“พาณิชย์” ประกาศจัดสรรการส่งออกสินค้ากล้วยสด สับปะรดสด และเนื้อสุกรปรุงแต่ง ที่ได้รับสิทธิภายใต้ JTEPA ปี 2555
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีภายใต้ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (JTEPA) ปี 2555 สำหรับกล้วยสด สับปะรดสด และเนื้อสุกรปรุงแต่ง
โดยผู้ส่งออกกล้วยสดและเนื้อสุกรปรุงแต่งที่ได้รับสิทธิการจัดสรรปริมาณการส่งออกตามรายชื่อบัญชีท้ายประกาศนี้ สามารถยื่นขอหนังสือรับรองเพื่อใช้ประกอบการส่งออกต่อกรมการค้าต่างประเทศ ได้ดังนี้ 1. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin: From JTEPA) 2. หนังสือรับรองการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน (Certificate of Tariff Rate Quota)
ในส่วนของโควตาการใช้สิทธิ JTEPA ของสับปะรดสด ให้ขอหนังสือรับรองดังกล่าวข้างต้นได้ ตามหลักการยื่นขอก่อนได้รับสิทธิก่อน (First come, first served) ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักบริหารการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 0-2547-5118 และ 0-2547-5120
นายสุรศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้สิทธิดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางด้านราคาและส่งเสริมการส่งออกให้แก่สินค้าเกษตรดังกล่าวของไทยไปประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น หากแต่ไทยเองต้องระวังเรื่องการรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าให้คงที่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะกล้วยสด ซึ่งมีผลผลิตไม่แน่นอนและค่อนข้างไม่ได้มาตรฐานในการส่งออก ทำให้มีการใช้สิทธิเพียง 27.10% ของโควตาที่ได้รับเท่านั้น ซึ่งถือว่าใช้สิทธิน้อยมาก รวมถึงสับปะรดสดที่มีการใช้สิทธิเพียง 6.51% เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องขนาดน้ำหนักไม่เกิน 900 กรัม และที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ขอเงินกองทุน FTA เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพด้านการผลิตการตลาดเพื่อการส่งออกสับปะรดไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นภายใต้สิทธิ JTEPA ซึ่งจะทำให้สับปะรดไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น และสามารถส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นภายใต้ JTEPA ได้มากขึ้น
สำหรับในปี 2554 ไทยใช้สิทธิการส่งออกสินค้าภายใต้ข้อตกลง JTEPA ปริมาณ 3,382.69 ตัน จากปริมาณโควตาทั้งหมด 9,500 ตัน โดยแบ่งเป็นกล้วยสดปริมาณ 2,168.21 ตัน (ใช้สิทธิ 27.10%) จากปริมาณโควตา 8,000 ตัน สับปะรดสดปริมาณ 19.54 ตัน (ใช้สิทธิ 6.51%) จากปริมาณโควตา 300 ตัน และเนื้อสุกรปรุงแต่งปริมาณ 1,194.93 ตัน (ใช้สิทธิ 99.58%) จากปริมาณโควตา 1,200 ตัน
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีภายใต้ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (JTEPA) ปี 2555 สำหรับกล้วยสด สับปะรดสด และเนื้อสุกรปรุงแต่ง
โดยผู้ส่งออกกล้วยสดและเนื้อสุกรปรุงแต่งที่ได้รับสิทธิการจัดสรรปริมาณการส่งออกตามรายชื่อบัญชีท้ายประกาศนี้ สามารถยื่นขอหนังสือรับรองเพื่อใช้ประกอบการส่งออกต่อกรมการค้าต่างประเทศ ได้ดังนี้ 1. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin: From JTEPA) 2. หนังสือรับรองการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน (Certificate of Tariff Rate Quota)
ในส่วนของโควตาการใช้สิทธิ JTEPA ของสับปะรดสด ให้ขอหนังสือรับรองดังกล่าวข้างต้นได้ ตามหลักการยื่นขอก่อนได้รับสิทธิก่อน (First come, first served) ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักบริหารการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 0-2547-5118 และ 0-2547-5120
นายสุรศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้สิทธิดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางด้านราคาและส่งเสริมการส่งออกให้แก่สินค้าเกษตรดังกล่าวของไทยไปประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น หากแต่ไทยเองต้องระวังเรื่องการรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าให้คงที่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะกล้วยสด ซึ่งมีผลผลิตไม่แน่นอนและค่อนข้างไม่ได้มาตรฐานในการส่งออก ทำให้มีการใช้สิทธิเพียง 27.10% ของโควตาที่ได้รับเท่านั้น ซึ่งถือว่าใช้สิทธิน้อยมาก รวมถึงสับปะรดสดที่มีการใช้สิทธิเพียง 6.51% เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องขนาดน้ำหนักไม่เกิน 900 กรัม และที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ขอเงินกองทุน FTA เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพด้านการผลิตการตลาดเพื่อการส่งออกสับปะรดไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นภายใต้สิทธิ JTEPA ซึ่งจะทำให้สับปะรดไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น และสามารถส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นภายใต้ JTEPA ได้มากขึ้น
สำหรับในปี 2554 ไทยใช้สิทธิการส่งออกสินค้าภายใต้ข้อตกลง JTEPA ปริมาณ 3,382.69 ตัน จากปริมาณโควตาทั้งหมด 9,500 ตัน โดยแบ่งเป็นกล้วยสดปริมาณ 2,168.21 ตัน (ใช้สิทธิ 27.10%) จากปริมาณโควตา 8,000 ตัน สับปะรดสดปริมาณ 19.54 ตัน (ใช้สิทธิ 6.51%) จากปริมาณโควตา 300 ตัน และเนื้อสุกรปรุงแต่งปริมาณ 1,194.93 ตัน (ใช้สิทธิ 99.58%) จากปริมาณโควตา 1,200 ตัน