ASTVผู้จัดการรายวัน- อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์เบรกลงทุนเพิ่ม ชี้แรงงานขาด-บทเรียนน้ำท่วมยังตามหลอน ฟันธงเอสเอ็มอีเจอน้ำท่วมปีนี้ปิดกิจการ 50% “ปู” ผวาเอาไม่อยู่ ค่าครองชีพพุ่ง สั่งก.พลังงานทำตัวเลขให้ชัด ปชป.” อัดรบ.เมินแก้ปัญหาของแพง เด็กพท.โชว์คลิป สู้ ปชป. โต้ของแพง ม็อบมันเมืองกาญจน์บุกสภา
นายศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย นายกสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มที่จะวางแผนเพื่อขยายการลงทุนเพิ่มเติมในไทยในขณะนี้ แต่ยังคงติดปัญหาอยู่ โดยเฉพาะ 2 ปัจจัยสำคัญคือ 1. เกิดการขาดแคลนฝีมือแรงงานที่จะป้อนอุตฯนี้ถึงแสนคน 2.บทเรียนจากน้ำท่วมทำให้ต้องพิจารณาการกระจายความเสี่ยง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการต้องรอดูนโยบายจากภาครัฐบาลเป็นสำคัญทั้งเรื่องการผลิตแรงงานฝีมือ มาตรการส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ เพื่อการตัดสินใจลงทุนในแผนระยะยาว
“ การย้ายฐานการผลิตนั้นไม่ง่ายเพราะไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีอยู่แล้วและมีผู้ผลิตด้านชิ้นส่วนที่เข้มแข็งการย้ายไปเพื่อนบ้านก็จะไม่พร้อมส่วนนี้ ดังนั้นภาพรวมจึงยังใช้ไทยเป็นฐานการผลิตอยู่แต่จะขยายการลงทุนเพิ่มอีกหรือไม่เป็นอีกเรืองหนึ่ง”นายศุภชัยกล่าว
นอกจากนี้นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่จะมีผลนำร่อง 7 จังหวัดวันที่ 1 เม.ย.นี้ สิ่งที่เป็นห่วงมากสุดก็คือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ที่ประสบภาวะน้ำท่วมซึ่งขณะนี้ยังไม่ฟื้นตัวแต่จะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มมีแนวโน้มว่าจะปิดกิจการไม่น้อยกว่า 50% ในปีนี้จากปัจจุบันเอสเอ็มอีที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนฯป้อนอุตสาหกรรมหลักเช่น ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ พลาสติก ประสบภาวะน้ำท่วมมีอย่างต่ำ 20,000 ราย
ทั้งนี้ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลกลุ่มเอสเอ็มอีเร่งด่วน ใน 2 ประเด็น คือ 1.จัดหาแหล่งเงินทุนช่วยเหลือ และ 2.ผ่อนปรนภาษี โดยยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายซึ่งปัจจุบันเก็บในอัตรา 3% ให้เหลือ 0.5% ซึ่งจะช่วยเอสเอ็มอีได้มากกว่าการลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก 30% เหลือ 23% และเหลือ 20% เพราะมาตรการนี้เอสเอ็มอีแทบไม่ได้ประโยชน์ใดๆ
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีกระแสข่าวบริษัทฮอนด้าย้ายฐานการผลิตไปยังอินโดนีเซียนั้นทางบริษัทฯฮอนด้าเองได้ชี้แจงไปแล้วซึ่งเชื่อว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกค่ายเองก็มีการไปขยายการลงทุนประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้มตลาดเติบโตเป็นเรื่องปกติและลดความเสี่ยงแต่เมืองไทยก็ยังคงเป็นฐานการผลิตสำคัญอยู่ส่วนการขยายการลงทุนเพิ่มในไทยจะมากน้อยเพียงใดก็คงขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัทแม่ของแต่ละแห่ง
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการใน 3 เดือนข้างหน้าที่กังวลเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท และการเมืองในประเทศ
****"ปู"เบรกรีดกองทุนน้ำมัน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เรียกผู้บริหารกระทรวงพลังงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดวาระที่จะเสนอเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในวันที่ 23 มี.ค. 2555 ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะยาวด้วยการขอพิจารณาอัตราการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯส่วนเบนซิน 91และ 95 เพิ่มจากลิตรละ 1 บาทเป็น 1.50-2 บาทและดีเซลจากที่เก็บอยู่ 60 สตางค์ต่อลิตรเพิ่มขึ้นอีก
“การปรับโครงสร้างราคาพลังงานครั้งที่ผ่านมามีผล 15-16 เม.ย. 55 ดังนั้นรอบใหม่คือ 16 เม.ย. -15 พ.ค. 55 กระทรวงพลังงานจึงเสนอให้ปรับเพิ่มการจัดเก็บเบนซิน 91และ 95 และดีเซลเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯติดลบน้อยลง ปัจจุบัน(18มี.ค.55) ฐานะกองทุนฯสุทธิติดลบ 21,336 ล้านบาท โดยขอกู้เพิ่มจากเดิมกำหนดไว้ 10,000 ล้านบาทเป็น 30,000 ล้านบาท ”แหล่ง
นอกจากนี้ยังมีวาระพิจารณาข้อเสนอของผู้พัฒนาโครงการเขื่อนน้ำงึม ที่สปป.ลาวซึ่งยื่นขอเพิ่มค่าไฟฟ้าเข้ามาซึ่งจะต้องมาดูรายละเอียด
**ปูปิดปากนายจ้างไม่จ่าย300
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปฎิเสธที่จะตอบคำถามปัญหาการขึ้นค่าแรง 300 บาท วันที่ 1 เม.ย. นี้ ที่ผู้ประกอบการหลบเลี่ยงในการจ่ายค่าแรง 300 บาท โดยนำเงินรายได้พิเศษ(ค่าทิป) มารวมในค่าแรงด้วย
**รองโฆษกรัฐฯโว “ฮอนด้า” ไม่หนีแน่
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวยืนยันว่าบริษัท ฮอนด้า ประเทศไทย จำกัด จะไม่มีการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยอย่างแน่นอน และยังผลิตรถในจำนวน 240,000 คันต่อปี กรณีการเพิ่มฐานการผลิตที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นการผลิตรถฮอนด้า Brio เป็นรถอีโก้คาร์ จะจำหน่ายในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น และในปีนี้จะลงทุนเพิ่มอีก 12,000 ล้านบาท ซึ่งในวันที่ 31 มี.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางไปเป็นประธานเปิดโรงงานการผลิตที่นิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา และบริษัทฮอนด้าจะเริ่มดำเนินการผลิตรถยนต์ตามระบบตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.55 เป็นต้นไป
**“ปชป.” อัดรบ.เมินแก้ปัญหาของแพง
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี เรื่อง ราคาสินค้าแพง โดยนายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลบริหารงานมา 7 เดือน สร้างความลำบากให้ประชาชนมากมาย ทั้งของกิน ของใช้ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ แพงทุกรายการ จึงอยากถามว่าประชาชนเดือดร้อนทุกกลุ่มรัฐบาลหายไปไหน ทำไมไม่สนใจ ใส่ใจแก้ปัญหา
นายบุญทรง บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ .ชี้แจงว่า ที่ผ่านมาได้แก้ปัญหาไปได้หลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นน้ำมันปาล์ม โดยราคาปัจจุบันอยู่ที่ขวดละ 42 บาท ซึ่งเมื่อปี 53 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 29.10 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ขวดละ 38 บาท มาปี 54 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 42 -50 บาท ราคาขายขวดละ 47 บาท ส่วนปี 55 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 33.80 บาท ราคาขายขวดละ 42 บาท จะเห็นว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจดูแลค่าครองชีพ และมีสินค้าที่อยู่ในรายการควบคุมราคามากกว่า 200 รายการ ที่จะต้องจับตาดูแล หากมีการขึ้นเกินราคาที่กำหนดก็จะดำเนินการตามกฎหมาย
นายประเสริฐ ถามต่อว่า ที่บอกว่าราคาน้ำมันดิบปี 54 ราคา 50 บาท ขายขวดละ 47 บาท แต่ราคาปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 33.80 บาท ขายขวดละ 42 บาท แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไหนบริหารของแพงได้เก่งกว่ากัน ซึ่งน่าเศร้าว่าจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้ยินการแก้ปัญหาของแพง
**เด็กพท.โชว์คลิป สู้ ปชป. โต้ของแพง
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฏร ช่วงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มาตรฐานสินค้าเกษตร นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ได้นำคลิปวีดีโอสำรวจราคาสินค้าที่ตลาดแห่งหนึ่งในพื้นที่ กทม. มาเปิดในที่ประชุมเพื่อตอบโต้นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ ที่นำรายการสินค้าที่พบว่ามีการขึ้นราคามาอภิปรายช่วงกระทู้ถามสดในช่วงเช้า
โดยภาพที่ปรากฎตามคลิป เป็นภาพของนายวรชัย และทีมงาน เป็นการสอบถามของผู้ค้า เช่น มะนาว ไข่เป็ด ไข่ไก่ แผงค้าหมู ไก่ ชำแหละ ในส่วนราคาขาย ซึ่งพบว่ามีราคาถูกกว่า ที่นายประเสริฐนำมาอภิปราย เช่น ไข่เป็ด ราคาฟองละ 2 บาท มะนาวลูกละ 3 บาท เป็นต้น
**ม็อบมันเมืองกาญจน์บุกสภา วอนนายกฯแก้ปัญหาราคาตก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวไร่มันสำปะหลัง จังหวัดกาญจนบุรี 8 อำเภอ อาทิ เมืองกาญจนบุรี ด่านมะขามเตี้ย ไทรโยค ได้เดินทางมาชุมนุมหน้ารัฐสภาเทมันสำปะหลัง เพื่อเรียกร้องให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพร้อมรัฐบาล ดำเนินการแก้ไขราคาปัญหามันสำปะหลังที่มีราคาขายถูกและตกลงต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยไม่สามารถขายหัวมันสดในราคาที่เป็นธรรม ลานรับซื้อกดราคารับซื้อเหลือกิโลกรัมละ 1 บาทกว่า และบางแห่งยังไม่รับซื้ออีกด้วย เนื่องจาก อ้างว่า มันเต็มลานรับซื้อ อีกทั้งไม่มีลานมันรับซื้อที่เพียงพอ โดยรัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบายไว้ชัดเจนว่า จะใช้วิธีการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ ด้วยวิธีการับจำนำ ซึ่งที่ผ่านมา ราคามันตกต่ำหลายเดือนแล้ว เหตุใดรัฐบาลจึงไม่มีการดำเนินการตามที่ประกาศเป็นนโยบายไว้
**"มาร์ค"จี้รัฐเร่งแก้ราคามันตกต่ำ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวถึง แนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรมันสำปะหลัง จ.กาญจนบุรีที่ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคามันตกต่ำที่บริเวณหน้ารัฐสภาฯว่า ต้องทำทุกวิถีทางในการสะท้อนปัญหานี้ต่อรัฐบาล และเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่าจะต้องเร่งแก้ไขปัญหา เพราะโครงการรับจำนำเป็นเพียงการโฆษณาจำนวนตัวเลข แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหาของเกษตรกรจริงๆ และเกษตรกรก็ได้รับความเดือดร้อนถึง 2 ทางเพราะรายได้ก็ลดน้อยลง แต่สินค้ากลับมีราคาแพงมากขึ้น ขณะที่กลุ่มอื่นยังมีมาตรการอื่นๆมาช่วยเหลือเช่นค่าแรงขั้นต่ำหรือการปรับขึ้นเงินเดือน
ขณะที่นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี เรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรกรณีราคามันสำปะหลังตกต่ำในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า ขณะนี้ประชาชนเดือดร้อนกันทั่วทุกหัวระแหง เพราะมันสำปะหลังมีราคาตกต่ำ ดังนั้น จึงอยากทราบว่าจนถึงวันนี้จากที่รัฐบาลได้รับทราบปัญหามาแต่ปัญหายังคงอยู่ท่านได้แก้ปัญหาอะไรบ้าง ทั้งลานมันรับจำนำไม่ทั่วถึง หรือมีการทุจริตสวมสิทธิ์
นายบุญทรง บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ .ชี้แจงว่า ปริมาณมันสำปะหลังที่รับจำนำไปแล้วขณะนี้คือ 2,340,000 ตัน ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ 10 ล้านตัน โดยกระทรวงการแก้ปัญหาด้วยการจำนำข้ามเขตได้ โดยอนุมัติ 9 พันล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ปล่อยกู้ให้เกษตรกรที่ปลูกมัน ร้อยละ 30 โดยไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งได้มีการขยายเวลาไปถึงวันที่ 30 มิ.ย. คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังได้ออกมาตรการห้ามนำเข้าและขนย้ายมันจากต่างประเทศ เพราะเกรงว่าจะมีการสวมสิทธิ์ และกรณีรับจำนำข้ามเขต คณะกรรมการอนุมัติให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเฉลี่ยตามระยะทาง
นายสาธิต กล่าวว่า สิ่งที่รัฐมนตรีตอบนั้นไม่เป็นความจริง อย่างที่จ.กาญจนบุรี ระบุว่ามีลานรับจำนำมันสำปะหลัง 20 ลานนั้น ข้อเท็จจริงรับจำนำเพียงแค่ 1 ลานเท่านั้น ส่วนที่จ.ระยองก็ไม่มีลานรับจำนำ จะต้องไปที่จ.สระแก้วหนือจันทรบุรี จึงเห็นว่าสิ่งที่รัฐมนตรีได้รับรายงานนั้นเป็นเพียงข้อมูลจากข้าราชการเท่านั้น ดังนั้นรัฐมนตรีต้องลงพื้นที่ ที่สำคัญมีเรื่องทุจริต โดยใบประทวนไปอยู่ในมือพ่อค้าหมดแล้ว จึงขอถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับจำนำในราคา 3 บาทต่อกิโลกรัม โดยไม่มีเงื่อนไข เหมือนตอนที่ท่านหาเสียง
นายสาธิตถามต่อว่า การรับจำนำถือว่าล้มเหลวเหตุใดจึงไม่ใช้นโยบายประกันรายได้ให้กับเกษตรกร หรือว่าเพราะเป็นนโยบายประชาธิปัตย์ ทั้งที่ช่วยเหลือประชาชนได้ทุกกรณี
นายบุญทรง กล่าวว่า เรื่องนโยบายรับจำนำเราคงไม่เปลี่ยน ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ และคงไม่มีเหตุใดที่เกษตรต้องกังวล เพราะเรารับซื้อทั้งหมด แม้โครงการจะหมดในเดือน พ.ค. เราก็มีมาตรการอื่นมารองรับ ยืนยันว่าเรายังเดินหน้าในเรื่อของการรับจำนำ ส่วนโครงการประกันรายได้ก็เป็นนโยบายในรัฐบาลท่าน เอาไว้ให้ท่านกลับมาแล้วค่อยมาทำเอง
นายศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย นายกสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มที่จะวางแผนเพื่อขยายการลงทุนเพิ่มเติมในไทยในขณะนี้ แต่ยังคงติดปัญหาอยู่ โดยเฉพาะ 2 ปัจจัยสำคัญคือ 1. เกิดการขาดแคลนฝีมือแรงงานที่จะป้อนอุตฯนี้ถึงแสนคน 2.บทเรียนจากน้ำท่วมทำให้ต้องพิจารณาการกระจายความเสี่ยง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการต้องรอดูนโยบายจากภาครัฐบาลเป็นสำคัญทั้งเรื่องการผลิตแรงงานฝีมือ มาตรการส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ เพื่อการตัดสินใจลงทุนในแผนระยะยาว
“ การย้ายฐานการผลิตนั้นไม่ง่ายเพราะไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีอยู่แล้วและมีผู้ผลิตด้านชิ้นส่วนที่เข้มแข็งการย้ายไปเพื่อนบ้านก็จะไม่พร้อมส่วนนี้ ดังนั้นภาพรวมจึงยังใช้ไทยเป็นฐานการผลิตอยู่แต่จะขยายการลงทุนเพิ่มอีกหรือไม่เป็นอีกเรืองหนึ่ง”นายศุภชัยกล่าว
นอกจากนี้นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่จะมีผลนำร่อง 7 จังหวัดวันที่ 1 เม.ย.นี้ สิ่งที่เป็นห่วงมากสุดก็คือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ที่ประสบภาวะน้ำท่วมซึ่งขณะนี้ยังไม่ฟื้นตัวแต่จะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มมีแนวโน้มว่าจะปิดกิจการไม่น้อยกว่า 50% ในปีนี้จากปัจจุบันเอสเอ็มอีที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนฯป้อนอุตสาหกรรมหลักเช่น ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ พลาสติก ประสบภาวะน้ำท่วมมีอย่างต่ำ 20,000 ราย
ทั้งนี้ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลกลุ่มเอสเอ็มอีเร่งด่วน ใน 2 ประเด็น คือ 1.จัดหาแหล่งเงินทุนช่วยเหลือ และ 2.ผ่อนปรนภาษี โดยยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายซึ่งปัจจุบันเก็บในอัตรา 3% ให้เหลือ 0.5% ซึ่งจะช่วยเอสเอ็มอีได้มากกว่าการลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก 30% เหลือ 23% และเหลือ 20% เพราะมาตรการนี้เอสเอ็มอีแทบไม่ได้ประโยชน์ใดๆ
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีกระแสข่าวบริษัทฮอนด้าย้ายฐานการผลิตไปยังอินโดนีเซียนั้นทางบริษัทฯฮอนด้าเองได้ชี้แจงไปแล้วซึ่งเชื่อว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกค่ายเองก็มีการไปขยายการลงทุนประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้มตลาดเติบโตเป็นเรื่องปกติและลดความเสี่ยงแต่เมืองไทยก็ยังคงเป็นฐานการผลิตสำคัญอยู่ส่วนการขยายการลงทุนเพิ่มในไทยจะมากน้อยเพียงใดก็คงขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัทแม่ของแต่ละแห่ง
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการใน 3 เดือนข้างหน้าที่กังวลเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท และการเมืองในประเทศ
****"ปู"เบรกรีดกองทุนน้ำมัน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เรียกผู้บริหารกระทรวงพลังงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดวาระที่จะเสนอเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในวันที่ 23 มี.ค. 2555 ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระยะยาวด้วยการขอพิจารณาอัตราการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯส่วนเบนซิน 91และ 95 เพิ่มจากลิตรละ 1 บาทเป็น 1.50-2 บาทและดีเซลจากที่เก็บอยู่ 60 สตางค์ต่อลิตรเพิ่มขึ้นอีก
“การปรับโครงสร้างราคาพลังงานครั้งที่ผ่านมามีผล 15-16 เม.ย. 55 ดังนั้นรอบใหม่คือ 16 เม.ย. -15 พ.ค. 55 กระทรวงพลังงานจึงเสนอให้ปรับเพิ่มการจัดเก็บเบนซิน 91และ 95 และดีเซลเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯติดลบน้อยลง ปัจจุบัน(18มี.ค.55) ฐานะกองทุนฯสุทธิติดลบ 21,336 ล้านบาท โดยขอกู้เพิ่มจากเดิมกำหนดไว้ 10,000 ล้านบาทเป็น 30,000 ล้านบาท ”แหล่ง
นอกจากนี้ยังมีวาระพิจารณาข้อเสนอของผู้พัฒนาโครงการเขื่อนน้ำงึม ที่สปป.ลาวซึ่งยื่นขอเพิ่มค่าไฟฟ้าเข้ามาซึ่งจะต้องมาดูรายละเอียด
**ปูปิดปากนายจ้างไม่จ่าย300
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปฎิเสธที่จะตอบคำถามปัญหาการขึ้นค่าแรง 300 บาท วันที่ 1 เม.ย. นี้ ที่ผู้ประกอบการหลบเลี่ยงในการจ่ายค่าแรง 300 บาท โดยนำเงินรายได้พิเศษ(ค่าทิป) มารวมในค่าแรงด้วย
**รองโฆษกรัฐฯโว “ฮอนด้า” ไม่หนีแน่
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวยืนยันว่าบริษัท ฮอนด้า ประเทศไทย จำกัด จะไม่มีการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยอย่างแน่นอน และยังผลิตรถในจำนวน 240,000 คันต่อปี กรณีการเพิ่มฐานการผลิตที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นการผลิตรถฮอนด้า Brio เป็นรถอีโก้คาร์ จะจำหน่ายในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น และในปีนี้จะลงทุนเพิ่มอีก 12,000 ล้านบาท ซึ่งในวันที่ 31 มี.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางไปเป็นประธานเปิดโรงงานการผลิตที่นิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา และบริษัทฮอนด้าจะเริ่มดำเนินการผลิตรถยนต์ตามระบบตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.55 เป็นต้นไป
**“ปชป.” อัดรบ.เมินแก้ปัญหาของแพง
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี เรื่อง ราคาสินค้าแพง โดยนายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลบริหารงานมา 7 เดือน สร้างความลำบากให้ประชาชนมากมาย ทั้งของกิน ของใช้ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ แพงทุกรายการ จึงอยากถามว่าประชาชนเดือดร้อนทุกกลุ่มรัฐบาลหายไปไหน ทำไมไม่สนใจ ใส่ใจแก้ปัญหา
นายบุญทรง บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ .ชี้แจงว่า ที่ผ่านมาได้แก้ปัญหาไปได้หลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นน้ำมันปาล์ม โดยราคาปัจจุบันอยู่ที่ขวดละ 42 บาท ซึ่งเมื่อปี 53 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 29.10 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ขวดละ 38 บาท มาปี 54 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 42 -50 บาท ราคาขายขวดละ 47 บาท ส่วนปี 55 ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 33.80 บาท ราคาขายขวดละ 42 บาท จะเห็นว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจดูแลค่าครองชีพ และมีสินค้าที่อยู่ในรายการควบคุมราคามากกว่า 200 รายการ ที่จะต้องจับตาดูแล หากมีการขึ้นเกินราคาที่กำหนดก็จะดำเนินการตามกฎหมาย
นายประเสริฐ ถามต่อว่า ที่บอกว่าราคาน้ำมันดิบปี 54 ราคา 50 บาท ขายขวดละ 47 บาท แต่ราคาปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 33.80 บาท ขายขวดละ 42 บาท แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไหนบริหารของแพงได้เก่งกว่ากัน ซึ่งน่าเศร้าว่าจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้ยินการแก้ปัญหาของแพง
**เด็กพท.โชว์คลิป สู้ ปชป. โต้ของแพง
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฏร ช่วงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มาตรฐานสินค้าเกษตร นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ได้นำคลิปวีดีโอสำรวจราคาสินค้าที่ตลาดแห่งหนึ่งในพื้นที่ กทม. มาเปิดในที่ประชุมเพื่อตอบโต้นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ ที่นำรายการสินค้าที่พบว่ามีการขึ้นราคามาอภิปรายช่วงกระทู้ถามสดในช่วงเช้า
โดยภาพที่ปรากฎตามคลิป เป็นภาพของนายวรชัย และทีมงาน เป็นการสอบถามของผู้ค้า เช่น มะนาว ไข่เป็ด ไข่ไก่ แผงค้าหมู ไก่ ชำแหละ ในส่วนราคาขาย ซึ่งพบว่ามีราคาถูกกว่า ที่นายประเสริฐนำมาอภิปราย เช่น ไข่เป็ด ราคาฟองละ 2 บาท มะนาวลูกละ 3 บาท เป็นต้น
**ม็อบมันเมืองกาญจน์บุกสภา วอนนายกฯแก้ปัญหาราคาตก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวไร่มันสำปะหลัง จังหวัดกาญจนบุรี 8 อำเภอ อาทิ เมืองกาญจนบุรี ด่านมะขามเตี้ย ไทรโยค ได้เดินทางมาชุมนุมหน้ารัฐสภาเทมันสำปะหลัง เพื่อเรียกร้องให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพร้อมรัฐบาล ดำเนินการแก้ไขราคาปัญหามันสำปะหลังที่มีราคาขายถูกและตกลงต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยไม่สามารถขายหัวมันสดในราคาที่เป็นธรรม ลานรับซื้อกดราคารับซื้อเหลือกิโลกรัมละ 1 บาทกว่า และบางแห่งยังไม่รับซื้ออีกด้วย เนื่องจาก อ้างว่า มันเต็มลานรับซื้อ อีกทั้งไม่มีลานมันรับซื้อที่เพียงพอ โดยรัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบายไว้ชัดเจนว่า จะใช้วิธีการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ ด้วยวิธีการับจำนำ ซึ่งที่ผ่านมา ราคามันตกต่ำหลายเดือนแล้ว เหตุใดรัฐบาลจึงไม่มีการดำเนินการตามที่ประกาศเป็นนโยบายไว้
**"มาร์ค"จี้รัฐเร่งแก้ราคามันตกต่ำ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวถึง แนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรมันสำปะหลัง จ.กาญจนบุรีที่ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคามันตกต่ำที่บริเวณหน้ารัฐสภาฯว่า ต้องทำทุกวิถีทางในการสะท้อนปัญหานี้ต่อรัฐบาล และเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่าจะต้องเร่งแก้ไขปัญหา เพราะโครงการรับจำนำเป็นเพียงการโฆษณาจำนวนตัวเลข แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหาของเกษตรกรจริงๆ และเกษตรกรก็ได้รับความเดือดร้อนถึง 2 ทางเพราะรายได้ก็ลดน้อยลง แต่สินค้ากลับมีราคาแพงมากขึ้น ขณะที่กลุ่มอื่นยังมีมาตรการอื่นๆมาช่วยเหลือเช่นค่าแรงขั้นต่ำหรือการปรับขึ้นเงินเดือน
ขณะที่นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี เรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรกรณีราคามันสำปะหลังตกต่ำในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า ขณะนี้ประชาชนเดือดร้อนกันทั่วทุกหัวระแหง เพราะมันสำปะหลังมีราคาตกต่ำ ดังนั้น จึงอยากทราบว่าจนถึงวันนี้จากที่รัฐบาลได้รับทราบปัญหามาแต่ปัญหายังคงอยู่ท่านได้แก้ปัญหาอะไรบ้าง ทั้งลานมันรับจำนำไม่ทั่วถึง หรือมีการทุจริตสวมสิทธิ์
นายบุญทรง บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ .ชี้แจงว่า ปริมาณมันสำปะหลังที่รับจำนำไปแล้วขณะนี้คือ 2,340,000 ตัน ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ 10 ล้านตัน โดยกระทรวงการแก้ปัญหาด้วยการจำนำข้ามเขตได้ โดยอนุมัติ 9 พันล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ปล่อยกู้ให้เกษตรกรที่ปลูกมัน ร้อยละ 30 โดยไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งได้มีการขยายเวลาไปถึงวันที่ 30 มิ.ย. คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังได้ออกมาตรการห้ามนำเข้าและขนย้ายมันจากต่างประเทศ เพราะเกรงว่าจะมีการสวมสิทธิ์ และกรณีรับจำนำข้ามเขต คณะกรรมการอนุมัติให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเฉลี่ยตามระยะทาง
นายสาธิต กล่าวว่า สิ่งที่รัฐมนตรีตอบนั้นไม่เป็นความจริง อย่างที่จ.กาญจนบุรี ระบุว่ามีลานรับจำนำมันสำปะหลัง 20 ลานนั้น ข้อเท็จจริงรับจำนำเพียงแค่ 1 ลานเท่านั้น ส่วนที่จ.ระยองก็ไม่มีลานรับจำนำ จะต้องไปที่จ.สระแก้วหนือจันทรบุรี จึงเห็นว่าสิ่งที่รัฐมนตรีได้รับรายงานนั้นเป็นเพียงข้อมูลจากข้าราชการเท่านั้น ดังนั้นรัฐมนตรีต้องลงพื้นที่ ที่สำคัญมีเรื่องทุจริต โดยใบประทวนไปอยู่ในมือพ่อค้าหมดแล้ว จึงขอถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับจำนำในราคา 3 บาทต่อกิโลกรัม โดยไม่มีเงื่อนไข เหมือนตอนที่ท่านหาเสียง
นายสาธิตถามต่อว่า การรับจำนำถือว่าล้มเหลวเหตุใดจึงไม่ใช้นโยบายประกันรายได้ให้กับเกษตรกร หรือว่าเพราะเป็นนโยบายประชาธิปัตย์ ทั้งที่ช่วยเหลือประชาชนได้ทุกกรณี
นายบุญทรง กล่าวว่า เรื่องนโยบายรับจำนำเราคงไม่เปลี่ยน ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ และคงไม่มีเหตุใดที่เกษตรต้องกังวล เพราะเรารับซื้อทั้งหมด แม้โครงการจะหมดในเดือน พ.ค. เราก็มีมาตรการอื่นมารองรับ ยืนยันว่าเรายังเดินหน้าในเรื่อของการรับจำนำ ส่วนโครงการประกันรายได้ก็เป็นนโยบายในรัฐบาลท่าน เอาไว้ให้ท่านกลับมาแล้วค่อยมาทำเอง