ASTV ผู้จัดการายวัน - ผู้ถือหุ้นมีมติถอดถอนกรรมการกลุ่มนายประชัย พ้นจาก 5 บริษัทในเครือทั้งไออาร์พีซี ให้เหตุผลเป็นการพิสูจน์ให้เห็นความถูกต้องและชอบธรรม ทั้งในแง่ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของ ไออาร์พีซี ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่มีสิทธิในการบริหารงานบริษัทในเครือโดยสมบูรณ์ และยุติปัญหาความสับสนของนักลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ คู่ค้าทุกฝ่าย
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด และ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย เอบีเอส จำกัด 2 ใน 5 ของบริษัทในเครือ ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) เปิดเผยภายหลัง การประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 1/2555 ของ บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล จำกัด และ บริษัทไทย เอบีเอส จำกัด ว่า บมจ.ไออาร์พีซี ได้ใช้สิทธิทางกฎหมายจัดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อยุติปัญหาความสับสนเกี่ยวกับอำนาจการบริหารในบริษัทนั้นๆ เนื่องมาจากคำสั่งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมี่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ที่อ้างคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ได้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทในเครือในปี 2549 และ 2552 มาเป็นเหตุในการแก้ไขทางทะเบียน ส่งผลให้มีรายชื่อกลุ่มนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กลับมาปรากฎในทะเบียนกรรมการของบริษัทในเครือ ทั้งห้า ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและเจตนารมย์ของ ไออาร์พีซี ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ทั้งนี้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติถอดถอนกรรมการกลุ่ม นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งทำให้รายชื่อของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏในทะเบียนกรรมการของบริษัทในเครือทั้ง 3 บริษัท อีกต่อไป ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นความถูกต้องและชอบธรรม ทั้งในแง่ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ ไออาร์พีซี ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 99.99) ย่อมสมควรมีสิทธิในการบริหารงานบริษัทเหล่านั้นโดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง และยุติปัญหาความสับสนของนักลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ คู่ค้า หน่วยงานราชการ พนักงาน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัท
ส่วนบริษัท ไออาร์พีซี พลังงาน จำกัด และ บริษัท อุตสาหกรรม โพลียูริเทนไทย จำกัด จะมีการประชุมในช่วงบ่ายวานนี้ (29 ก.พ.) คาดว่า มติที่ประชุมจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
อนึ่งเรื่องดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางและการบริหารจัดการทางธุรกิจตามนโยบายของไออาร์พีซีซึ่งเป็นบริษัทแม่ ดังนั้นจึงได้มีการเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องคำสั่งเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการที่ออกโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงเรื่องการแต่งตั้งกรรมการ ถอดถอนกรรมการ และเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ ตลอดจนการมอบหมายบุคคลไปดำเนินการจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
อีกทั้งการที่ไออาร์พีซีฟื้นตัวจากการขาดทุนมาทำกำไรและสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาไม่นานนัก เป็นผลจากการบริหารจัดการทรัพย์สินและการดำเนินธุรกิจที่กำหนดไปในทิศทางเดียวกันทั้งเครือ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่
ดังนั้น แม้ขณะนี้บริษัทย่อยทั้ง 5 ยังดำเนินธุรกิจเป็นปกติ ทั้งด้านการผลิต การตลาด รวมทั้งการดำเนินงานโครงการต่างๆ ภายใต้การควบคุมมิให้เกิดผลกระทบใดๆ ต่อคู่ค้าและพนักงาน แต่ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบ ต่อศักยภาพการทำธุรกิจของเครือบริษัท จึงจำเป็นต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อชี้แจงและหาหนทางยุติปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด และ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย เอบีเอส จำกัด 2 ใน 5 ของบริษัทในเครือ ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) เปิดเผยภายหลัง การประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 1/2555 ของ บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล จำกัด และ บริษัทไทย เอบีเอส จำกัด ว่า บมจ.ไออาร์พีซี ได้ใช้สิทธิทางกฎหมายจัดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อยุติปัญหาความสับสนเกี่ยวกับอำนาจการบริหารในบริษัทนั้นๆ เนื่องมาจากคำสั่งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมี่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ที่อ้างคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ได้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทในเครือในปี 2549 และ 2552 มาเป็นเหตุในการแก้ไขทางทะเบียน ส่งผลให้มีรายชื่อกลุ่มนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กลับมาปรากฎในทะเบียนกรรมการของบริษัทในเครือ ทั้งห้า ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและเจตนารมย์ของ ไออาร์พีซี ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ทั้งนี้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติถอดถอนกรรมการกลุ่ม นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งทำให้รายชื่อของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏในทะเบียนกรรมการของบริษัทในเครือทั้ง 3 บริษัท อีกต่อไป ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นความถูกต้องและชอบธรรม ทั้งในแง่ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ ไออาร์พีซี ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 99.99) ย่อมสมควรมีสิทธิในการบริหารงานบริษัทเหล่านั้นโดยสมบูรณ์อย่างแท้จริง และยุติปัญหาความสับสนของนักลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ คู่ค้า หน่วยงานราชการ พนักงาน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัท
ส่วนบริษัท ไออาร์พีซี พลังงาน จำกัด และ บริษัท อุตสาหกรรม โพลียูริเทนไทย จำกัด จะมีการประชุมในช่วงบ่ายวานนี้ (29 ก.พ.) คาดว่า มติที่ประชุมจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
อนึ่งเรื่องดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางและการบริหารจัดการทางธุรกิจตามนโยบายของไออาร์พีซีซึ่งเป็นบริษัทแม่ ดังนั้นจึงได้มีการเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องคำสั่งเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการที่ออกโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงเรื่องการแต่งตั้งกรรมการ ถอดถอนกรรมการ และเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ ตลอดจนการมอบหมายบุคคลไปดำเนินการจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
อีกทั้งการที่ไออาร์พีซีฟื้นตัวจากการขาดทุนมาทำกำไรและสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาไม่นานนัก เป็นผลจากการบริหารจัดการทรัพย์สินและการดำเนินธุรกิจที่กำหนดไปในทิศทางเดียวกันทั้งเครือ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่
ดังนั้น แม้ขณะนี้บริษัทย่อยทั้ง 5 ยังดำเนินธุรกิจเป็นปกติ ทั้งด้านการผลิต การตลาด รวมทั้งการดำเนินงานโครงการต่างๆ ภายใต้การควบคุมมิให้เกิดผลกระทบใดๆ ต่อคู่ค้าและพนักงาน แต่ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบ ต่อศักยภาพการทำธุรกิจของเครือบริษัท จึงจำเป็นต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อชี้แจงและหาหนทางยุติปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต