ASTVผู้จัดการรายวัน - “พาณิชย์” ยันเป้าเงินเฟ้อปีนี้อยู่ที่ 3.8% เท่าเดิม แม้ดีเซลจะขยับขึ้นทะลุลิตรละ 32 บาทไปแล้ว ส่วนการปรับค่าแรง 300 บาท เริ่ม เม.ย.นี้ คาดกระทบต้นทุนสินค้าเล็กน้อย
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แม้ราคาน้ำมันดีเซลจะปรับขึ้นมาอยู่ลิตรละ 32.33 บาท แต่กระทรวงยังคงกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 2555 ขยายตัวในกรอบ 3.3-3.8% ต่อไป โดยไตรมาส 1 เงินเฟ้อขยายตัว 3.65-3.75% แต่จะมีการศึกษาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอีกครั้ง เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 120-130 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานเงินเฟ้อที่คาดการณ์น้ำมันดิบตลาดดูไบอยู่ที่ 95-115 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
ทั้งนี้ การศึกษาผลกระทบจะดูว่าราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นเกินสมมติฐานนั้น จะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อมากน้อยแค่ไหน เพราะหากทิศทางราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นในช่วงระยะสั้นๆ และหากสถานการณ์การเมืองในอิหร่านคลี่คลายลง อัตราเงินเฟ้อก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นในขณะนี้มากนัก
ขณะที่การปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ในเดือน เม.ย.นี้ กระทบต่อต้นทุนผลิตสินค้าไม่มากนัก เพราะเป็นการปรับราคาขึ้นเฉพาะพื้นที่ในบางจังหวัดเท่านั้น และไม่ใช่อุตสาหกรรมทั้งหมดได้รับผลกระทบ ยกเว้นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก แต่อีกด้านหนึ่งของการปรับค่าแรงงาน อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ชดเชยกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไป เช่น เดิมค่าแรง 200 บาท ผลิตได้ 100 ชิ้น แต่เมื่อขึ้นค่าแรง 300 บาท ผลิตได้ 250 ชิ้น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยใกล้เคียงกับระดับเดิม
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ กำลังทำการศึกษาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) ในภาคขนส่ง และการปรับขึ้นค่าแรงงาน 300 บาท ในเดือน เม.ย.ว่า จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและต้นทุนภาคขนส่งสินค้าเท่าไร เพื่อกำหนดมาตรการดูแลราคาสินค้าที่เหมาะสม และเสนอให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาในเร็วๆ นี้
“ประเมินว่า การขยับราคาพลังงานแบบก้าวกระโดดในปัจจุบัน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล จะไม่กระทบต่อภาคการผลิตมากนัก แต่ในระยะยาวอาจกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่งสินค้าได้ จึงต้องดูว่าผลกระทบต่อสินค้าที่ได้รับนั้น มีผลกระทบมากน้อยต่างกันอย่างไร เพื่อเตรียมมาตรการดูแลได้เหมาะสมและไม่กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน” นางวัชรี กล่าว
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แม้ราคาน้ำมันดีเซลจะปรับขึ้นมาอยู่ลิตรละ 32.33 บาท แต่กระทรวงยังคงกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 2555 ขยายตัวในกรอบ 3.3-3.8% ต่อไป โดยไตรมาส 1 เงินเฟ้อขยายตัว 3.65-3.75% แต่จะมีการศึกษาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอีกครั้ง เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 120-130 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานเงินเฟ้อที่คาดการณ์น้ำมันดิบตลาดดูไบอยู่ที่ 95-115 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
ทั้งนี้ การศึกษาผลกระทบจะดูว่าราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นเกินสมมติฐานนั้น จะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อมากน้อยแค่ไหน เพราะหากทิศทางราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นในช่วงระยะสั้นๆ และหากสถานการณ์การเมืองในอิหร่านคลี่คลายลง อัตราเงินเฟ้อก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นในขณะนี้มากนัก
ขณะที่การปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ในเดือน เม.ย.นี้ กระทบต่อต้นทุนผลิตสินค้าไม่มากนัก เพราะเป็นการปรับราคาขึ้นเฉพาะพื้นที่ในบางจังหวัดเท่านั้น และไม่ใช่อุตสาหกรรมทั้งหมดได้รับผลกระทบ ยกเว้นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก แต่อีกด้านหนึ่งของการปรับค่าแรงงาน อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ชดเชยกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไป เช่น เดิมค่าแรง 200 บาท ผลิตได้ 100 ชิ้น แต่เมื่อขึ้นค่าแรง 300 บาท ผลิตได้ 250 ชิ้น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยใกล้เคียงกับระดับเดิม
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ กำลังทำการศึกษาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) ในภาคขนส่ง และการปรับขึ้นค่าแรงงาน 300 บาท ในเดือน เม.ย.ว่า จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและต้นทุนภาคขนส่งสินค้าเท่าไร เพื่อกำหนดมาตรการดูแลราคาสินค้าที่เหมาะสม และเสนอให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาในเร็วๆ นี้
“ประเมินว่า การขยับราคาพลังงานแบบก้าวกระโดดในปัจจุบัน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล จะไม่กระทบต่อภาคการผลิตมากนัก แต่ในระยะยาวอาจกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่งสินค้าได้ จึงต้องดูว่าผลกระทบต่อสินค้าที่ได้รับนั้น มีผลกระทบมากน้อยต่างกันอย่างไร เพื่อเตรียมมาตรการดูแลได้เหมาะสมและไม่กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน” นางวัชรี กล่าว