เครือข่ายผู้บริโภคหนุนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หลังฟรีทีวีผ่านดาวเทียมจอดำทำวืดชมบอลยูโร 2012 แนะ 3 ช่องทาง ส่งเรื่องร้องเรียน กสทช.-ร้องเรียน สคบ. หรือร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นฟ้อง พร้อมเปิดเว็บดาวน์โหลดแบบฟอร์มร้องทุกข์
หลังจากที่พบสถานการณ์ “จอดำ” ผ่านช่องฟรีทีวีจึงไม่สามารถรับชมรายการฟุตบอลยูโร 2012 ได้อย่างแน่นอนแล้วนั้น ทำให้ผู้บริโภคกว่า 10 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศไทยได้รับความเดือนร้อนไปตามๆ กัน จึงมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคถึงการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าว หลังจากที่ สคบ.ยืนยันว่าเป็นสิทธิที่ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย และจะมีการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการฟ้องร้องต่อไป
ไม่รู้จะปิดฉากอย่างไรกับจอดำอำมหิตที่นำเสนอผ่านช่อง 3, 5 และ 9 (ฟรีทีวี) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลิขสิทธิ์ หรือกลไกธุรกิจของใครก็ตาม นั่นเป็นเรื่องของเอกชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องแก้ไข แต่สำหรับประชาชนแล้วย่อมสามารถรับชมผ่านฟรีทีวีได้โดยไม่เสียเงินสักบาท นั่นเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงได้รับตั้งแต่เกิด
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวถึงการไม่ได้รับความยุติธรรมของผู้บริโภคที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย รวมทั้งด้านจิตใจ จึงมีสิทธิที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายพระราชบัญญัติพิจารณาคดีผู้บริโภค ซึ่งเป็นคดีแพ่ง และมีบทลงโทษตามที่ผู้เสียหายร้องเรียน
โดยผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายสามารถทำการร้องเรียนเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีผ่าน 3 ช่องทางหลักๆ ดังนี้
1. ส่งเรื่องร้องเรียนไปที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.
2. ร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
และ 3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อยื่นเรื่องฟ้องร้องในลำดับต่อไป
“ถ้าคิดว่าตัวเองเสียหายก็สามารถมาฟ้องร้องได้ทันที ส่วนขั้นตอนสำหรับคนที่สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตของมูลนิธิฯ ได้ คุณสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มร้องทุกข์ได้เลย แล้วถ้าคิดว่าสิ่งที่คุณได้รับไม่ถูกต้อง หรือไม่พอใจกับสิ่งนั้น คุณก็มีสิทธิร้องเรียนและมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี หรือฟ้องเองที่ศาลก็ได้ตามกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของผู้บริโภค”
ไม่ว่าจะไปร้องเรียนในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้เขาฟ้องคดีแทน หรือจะไปเข้าชื่อรวมกลุ่มกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อทำการฟ้องร้องกันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราสามารถเลือกได้ ถ้าคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและเคยถูกเอารัดเอาเปรียบ
เมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เห็นดีเห็นงามที่จะให้มีการฟ้องร้องในคดีแพ่ง โดยให้ผู้บริโภคเรียกร้องค่าเสียหายชดเชย ซึ่งมีบทลงโทษตามมูลค่าความเสียหายนั้นๆ
“ถ้าน้อยกว่า 5 หมื่น ศาลก็จะให้มีการชดเชย ถ้าเห็นว่าเรื่องนี้มีการเอาเปรียบผู้บริโภคก็จะพิจารณาเชิงลงโทษได้ด้วยการจ่ายชดเชยได้ถึง 5 เท่า หรืออาจจะมีมาตรการอื่นๆ ตามกฎหมายได้อีก ซึ่งเราเสียหายอย่างไรก็ว่าไปตามนั้น รวมถึงค่าเสียหายทางจิตใจด้วยก็สามารถฟ้องร้องได้เช่นกัน”
หลังจากที่พบสถานการณ์ “จอดำ” ผ่านช่องฟรีทีวีจึงไม่สามารถรับชมรายการฟุตบอลยูโร 2012 ได้อย่างแน่นอนแล้วนั้น ทำให้ผู้บริโภคกว่า 10 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศไทยได้รับความเดือนร้อนไปตามๆ กัน จึงมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคถึงการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าว หลังจากที่ สคบ.ยืนยันว่าเป็นสิทธิที่ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย และจะมีการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการฟ้องร้องต่อไป
ไม่รู้จะปิดฉากอย่างไรกับจอดำอำมหิตที่นำเสนอผ่านช่อง 3, 5 และ 9 (ฟรีทีวี) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลิขสิทธิ์ หรือกลไกธุรกิจของใครก็ตาม นั่นเป็นเรื่องของเอกชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องแก้ไข แต่สำหรับประชาชนแล้วย่อมสามารถรับชมผ่านฟรีทีวีได้โดยไม่เสียเงินสักบาท นั่นเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงได้รับตั้งแต่เกิด
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวถึงการไม่ได้รับความยุติธรรมของผู้บริโภคที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย รวมทั้งด้านจิตใจ จึงมีสิทธิที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายพระราชบัญญัติพิจารณาคดีผู้บริโภค ซึ่งเป็นคดีแพ่ง และมีบทลงโทษตามที่ผู้เสียหายร้องเรียน
โดยผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายสามารถทำการร้องเรียนเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีผ่าน 3 ช่องทางหลักๆ ดังนี้
1. ส่งเรื่องร้องเรียนไปที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.
2. ร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
และ 3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อยื่นเรื่องฟ้องร้องในลำดับต่อไป
“ถ้าคิดว่าตัวเองเสียหายก็สามารถมาฟ้องร้องได้ทันที ส่วนขั้นตอนสำหรับคนที่สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตของมูลนิธิฯ ได้ คุณสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มร้องทุกข์ได้เลย แล้วถ้าคิดว่าสิ่งที่คุณได้รับไม่ถูกต้อง หรือไม่พอใจกับสิ่งนั้น คุณก็มีสิทธิร้องเรียนและมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี หรือฟ้องเองที่ศาลก็ได้ตามกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของผู้บริโภค”
ไม่ว่าจะไปร้องเรียนในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้เขาฟ้องคดีแทน หรือจะไปเข้าชื่อรวมกลุ่มกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อทำการฟ้องร้องกันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราสามารถเลือกได้ ถ้าคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและเคยถูกเอารัดเอาเปรียบ
เมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เห็นดีเห็นงามที่จะให้มีการฟ้องร้องในคดีแพ่ง โดยให้ผู้บริโภคเรียกร้องค่าเสียหายชดเชย ซึ่งมีบทลงโทษตามมูลค่าความเสียหายนั้นๆ
“ถ้าน้อยกว่า 5 หมื่น ศาลก็จะให้มีการชดเชย ถ้าเห็นว่าเรื่องนี้มีการเอาเปรียบผู้บริโภคก็จะพิจารณาเชิงลงโทษได้ด้วยการจ่ายชดเชยได้ถึง 5 เท่า หรืออาจจะมีมาตรการอื่นๆ ตามกฎหมายได้อีก ซึ่งเราเสียหายอย่างไรก็ว่าไปตามนั้น รวมถึงค่าเสียหายทางจิตใจด้วยก็สามารถฟ้องร้องได้เช่นกัน”