“พาณิชย์”เดินหน้าผุด ”ร้านถูกใจ” เตรียมเปิดรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมโครงการ พร้อมคัดเลือกซัปพลายเออร์ผลิตสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ การันตีถูกกว่าปกติ 20% แจงละเอียดยิบงบ 1.3 พันล้านทำอะไรบ้าง ยันไม่รัวไหลแน่นอน
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการร้านโชห่วยช่วยชาติ ภายใต้ชื่อ “ร้านถูกใจ” หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการ 1,320 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการเดือนเม.ย.-ก.ย.2555 ว่า ขณะนี้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชนที่มีตนเป็นประธาน กำลังอยู่ระหว่างการกำหนดคุณสมบัติของร้านค้า หรือร้านโชห่วย ที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการ รวมถึงพิจารณากำหนดจำนวนสินค้าจำเป็นที่จะนำมาขายในร้าน ซึ่งเบื้องต้นกำหนดกรอบไว้ไม่เกิน 20 ชนิด และกำลังจัดหาผู้ผลิต (ซัปพลายเออร์) ที่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ร้านถูกใจ (เฮาส์แบรนด์) ซึ่งได้ซัปพลายเออร์ที่จะผลิตน้ำมันพืชแล้ว ส่วนข้าวสารบรรจุถุง จะให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ดำเนินการ
ทั้งนี้ ร้านค้าที่เข้าโครงการ รัฐบาลจะปรับปรุง ตกแต่งหน้าร้านให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมดทั่วประเทศ และจะให้การสนับสนุนด้านการเงินผ่านธนาคารของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้กู้รายละ 3-4 หมื่นบาท สูงสุด 1 แสนบาท เพื่อให้นำไปซื้อสินค้าเข้ามาขาย ซึ่งสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทย ได้เลย เพราะจะมีระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอยู่แล้ว จากนั้นไปรษณีย์ จะเป็นผู้จัดส่งสินค้าไปให้
“ยืนยันได้ว่า สินค้าที่ขายในร้านนี้จะถูกกว่าท้องตลาด 20% เพราะเป็นสินค้าเฮาส์แบรนด์ ที่ผู้ผลิตหักค่าขนส่ง และค่าการตลาดออกแล้ว จึงผลิตให้เราได้ในราคาถูก ส่วนคุณภาพก็เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่มีการลดคุณภาพลงแน่นอน หากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการรายใดขายสินค้าเฮาส์แบรนด์แพงกว่าราคาที่กำหนด จะมีความผิด และจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย”นายบุญทรงกล่าว
สำหรับงบประมาณ 1,320 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าตกแต่งร้าน 10,000 บาท/ร้าน ค่าบริหารจัดการร้าน 10,000 บาท/ร้าน ค่าจัดหาวัตถุดิบ และซื้อสินค้าเข้าร้าน 100 ล้านบาท/โครงการ ค่าโลจิสติกส์ และติดตั้งระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างบริษัท ไปรษณีย์ และร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ 500 ล้านบาท/โครงการ ค่าจ้างแรงงาน 1,000 คน 100 ล้านบาท/โครงการ ค่าประชาสัมพันธ์ 100 ล้านบาท/โครงการ ค่าบริหารจัดการคณะกรรมการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ 90 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการของกรมการค้าภายใน 9 ล้านบาท
นายบุญทรง ยืนยันว่า การใช้งบประมาณจะใช้อย่างคุ้มค่า ไม่มีรั่วไหลแน่นอน เพราะแต่ละขั้นตอนจะมีคณะกรรมการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน และคณะอนุกรรมการส่วนกลาง ที่มีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเป็นประธาน กำกับดูแลอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการร้านโชห่วยช่วยชาติ ภายใต้ชื่อ “ร้านถูกใจ” หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการ 1,320 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการเดือนเม.ย.-ก.ย.2555 ว่า ขณะนี้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชนที่มีตนเป็นประธาน กำลังอยู่ระหว่างการกำหนดคุณสมบัติของร้านค้า หรือร้านโชห่วย ที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการ รวมถึงพิจารณากำหนดจำนวนสินค้าจำเป็นที่จะนำมาขายในร้าน ซึ่งเบื้องต้นกำหนดกรอบไว้ไม่เกิน 20 ชนิด และกำลังจัดหาผู้ผลิต (ซัปพลายเออร์) ที่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ร้านถูกใจ (เฮาส์แบรนด์) ซึ่งได้ซัปพลายเออร์ที่จะผลิตน้ำมันพืชแล้ว ส่วนข้าวสารบรรจุถุง จะให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ดำเนินการ
ทั้งนี้ ร้านค้าที่เข้าโครงการ รัฐบาลจะปรับปรุง ตกแต่งหน้าร้านให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมดทั่วประเทศ และจะให้การสนับสนุนด้านการเงินผ่านธนาคารของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้กู้รายละ 3-4 หมื่นบาท สูงสุด 1 แสนบาท เพื่อให้นำไปซื้อสินค้าเข้ามาขาย ซึ่งสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทย ได้เลย เพราะจะมีระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอยู่แล้ว จากนั้นไปรษณีย์ จะเป็นผู้จัดส่งสินค้าไปให้
“ยืนยันได้ว่า สินค้าที่ขายในร้านนี้จะถูกกว่าท้องตลาด 20% เพราะเป็นสินค้าเฮาส์แบรนด์ ที่ผู้ผลิตหักค่าขนส่ง และค่าการตลาดออกแล้ว จึงผลิตให้เราได้ในราคาถูก ส่วนคุณภาพก็เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่มีการลดคุณภาพลงแน่นอน หากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการรายใดขายสินค้าเฮาส์แบรนด์แพงกว่าราคาที่กำหนด จะมีความผิด และจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย”นายบุญทรงกล่าว
สำหรับงบประมาณ 1,320 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าตกแต่งร้าน 10,000 บาท/ร้าน ค่าบริหารจัดการร้าน 10,000 บาท/ร้าน ค่าจัดหาวัตถุดิบ และซื้อสินค้าเข้าร้าน 100 ล้านบาท/โครงการ ค่าโลจิสติกส์ และติดตั้งระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างบริษัท ไปรษณีย์ และร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ 500 ล้านบาท/โครงการ ค่าจ้างแรงงาน 1,000 คน 100 ล้านบาท/โครงการ ค่าประชาสัมพันธ์ 100 ล้านบาท/โครงการ ค่าบริหารจัดการคณะกรรมการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ 90 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการของกรมการค้าภายใน 9 ล้านบาท
นายบุญทรง ยืนยันว่า การใช้งบประมาณจะใช้อย่างคุ้มค่า ไม่มีรั่วไหลแน่นอน เพราะแต่ละขั้นตอนจะมีคณะกรรมการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน และคณะอนุกรรมการส่วนกลาง ที่มีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเป็นประธาน กำกับดูแลอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว