ASTVผู้จัดการรายวัน - โรงแรมเมินข้อแนะนำ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้เข้าโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำพยุงธุรกิจหลังปรับขึ้นค่าแรง หันใช้ทางเลือกของสำนักงานประกันสังคม รวมค่าเซอร์วิส ชาร์จ เป็นเงินเดือน หวั่นหลังใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทอาจต้องขายกิจการทิ้ง
วานนี้(20มี.ค.55) สมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) จัดเสวนาให้ความรู้แก่สมาชิกของสมาคม ในหัวข้อเรื่อง "อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ" เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมพร้อมที่จะบริหารจัดการธุรกิจภายหลัง อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาท มีผลบังคับใช้ ในวันที่ 1 เม.ย. ศกนี้
นายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 แต่ ในส่วนของผู้ประกอบการ รัฐก็ได้ให้ความช่วยเหลือ ในเรื่องของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หลายโครงการ รวมวงเงินกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ผ่านสถาบันการเงิน จึงต้องการให้ผู้ประกอบการที่มีปัญหาไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ได้มาเข้าโครงการ เพื่อปรับปรุงธุรกิจให้อยู่รอดได้ ในช่วงที่อยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงและต้องใช้เวลาปรับตัว และขอยืนยัน ว่า ในส่วนของค่าเซอร์วิสชาร์จ ไม่ได้นับรวมเป็นเงินเดือนของพนักงาน เพราะ ตามกฏหมายแรงงาน เงินเดือนจะหมายถึง เงินของนายจ้าง ที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่เงินค่าทิป หรือเซอร์วิชชาร์จเป็นเงินสมนาคุณจากลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว ที่มอบให้พนักงานผู้ให้บริการ โดยกรมจะขอยึดหลักการจากคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งเคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว
แนะรวมเซอร์วิสชาร์ตเป็นเงินเดือน
ทางด้านนายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า หากทำตามข้อแนะนำของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มองจะจะเป็นประโยชน์ต่อ โรงแรมใหญ่ที่เป็นเชน เท่านั้น เพราะไม่ต้องมาเสียเวลายุ่งยากด้านบัญชี คือยอมที่จะปรับฐานเงินเดือนให้เป็นไปตามกฏหมายในคราวเดียว แต่ข้อบังคับในกฏหมายฉบับนี้ กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบสูงคือ โรงแรมขนาดกลางและเล็ก กลุ่มเอสเอ็มอี จึงแนะนำให้ เลือกใช้แนวทางการปรับตัว ในรูปแบบ การนำเงินค่าทิป หรือเซอร์วิชาร์จ มารวมกับเงินเดือน เพื่อจะทำให้ รายได้ของพนักงานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่ง ประเด็นนี้ ทางสำนักงานประกันสังคม ได้ประกาศแล้วว่าสามารถรวมกันได้และไม่ผิดกฏหมาย
"ทุกวันนี้ผู้ประกอบการโรงแรมปรับขึ้นราคาห้องพักไม่ได้ เพราะปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย แต่ต้นทุนประกอบการ ทั้งวัตถุดิบปรุงอาหาร ค่าแรงงานที่กำลังจะปรับขึ้น ทำให้ ธุรกิจมีตุ้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 20%
หากไม่ ทำอะไร อนาคตคงเหลือแต่โรงแรม ใหญ่ และโรงแรมเชน เท่านั้น ในวันที่ 1 เมษายนนี้ คงยื่นหนังสือไม่ทัน แต่อยากขอให้ ผู้ประกอบการโรงแรมที่เดือดร้อน รวมตัวกันยื่นหนังสือต่อปลัดกระทรวงแรงงานซึ่งเป็นประธานคณธกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อขอให้ขยายเวลาการบังคับใช้กฏหมายนี้ในล็อตที่สอง ซึ่งจะมีผล 1 มกราคม 56 โดยจะให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จาก ล๊อตแรก นำร่อง 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี ภูเก็ต และนครปฐม ซึ่งหากใช้แนวทางของประกันสังคม ผู้ประกอบการไม่ต้องมีต้นทุนเพิ่ม มิฉะนัน้นจะกระทบให้ต้องเลิกจ้างงานได้ หรือไม่ก็อาจมีผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีล้มตายต้องขายกิจการ"
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ตอนนี้ผู้ประกอบการยังสับสนว่าจะตีความค่าเซอร์วิส ชาร์จ เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างขั้นต่ำด้วยหรือไม่ แม้แต่หน่วยงานภาครัฐเองก็ยังตีความไม่เหมือนกัน ฝั่งประกันสังคมเคยตีความถือเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุว่า ไม่ใช่ค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งสมาคมเชื่อว่า ผู้ประกบอการคงเลือกแนวทางการตีความของ สำนักประกันสังคมเป็นที่อ้างอิง คือนับรวมค่าเซอร์ชาร์จ เป็นเงินเดือนด้วย ซึ่งจะทำให้โรงแรมต่างๆ ไม่ต้องปรับขึ้นค่าจ้างเพิ่มเติม
วานนี้(20มี.ค.55) สมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) จัดเสวนาให้ความรู้แก่สมาชิกของสมาคม ในหัวข้อเรื่อง "อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ" เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมพร้อมที่จะบริหารจัดการธุรกิจภายหลัง อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาท มีผลบังคับใช้ ในวันที่ 1 เม.ย. ศกนี้
นายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะประกาศขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 แต่ ในส่วนของผู้ประกอบการ รัฐก็ได้ให้ความช่วยเหลือ ในเรื่องของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หลายโครงการ รวมวงเงินกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ผ่านสถาบันการเงิน จึงต้องการให้ผู้ประกอบการที่มีปัญหาไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ได้มาเข้าโครงการ เพื่อปรับปรุงธุรกิจให้อยู่รอดได้ ในช่วงที่อยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงและต้องใช้เวลาปรับตัว และขอยืนยัน ว่า ในส่วนของค่าเซอร์วิสชาร์จ ไม่ได้นับรวมเป็นเงินเดือนของพนักงาน เพราะ ตามกฏหมายแรงงาน เงินเดือนจะหมายถึง เงินของนายจ้าง ที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่เงินค่าทิป หรือเซอร์วิชชาร์จเป็นเงินสมนาคุณจากลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว ที่มอบให้พนักงานผู้ให้บริการ โดยกรมจะขอยึดหลักการจากคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งเคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว
แนะรวมเซอร์วิสชาร์ตเป็นเงินเดือน
ทางด้านนายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า หากทำตามข้อแนะนำของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มองจะจะเป็นประโยชน์ต่อ โรงแรมใหญ่ที่เป็นเชน เท่านั้น เพราะไม่ต้องมาเสียเวลายุ่งยากด้านบัญชี คือยอมที่จะปรับฐานเงินเดือนให้เป็นไปตามกฏหมายในคราวเดียว แต่ข้อบังคับในกฏหมายฉบับนี้ กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบสูงคือ โรงแรมขนาดกลางและเล็ก กลุ่มเอสเอ็มอี จึงแนะนำให้ เลือกใช้แนวทางการปรับตัว ในรูปแบบ การนำเงินค่าทิป หรือเซอร์วิชาร์จ มารวมกับเงินเดือน เพื่อจะทำให้ รายได้ของพนักงานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่ง ประเด็นนี้ ทางสำนักงานประกันสังคม ได้ประกาศแล้วว่าสามารถรวมกันได้และไม่ผิดกฏหมาย
"ทุกวันนี้ผู้ประกอบการโรงแรมปรับขึ้นราคาห้องพักไม่ได้ เพราะปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย แต่ต้นทุนประกอบการ ทั้งวัตถุดิบปรุงอาหาร ค่าแรงงานที่กำลังจะปรับขึ้น ทำให้ ธุรกิจมีตุ้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 20%
หากไม่ ทำอะไร อนาคตคงเหลือแต่โรงแรม ใหญ่ และโรงแรมเชน เท่านั้น ในวันที่ 1 เมษายนนี้ คงยื่นหนังสือไม่ทัน แต่อยากขอให้ ผู้ประกอบการโรงแรมที่เดือดร้อน รวมตัวกันยื่นหนังสือต่อปลัดกระทรวงแรงงานซึ่งเป็นประธานคณธกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อขอให้ขยายเวลาการบังคับใช้กฏหมายนี้ในล็อตที่สอง ซึ่งจะมีผล 1 มกราคม 56 โดยจะให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จาก ล๊อตแรก นำร่อง 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี ภูเก็ต และนครปฐม ซึ่งหากใช้แนวทางของประกันสังคม ผู้ประกอบการไม่ต้องมีต้นทุนเพิ่ม มิฉะนัน้นจะกระทบให้ต้องเลิกจ้างงานได้ หรือไม่ก็อาจมีผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีล้มตายต้องขายกิจการ"
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ตอนนี้ผู้ประกอบการยังสับสนว่าจะตีความค่าเซอร์วิส ชาร์จ เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างขั้นต่ำด้วยหรือไม่ แม้แต่หน่วยงานภาครัฐเองก็ยังตีความไม่เหมือนกัน ฝั่งประกันสังคมเคยตีความถือเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุว่า ไม่ใช่ค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งสมาคมเชื่อว่า ผู้ประกบอการคงเลือกแนวทางการตีความของ สำนักประกันสังคมเป็นที่อ้างอิง คือนับรวมค่าเซอร์ชาร์จ เป็นเงินเดือนด้วย ซึ่งจะทำให้โรงแรมต่างๆ ไม่ต้องปรับขึ้นค่าจ้างเพิ่มเติม