ASTVผู้จัดการรายวัน - “ทรินิตี้ สตรัคเจอร์ฯ” เปิดตัวธุรกิจเอื้อนักลงทุนต่างชาติโยกย้ายการลงทุนออกจากภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดตั้งกองทุน “Trinity Investment Partner” เข้าเทกโอเวอร์กิจการธุรกิจที่ต้องการถอนการลงทุนออก เพื่อไปลงทุนในภูมิภาคอื่น ด้วยการเข้าถือครองหุ้นแทน 100% เพื่อสิทธิ์ในการจัดการสินทรัพยถาวรของกิจการ ชี้ ช่วยอำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาดึงเงินออก มั่นใจกองทุนได้รับการตอบรับ
นายโอลิเวอร์ จีสมิท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์การลงทุน บริษัท ทรินิตี้ สตรัคเจอร์ แอนด์ ไฟแนนซ์ จำกัด หรือ TRINITY Structure and Finance เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดตั้งกองทุน Trinity Investment Partners เพื่อลงทุนในธุรกิจข้ามชาติที่ต้องการย้ายฐานการลงทุนไปจากประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และ กัมพูชา ด้วยโซลูชันการปรับโครงสร้างแบบเฉพาะ เพื่อช่วยให้ธุรกิจข้ามชาติสามารถเปลี่ยนแปลงโยกย้ายการลงทุนออกจากภูมิภาคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (Market Exit Solotion) เนื่องจากการย้ายฐานการลงทุนธุรกิจข้ามชาติออกจากอาเซียนนั้น มีความยุ่งยากพอสมควรและต้องผ่านขั้นตอนอันซับซ้อนและใช้เวลานาน โดยเฉพาะการโอนเงินออกจากตลาด เพราะมีข้อจำกัดในด้านความเข้มงวดของระบบปริวรรตเงินตรา
โดยกองทุนดังกล่าวจะเข้าไปถือครองหุ้นในกิจการทั้งหมด 100% ทำให้สามารถมีอำนาจในการเข้าไปจัดการสินทรัพย์ถาวรขององค์กรนั้นได้ ซึ่งบริษัทจะเข้าไปทำการปรับโครงสร้างกิจการ รวมทั้งการตัดขายสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทั้งนี้ บริษัทจะเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทฯยังมีนโยบายที่จะรักษามูลค่าการลงทุนขั้นต่ำของบริษัทอยู่ที่ 20% ตลอดอายุกองทุน อีกทั้งมีแผนที่จะเปิดให้มีการร่วมลงทุนเพิ่มเติมปลายปีนี้
ส่วนเหตุผลที่จัดตั้งกองทุนดังกล่าวขึ้น เนื่องจากมองว่าธุรกิจต่างๆ ที่มาลงทุนในภูมิภาคนี้ต่างมองหาโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทนสูงสุดที่ทำกำไรจากการลงทุน แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในด้านนโยบายการลงทุน หรือมีแผนย้ายฐานการลงทุนไปยังตลาดอื่นๆ บริษัทฯจึงออกแบบเครื่องมอในการจัดการทางการเงินที่สามารถช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาในการขายสินทรัพย์และถอนเงินลงทุนออกไป
“เมื่อองค์กรธุรกิจมีความต้องการขายสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ออกไปจากกิจการ มักจะมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สามารถเข้าไปจัดการกับปัญหาดังกล่าว แต่กองทุนของเราจะเข้าไปจัดการเรื่องนั้โดยเข้าไปซื้อหุ้น เข้าครอบครองกิจการและสินทรัพย์ รวมถึงการโอนเงินลงทุนคืนแก่ผู้ถือหุ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เสียเวลานาน” นายโอลิเวอร์ กล่าว
สำหรับ ทรินิตี้ สตรัคเจอร์ แอนด์ ไฟแนนซ์ เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนในธุรกิจเฉพาะด้าน เริ่มก่อตั้งเมื่อปีที่ผ่านมา และได้เปิดสำนักงานในกรุงพนมเปญอย่างเป็ฯทางการไปแล้ว อีกทั้งกำลังเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ และโฮจิมินห์ เพื่อรองรับแผนขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติจำนวนมหาศาล โดยมีธุรกิจหลักของบริษัทคือ การปรับโครงสร้างธุรกิจ การซื้อขายและการควบรวมกิจการ
ล่าสุด เมื่อปี 2554 บริษัทประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างกิจการให้กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ JSM Indochina ซึ่งจดทะเบียนอยุ่ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน โดยบริษัทเข้าไปซื้อกิจการทั้งหมดของบริษัท JSM Indochina Properties ในประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม และกัมพูชา นอกจากนี้ ยังเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทประจำภูมิภาคด้านโทรคมนาคมชั้นนำของยุโรปเพื่อทำการปรับโครงสร้างธุรกิจ
“กองทุนในรูปแบบนี้ ถือว่าเป็น Special Situation Fund ซึ่งเกิดในยุโรปและอเมริกาเหนือมาเป็นเวลานานแล้ว และได้ถูกพัฒนาไปในหลายรูปแบบด้วยกัน ในอาเซียนมีลักษณะแตกต่างจากภูมิภาคอื่นและยังคงเป็นความท้าทายต่อนักลงทุนอย่างมาก โดยโซลูชันทางการเงินของบริษัท นอกจากธุรกิจเป้าหมายอย่างอสังหาริมทรัพย์แล้ว บริษัทยังสามารถนำไปใช้ได้ในธุรกิจอื่นๆ ที่มีสินทรัพย์ด้านการเงินหรือสินทรัพย์ถาวะเป็นตัวรองรับได้อีกด้วย” นายโอลิเวอร์ กล่าว
นายโอลิเวอร์ จีสมิท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์การลงทุน บริษัท ทรินิตี้ สตรัคเจอร์ แอนด์ ไฟแนนซ์ จำกัด หรือ TRINITY Structure and Finance เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดตั้งกองทุน Trinity Investment Partners เพื่อลงทุนในธุรกิจข้ามชาติที่ต้องการย้ายฐานการลงทุนไปจากประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และ กัมพูชา ด้วยโซลูชันการปรับโครงสร้างแบบเฉพาะ เพื่อช่วยให้ธุรกิจข้ามชาติสามารถเปลี่ยนแปลงโยกย้ายการลงทุนออกจากภูมิภาคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (Market Exit Solotion) เนื่องจากการย้ายฐานการลงทุนธุรกิจข้ามชาติออกจากอาเซียนนั้น มีความยุ่งยากพอสมควรและต้องผ่านขั้นตอนอันซับซ้อนและใช้เวลานาน โดยเฉพาะการโอนเงินออกจากตลาด เพราะมีข้อจำกัดในด้านความเข้มงวดของระบบปริวรรตเงินตรา
โดยกองทุนดังกล่าวจะเข้าไปถือครองหุ้นในกิจการทั้งหมด 100% ทำให้สามารถมีอำนาจในการเข้าไปจัดการสินทรัพย์ถาวรขององค์กรนั้นได้ ซึ่งบริษัทจะเข้าไปทำการปรับโครงสร้างกิจการ รวมทั้งการตัดขายสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทั้งนี้ บริษัทจะเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทฯยังมีนโยบายที่จะรักษามูลค่าการลงทุนขั้นต่ำของบริษัทอยู่ที่ 20% ตลอดอายุกองทุน อีกทั้งมีแผนที่จะเปิดให้มีการร่วมลงทุนเพิ่มเติมปลายปีนี้
ส่วนเหตุผลที่จัดตั้งกองทุนดังกล่าวขึ้น เนื่องจากมองว่าธุรกิจต่างๆ ที่มาลงทุนในภูมิภาคนี้ต่างมองหาโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทนสูงสุดที่ทำกำไรจากการลงทุน แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในด้านนโยบายการลงทุน หรือมีแผนย้ายฐานการลงทุนไปยังตลาดอื่นๆ บริษัทฯจึงออกแบบเครื่องมอในการจัดการทางการเงินที่สามารถช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาในการขายสินทรัพย์และถอนเงินลงทุนออกไป
“เมื่อองค์กรธุรกิจมีความต้องการขายสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ออกไปจากกิจการ มักจะมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สามารถเข้าไปจัดการกับปัญหาดังกล่าว แต่กองทุนของเราจะเข้าไปจัดการเรื่องนั้โดยเข้าไปซื้อหุ้น เข้าครอบครองกิจการและสินทรัพย์ รวมถึงการโอนเงินลงทุนคืนแก่ผู้ถือหุ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เสียเวลานาน” นายโอลิเวอร์ กล่าว
สำหรับ ทรินิตี้ สตรัคเจอร์ แอนด์ ไฟแนนซ์ เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนในธุรกิจเฉพาะด้าน เริ่มก่อตั้งเมื่อปีที่ผ่านมา และได้เปิดสำนักงานในกรุงพนมเปญอย่างเป็ฯทางการไปแล้ว อีกทั้งกำลังเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ และโฮจิมินห์ เพื่อรองรับแผนขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติจำนวนมหาศาล โดยมีธุรกิจหลักของบริษัทคือ การปรับโครงสร้างธุรกิจ การซื้อขายและการควบรวมกิจการ
ล่าสุด เมื่อปี 2554 บริษัทประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างกิจการให้กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ JSM Indochina ซึ่งจดทะเบียนอยุ่ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน โดยบริษัทเข้าไปซื้อกิจการทั้งหมดของบริษัท JSM Indochina Properties ในประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม และกัมพูชา นอกจากนี้ ยังเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทประจำภูมิภาคด้านโทรคมนาคมชั้นนำของยุโรปเพื่อทำการปรับโครงสร้างธุรกิจ
“กองทุนในรูปแบบนี้ ถือว่าเป็น Special Situation Fund ซึ่งเกิดในยุโรปและอเมริกาเหนือมาเป็นเวลานานแล้ว และได้ถูกพัฒนาไปในหลายรูปแบบด้วยกัน ในอาเซียนมีลักษณะแตกต่างจากภูมิภาคอื่นและยังคงเป็นความท้าทายต่อนักลงทุนอย่างมาก โดยโซลูชันทางการเงินของบริษัท นอกจากธุรกิจเป้าหมายอย่างอสังหาริมทรัพย์แล้ว บริษัทยังสามารถนำไปใช้ได้ในธุรกิจอื่นๆ ที่มีสินทรัพย์ด้านการเงินหรือสินทรัพย์ถาวะเป็นตัวรองรับได้อีกด้วย” นายโอลิเวอร์ กล่าว