ASTVผู้จัดการรายวัน - ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคม.ค.ขยับขึ้นเท่ากับ 24.2 หลังคนคลายกังวลเรื่องน้ำท่วม และรัฐมีมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟู แต่ยังต่ำกว่าระดับปกติ เหตุคนยังกังวลเศรษฐกิจไม่ดี และยังมีปัญหาค่าครองชีพพุ่ง น้ำมันแพง แนะรัฐบาลแก้ไขด่วนเพื่อดึงความเชื่อมั่น
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันเท่ากับ 14.6 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเท่ากับ 30.6 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมในเดือนม.ค.2555 เท่ากับ 24.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ ทั่วไปกลับสู่ภาวะปกติหลังเกิดน้ำท่วมใหญ่ และรัฐบาลได้เร่งฟื้นฟูและเยียว ยาช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งมีมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือทั้งประชาชนและธุรกิจ โดยออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) ยังได้ลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25%
ทั้งนี้ แม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับปกติ เพราะประชาชนยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ราคาน้ำมัน และพลังงานที่สูงขึ้น รวมทั้งยังมีปัจจัยลบจากความผันผวนของเศรษฐกิจ โลก และภัยธรรมชาติ ที่คนยังคงมีความกังวล
ถ้ามองตัวเลขดัชนีที่ออกมา ฟันธงได้ว่าคนเริ่มมองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นแล้ว หลังจากพ้นช่วงน้ำท่วม แต่ความเชื่อมั่นจะดีขึ้นต่อเนื่องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมาตรการของรัฐบาลที่จะนำมาใช้กระตุ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ประชาชนยังมีความกังวล ก็คือ เรื่องการดูแลค่าครองชีพ หากดูแล ได้ดี ความเชื่อมั่นก็จะดีขึ้น" นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ เดือนม.ค.2555 พบว่า ประชาชนมีความมั่นใจว่ารายได้ในอนาคตในช่วง 3 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น โดยค่าดัชนีเท่ากับ 46.5 ใกล้เคียงกับระดับปกติ เพราะผู้บริโภคคาดหวังรายได้จะเพิ่มขึ้นจากการปรับเงินเดือนข้าราชการ การขึ้นค่าแรง และการที่มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ส่วนโอกาสในการหางานทำในปัจจุบันเท่ากับ 13.3 และโอกาสในการ หางานทำในอนาคต 3 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 12.9 ซึ่งแม้จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ แสดงว่าผู้บริโภคไม่มั่นใจเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน เท่ากับ 59.5 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในอนาคต เท่ากับ 58.7 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 10.2 และการวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทนต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 20
สำหรับสิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไข ต้องการให้ควบคุม ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ดูแลราคาน้ำมันและพลังงาน และแก้ไขปัญหา ค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการว่างงานและเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ รวมทั้งต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเหมือน ปีที่ผ่านมา ขอให้แก้ไขปัญหายาเสพติด การคอร์รัปชัน ดูแลสวัสดิการ และดูแลราคาสินค้าเกษตร
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันเท่ากับ 14.6 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเท่ากับ 30.6 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมในเดือนม.ค.2555 เท่ากับ 24.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ ทั่วไปกลับสู่ภาวะปกติหลังเกิดน้ำท่วมใหญ่ และรัฐบาลได้เร่งฟื้นฟูและเยียว ยาช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งมีมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือทั้งประชาชนและธุรกิจ โดยออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) ยังได้ลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25%
ทั้งนี้ แม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับปกติ เพราะประชาชนยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ราคาน้ำมัน และพลังงานที่สูงขึ้น รวมทั้งยังมีปัจจัยลบจากความผันผวนของเศรษฐกิจ โลก และภัยธรรมชาติ ที่คนยังคงมีความกังวล
ถ้ามองตัวเลขดัชนีที่ออกมา ฟันธงได้ว่าคนเริ่มมองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นแล้ว หลังจากพ้นช่วงน้ำท่วม แต่ความเชื่อมั่นจะดีขึ้นต่อเนื่องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมาตรการของรัฐบาลที่จะนำมาใช้กระตุ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ประชาชนยังมีความกังวล ก็คือ เรื่องการดูแลค่าครองชีพ หากดูแล ได้ดี ความเชื่อมั่นก็จะดีขึ้น" นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในด้านต่างๆ เดือนม.ค.2555 พบว่า ประชาชนมีความมั่นใจว่ารายได้ในอนาคตในช่วง 3 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น โดยค่าดัชนีเท่ากับ 46.5 ใกล้เคียงกับระดับปกติ เพราะผู้บริโภคคาดหวังรายได้จะเพิ่มขึ้นจากการปรับเงินเดือนข้าราชการ การขึ้นค่าแรง และการที่มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ส่วนโอกาสในการหางานทำในปัจจุบันเท่ากับ 13.3 และโอกาสในการ หางานทำในอนาคต 3 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 12.9 ซึ่งแม้จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ แสดงว่าผู้บริโภคไม่มั่นใจเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบัน เท่ากับ 59.5 การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในอนาคต เท่ากับ 58.7 การวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ใน 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 10.2 และการวางแผนที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าคงทนต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 20
สำหรับสิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไข ต้องการให้ควบคุม ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ดูแลราคาน้ำมันและพลังงาน และแก้ไขปัญหา ค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการว่างงานและเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ รวมทั้งต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเหมือน ปีที่ผ่านมา ขอให้แก้ไขปัญหายาเสพติด การคอร์รัปชัน ดูแลสวัสดิการ และดูแลราคาสินค้าเกษตร