ASTVผู้จัดการรายวัน - “พาณิชย์” ยันผู้ผลิตรายใหญ่ไม่ปรับราคาสินค้า แม้ต้นทุนค่าแรงขยับขึ้น ช่วยดึงรายเล็กไม่ขยับตาม ส่วนการเปิดรับสมัครร้านถูกใจวันแรก คนแห่สมัครตรึมกว่า 100 ราย เตรียมเปิดตัวร้านต้นแบบสัปดาห์นี้ ที่พาณิชย์ ก่อนเปิดจริง 19 เม.ย.ขณะที่ผู้ผลิตน้ำดื่มรายกลางและเล็ก เริ่มทยอยขึ้นราคาขนาดถังจุ 18.9 ลิตร จาก 35 บาทต่อถัง เป็น 40 บาทต่อถัง มีผลแล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ซึ่งเป็นรายใหญ่ยอมรับว่า อยู่ระหว่างตัดสินใจจะปรับราคาหรือไม่ คาดรู้ผลเร็วๆ นี้
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ เช่น เครือสหพัฒน์ ยืนยันที่จะไม่ปรับขึ้นราคาสินค้า แม้จะได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการได้ใช้โอกาสของการขึ้นค่าแรงงาน ปรับประสิทธิภาพการผลิตควบคู่ไปด้วย ทำให้สามารถชดเชยต้นทุนค่าแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ และเมื่อผู้ผลิตรายใหญ่ไม่ปรับขึ้นราคาสินค้า จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายเล็กให้ปรับขึ้นราคาตามมา เพราะจะสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน
ส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง เช่น ชุดนักเรียน ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดในกลุ่มชุดนักเรียนยื่นหนังสือขอปรับราคาสินค้าเข้ามา โดยเชื่อว่า กลุ่มนี้กำลังอยู่ระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้นอยู่
สำหรับการดูแลค่าครองชีพของประชาชน กรมฯ จะเร่งเปิดตัวร้านถูกใจตามที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยคาดว่า ภายในสัปดาห์นี้จะเปิดตัวร้านถูกใจ ซึ่งเป็นร้านต้นแบบนำร่องแห่งแรกได้ที่กระทรวงพาณิชย์ ส่วนที่อื่นๆ อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัครร้านค้า ซึ่งวานนี้ (2 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันแรกมีผู้สนใจจากทั่วประเทศสมัครเข้ามาแล้ว 100 ราย เช่น ร้านค้าที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ และสุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 10 ราย ที่เหลือกระจายไปตามภูมิภาคอื่นๆ โดยตั้งเป้าจะเปิดตัวร้านถูกใจในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ 15 จังหวัด ได้ในวันที่ 19 เม.ย.2555 ประมาณ 2,000 ร้านค้า และภายใน 1 พ.ค.2555 อีก 8,000 ร้านค้า
น้ำดื่มทยอยปรับขึ้นราคา
นายปรีติ เจริญศิลป์ กรรมการบริหารสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าวว่า ขณะนี้สมาชิกในสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ซึ่งมีสมาชิกที่ผลิตทั้งน้ำดื่ม น้ำอัดลม และผลไม้ อยู่ระหว่างการรวบรวมผลกระทบจากสมาชิก เพื่อที่จะนำมาประกอบการพิจารณาการปรับขึ้นของราคาหรือไม่ โดยยอมรับว่า ค่าแรงที่ปรับขึ้น 300 บาทต่อวัน มีผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาก
“ผลกระทบมีแน่นอนสำหรับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น เพราะการจ่ายค่าล่วงเวลา หรือ โอที เองก็จะเพิ่มจากฐานที่สูงขึ้นด้วย เราก็กำลังรวบรวมอยู่ และคาดว่า เร็วๆ นี้ คงจะได้ข้อสรุปว่า ที่สุดจำเป็นจะต้องมีการปรับขึ้นราคามากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเราดูแล้วพอแบกรับได้ก็จะพยายามตรึงราคาไว้ แต่ถ้าดูแล้วไม่ไหวจริงก็จำเป็นจะต้องปรับขึ้น ส่วนกรณีน้ำดื่มบรรจุถังพลาสติกที่เริ่มมีการปรับราคา น่าจะเป็นผู้ผลิตรายเล็ก เพราะเขามีต้นทุนสูง” นายปรีติ กล่าว
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ เช่น เครือสหพัฒน์ ยืนยันที่จะไม่ปรับขึ้นราคาสินค้า แม้จะได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการได้ใช้โอกาสของการขึ้นค่าแรงงาน ปรับประสิทธิภาพการผลิตควบคู่ไปด้วย ทำให้สามารถชดเชยต้นทุนค่าแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ และเมื่อผู้ผลิตรายใหญ่ไม่ปรับขึ้นราคาสินค้า จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายเล็กให้ปรับขึ้นราคาตามมา เพราะจะสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน
ส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง เช่น ชุดนักเรียน ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดในกลุ่มชุดนักเรียนยื่นหนังสือขอปรับราคาสินค้าเข้ามา โดยเชื่อว่า กลุ่มนี้กำลังอยู่ระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้นอยู่
สำหรับการดูแลค่าครองชีพของประชาชน กรมฯ จะเร่งเปิดตัวร้านถูกใจตามที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยคาดว่า ภายในสัปดาห์นี้จะเปิดตัวร้านถูกใจ ซึ่งเป็นร้านต้นแบบนำร่องแห่งแรกได้ที่กระทรวงพาณิชย์ ส่วนที่อื่นๆ อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัครร้านค้า ซึ่งวานนี้ (2 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันแรกมีผู้สนใจจากทั่วประเทศสมัครเข้ามาแล้ว 100 ราย เช่น ร้านค้าที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ และสุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 10 ราย ที่เหลือกระจายไปตามภูมิภาคอื่นๆ โดยตั้งเป้าจะเปิดตัวร้านถูกใจในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ 15 จังหวัด ได้ในวันที่ 19 เม.ย.2555 ประมาณ 2,000 ร้านค้า และภายใน 1 พ.ค.2555 อีก 8,000 ร้านค้า
น้ำดื่มทยอยปรับขึ้นราคา
นายปรีติ เจริญศิลป์ กรรมการบริหารสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าวว่า ขณะนี้สมาชิกในสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ซึ่งมีสมาชิกที่ผลิตทั้งน้ำดื่ม น้ำอัดลม และผลไม้ อยู่ระหว่างการรวบรวมผลกระทบจากสมาชิก เพื่อที่จะนำมาประกอบการพิจารณาการปรับขึ้นของราคาหรือไม่ โดยยอมรับว่า ค่าแรงที่ปรับขึ้น 300 บาทต่อวัน มีผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาก
“ผลกระทบมีแน่นอนสำหรับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น เพราะการจ่ายค่าล่วงเวลา หรือ โอที เองก็จะเพิ่มจากฐานที่สูงขึ้นด้วย เราก็กำลังรวบรวมอยู่ และคาดว่า เร็วๆ นี้ คงจะได้ข้อสรุปว่า ที่สุดจำเป็นจะต้องมีการปรับขึ้นราคามากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเราดูแล้วพอแบกรับได้ก็จะพยายามตรึงราคาไว้ แต่ถ้าดูแล้วไม่ไหวจริงก็จำเป็นจะต้องปรับขึ้น ส่วนกรณีน้ำดื่มบรรจุถังพลาสติกที่เริ่มมีการปรับราคา น่าจะเป็นผู้ผลิตรายเล็ก เพราะเขามีต้นทุนสูง” นายปรีติ กล่าว