนินการ หอการค้าไทยจะคัดเลือกเกษตรกรจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศให้มาเข้าร่วมโครงการ โดยจะใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจำนวน 100 ไร่ ให้เกษตรกรใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบ 85 คน คนละ 1 ไร่ และมีพื้นที่ส่วนกลางประมาณ 10 ไร่ ซึ่งหอการค้าไทยจะเป็นที่ปรึกษาในการถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร คัดสรรปัจจัยการผลิต วัตถุดิบ เพื่อให้เกษตรกรต้นแบบนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดต่อเกษตรกรในพื้นที่
สำหรับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะเป็นผู้พัฒนาและออกแบบพื้นที่ให้เหมาะสมกับโครงการและร่วมคัดเลือกเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส่วน ธ.ก.ส.จะทำหน้าที่บริหารโครงการและจัดสรรงบประมาณ พร้อมทั้งคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบ ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผล รวมถึงสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบล่วงหน้าให้แก่เกษตรกรต้นแบบโดยไม่คิดดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหอการค้าไทยได้มีการดำเนินโครงการนำร่องแห่งแรกที่บ้านหนองแต้ จ.ขอนแก่น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก เกษตรกรมีรายได้เกินกว่า 2 แสนบาทต่อไร่ และต่อมาได้ผลักดันการปลูกมันสำปะหลัง ที่บ้านมาบยางพร จ.ระยอง ก็ประสบความสำเร็จ และได้บรรจุโครงการดังกล่าวไว้ในแนวทางการทำงานของหอการค้าไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ที่มุ่งในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำ ชี้นำเศรษฐกิจ ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน สร้างสรรค์สังคมไทย และก้าวไกลสู่สากล
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยภายหลังการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “แก้จน แก้จริง ปฏิบัติการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท” วันนี้ (25 มิ.ย.) ว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผลักดันโครงการ 1 ไร่ 1 แสน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรของประเทศให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยจะใช้พื้นที่แปลงนาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินธุรกิจ (Business Model) ให้เกษตรกรได้นำไปใช้ในการพึ่งพาต้นเองในระยะยาว
โดยรูปแบบการดำเนินการ หอการค้าไทยจะคัดเลือกเกษตรกรจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศให้มาเข้าร่วมโครงการ โดยจะใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจำนวน 100 ไร่ ให้เกษตรกรใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบ 85 คน คนละ 1 ไร่ และมีพื้นที่ส่วนกลางประมาณ 10 ไร่ ซึ่งหอการค้าไทยจะเป็นที่ปรึกษาในการถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร คัดสรรปัจจัยการผลิต วัตถุดิบ เพื่อให้เกษตรกรต้นแบบนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดต่อเกษตรกรในพื้นที่
สำหรับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะเป็นผู้พัฒนาและออกแบบพื้นที่ให้เหมาะสมกับโครงการและร่วมคัดเลือกเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส่วน ธ.ก.ส.จะทำหน้าที่บริหารโครงการและจัดสรรงบประมาณ พร้อมทั้งคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบ ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผล รวมถึงสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบล่วงหน้าให้แก่เกษตรกรต้นแบบโดยไม่คิดดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหอการค้าไทยได้มีการดำเนินโครงการนำร่องแห่งแรกที่บ้านหนองแต้ จ.ขอนแก่น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก เกษตรกรมีรายได้เกินกว่า 2 แสนบาทต่อไร่ และต่อมาได้ผลักดันการปลูกมันสำปะหลัง ที่บ้านมาบยางพร จ.ระยอง ก็ประสบความสำเร็จ และได้บรรจุโครงการดังกล่าวไว้ในแนวทางการทำงานของหอการค้าไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ที่มุ่งในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำ ชี้นำเศรษฐกิจ ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน สร้างสรรค์สังคมไทย และก้าวไกลสู่สากล