“คมนาคม” ขึงขังจับตาดีเซลลดต่ำกว่า 30 บาท/ลิตร จี้ลดค่าโดยสาร ส่วนรถร่วมฯ ขสมก.ต้องตรึงราคาตามมติ กบง. ด้านรถร่วมฯ ขสมก.ยัน 16 มิถุนายนขึ้น 1 บาท ระบุตกลงกันแล้วเตรียมบุกคมนาคมขอความชัดเจน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การพิจารณาเรื่องอัตราค่าโดยสารของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ที่มีการแยกผู้ประกอบการที่ใช้น้ำมันดีเซลและก๊าซ NGV ออกจากกันนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และนโยบายต้องการให้พิจารณาการปรับค่าโดยสารอย่างเป็นธรรมที่สุด ซึ่งการอนุมัติให้รถสองแถว, รถมินิบัส และรถร่วมบริการ บขส.ขึ้นค่าโดยสารเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมาก็เป็นไปตามต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้แนวโน้มราคาน้ำมันดีเซลเริ่มลดลง ซึ่งหากราคาลงต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตรก็จะต้องมีการปรับลดค่าโดยสารลงด้วย ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเช่นกัน
ส่วนรถร่วมบริการ ขสมก.ที่ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้นยังไม่มีการปรับขึ้นราคาเนื่องจากใช้ก๊าซ NGV ซึ่งมติให้ปรับขึ้น 1 บาทวันที่ 16 มิถุนายน 55 ภายใต้เงื่อนไขราคาก๊าซ NGV อยู่ที่ 9.50 บาทต่อลิตร แต่หลังจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติตรึงราคา NGV ออกไปอีก 3 เดือน ซึ่งราคาจะอยู่ที่ 10.50 ต่อลิตร และรถร่วมฯ ขสมก.จะได้รับการช่วยเหลืออีก 2 บาทเท่ากับเหลือ 8.50 บาทต่อลิตรเท่าเดิมจึงต้องตรึงค่าโดยสารต่อไป ส่วนที่ผู้ประกอบการจะมีข้อเสนอให้รัฐช่วยเหลือต้นทุนที่นอกเหนือจากราคา NGV นั้นคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจะเป็นผู้พิจารณา
ด้านนายวิทยา เปรมจิตร์ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชน หรือรถร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวยืนยันว่า การปรับขึ้นค่าโดยสารเมื่อราคาก๊าซ NGV อยู่ที่ 9.50 บาทต่อกิโลกรัมนั้นไม่เกี่ยวกับรถร่วมฯ ขสมก.เพราะเป็นข้อตกลงของกลุ่มแท็กซี่จะมารวมเอารถร่วมฯ ขสมก.ไปร่วมด้วยไม่ได้ ดังนั้น ในวันที่ 1 มิถุนายน 55 จะปรับขึ้นค่าโดยสาร 1 บาทแน่นอน ซึ่ง รมช.คมนาคมได้ยืนยันต่อผู้ประกอบการเองหลังจากที่หารือร่วมกันที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานเพื่อขอพบนายชัชชาติ รมช.คมนาคม เพื่อขอความชัดเจนอีกครั้ง และหากไม่ให้ขึ้นค่าโดยสารตามข้อตกลง สมาคมฯ จะประชุมสมาชิกเพื่อกำหนดท่าทีต่อไปเพราะถือว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
เนื่องจากปัจุบันผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มจากค่าแรง ค่าอะไหล่ ไม่ใช่ค่าก๊าซNGV อย่างเดียว และก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการเสนอขอปรับขึ้นค่าโดยสาร 2 บาท เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนก๊าซ NGV ที่ 8.50 บาทต่อลิตรเท่านั้น แต่รัฐเจรจาขอให้พบกันครึ่งทางขึ้นแค่ 1 บาทก่อน
“คมนาคม” ขึงขังจับตาดีเซลลดต่ำกว่า 30 บาท/ลิตร จี้ลดค่าโดยสาร ส่วนรถร่วมฯ ขสมก.ต้องตรึงราคาตามมติ กบง. ด้านรถร่วมฯ ขสมก.ยัน 16 มิถุนายนขึ้น 1 บาท ระบุตกลงกันแล้วเตรียมบุกคมนาคมขอความชัดเจน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การพิจารณาเรื่องอัตราค่าโดยสารของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ที่มีการแยกผู้ประกอบการที่ใช้น้ำมันดีเซลและก๊าซ NGV ออกจากกันนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และนโยบายต้องการให้พิจารณาการปรับค่าโดยสารอย่างเป็นธรรมที่สุด ซึ่งการอนุมัติให้รถสองแถว, รถมินิบัส และรถร่วมบริการ บขส.ขึ้นค่าโดยสารเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมาก็เป็นไปตามต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้แนวโน้มราคาน้ำมันดีเซลเริ่มลดลง ซึ่งหากราคาลงต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตรก็จะต้องมีการปรับลดค่าโดยสารลงด้วย ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเช่นกัน
ส่วนรถร่วมบริการ ขสมก.ที่ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้นยังไม่มีการปรับขึ้นราคาเนื่องจากใช้ก๊าซ NGV ซึ่งมติให้ปรับขึ้น 1 บาทวันที่ 16 มิถุนายน 55 ภายใต้เงื่อนไขราคาก๊าซ NGV อยู่ที่ 9.50 บาทต่อลิตร แต่หลังจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติตรึงราคา NGV ออกไปอีก 3 เดือน ซึ่งราคาจะอยู่ที่ 10.50 ต่อลิตร และรถร่วมฯ ขสมก.จะได้รับการช่วยเหลืออีก 2 บาทเท่ากับเหลือ 8.50 บาทต่อลิตรเท่าเดิมจึงต้องตรึงค่าโดยสารต่อไป ส่วนที่ผู้ประกอบการจะมีข้อเสนอให้รัฐช่วยเหลือต้นทุนที่นอกเหนือจากราคา NGV นั้นคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจะเป็นผู้พิจารณา
ด้านนายวิทยา เปรมจิตร์ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมบริการเอกชน หรือรถร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวยืนยันว่า การปรับขึ้นค่าโดยสารเมื่อราคาก๊าซ NGV อยู่ที่ 9.50 บาทต่อกิโลกรัมนั้นไม่เกี่ยวกับรถร่วมฯ ขสมก.เพราะเป็นข้อตกลงของกลุ่มแท็กซี่จะมารวมเอารถร่วมฯ ขสมก.ไปร่วมด้วยไม่ได้ ดังนั้น ในวันที่ 1 มิถุนายน 55 จะปรับขึ้นค่าโดยสาร 1 บาทแน่นอน ซึ่ง รมช.คมนาคมได้ยืนยันต่อผู้ประกอบการเองหลังจากที่หารือร่วมกันที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานเพื่อขอพบนายชัชชาติ รมช.คมนาคม เพื่อขอความชัดเจนอีกครั้ง และหากไม่ให้ขึ้นค่าโดยสารตามข้อตกลง สมาคมฯ จะประชุมสมาชิกเพื่อกำหนดท่าทีต่อไปเพราะถือว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
เนื่องจากปัจุบันผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มจากค่าแรง ค่าอะไหล่ ไม่ใช่ค่าก๊าซNGV อย่างเดียว และก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการเสนอขอปรับขึ้นค่าโดยสาร 2 บาท เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนก๊าซ NGV ที่ 8.50 บาทต่อลิตรเท่านั้น แต่รัฐเจรจาขอให้พบกันครึ่งทางขึ้นแค่ 1 บาทก่อน