ศาลจังหวัดนนทบุรียกฟ้องกรณี 5 บริษัทในเครือไออาร์พีซีฟ้องกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรียกค่าเสียหาย 250 ล้าน กรณีรับจดทะเบียนกรรมการและอำนาจกรรมการตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ชี้มีอำนาจทำได้ ส่วนการพ่วง”ประชัย”เป็นจำเลยด้วย ให้ยกฟ้องเช่นกัน เหตุไม่มีภูมิลำเนาที่นี่ “บรรยงค์”ยันทุกอย่างทำตามกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2555 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดนนทบุรี ได้มีคำสั่งพิพากษากรณี 5 บริษัทย่อยของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ฝ่ายโจทย์ ที่ได้ยื่นฟ้องกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและบุคคลต่างๆ รวม 7 ราย ฝ่ายจำเลย เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2555 โดยศาลพิพากษาว่าคำสั่งของจำเลย ซึ่งได้รับจดทะเบียนตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลางนั้น เป็นการทำหน้าที่ในฐานะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทย์ และโจทย์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1-7
ส่วนจำเลยที่ 8 ซึ่งได้แก่ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งฝ่ายโจทย์ได้เพิ่มเติมเข้ามาหลังจากที่เดิมได้ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 14 ก.พ. มีจำเลย คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง และบุคคลต่างๆ รวม 7 ราย แต่ในวันที่ 15 ก.พ. โจทย์ได้มาถอนฟ้อง และขอค่าธรรมเนียมคืน และได้ยื่นฟ้องใหม่ โดยเพิ่มเติมจำเลยที่ 8 คือ นายประชัยเข้าไปด้วย
ทั้งนี้ กรณีนายประชัย ศาลเห็นว่าไม่มีภูมิลำเนาในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนนทบุรี โจทย์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 8 ต่อศาลนี้ จึงพิพากษายกฟ้อง ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมให้ตกเป็นของศาล ซึ่งคิดจาก 5 บริษัทๆ ละ 2 แสนบาทรวม 1 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับ 5 บริษัทย่อยของบริษัท ไออาร์พีซี ได้แก่ บริษัท ไทย เอบีเอส จำกัด บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี พลังงาน จำกัด และบริษัท อุตสาหกรรม โพลียูรีเทนไทย จำกัด ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้ง 7 รายละ 50 ล้านบาท รวม 250 ล้านบาท กรณีมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมการและอำนาจกรรมการของ 5 บริษัทย่อยตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง
โดยคำสั่งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2555 ได้ทำให้กรรมการในส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ปตท. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนวายุภักษ์ เป็นต้น ซึ่งถือหุ้นใน 5 บริษัทในเครือไออาร์พีซีถึง 99.99% ไม่มีอำนาจในการควบคุมบริษัท และทำให้กลุ่มของนายประชัยเข้ามามีอำนาจในการบริหารจัดการ จึงเป็นเหตุผลให้ 5บริษัทย่อยไปยื่นฟ้องร้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.พ. ให้เปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการของบริษัท 5 บริษัทในเครือไออาร์พีซี โดยผลการรับจดทะเบียนทำให้ 3 บริษัท จาก 5 บริษัท มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ได้แก่ บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล จำกัด มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ โดยให้กรรมการ 2 ใน 5 คน เป็นผู้มีอำนาจลงรายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ส่วนบริษัท ไทย เอบีเอส จำกัด เป็นคำขอให้กรรมการ 2 ใน 4 มีอำนาจลงรายมือชื่อและประตราสำคัญของบริษัทร่วมกัน ส่วนอีก 2 บริษัท คือ บริษัท ไออาร์พีซี พลังงาน จำกัด และบริษัท อุตสาหกรรม โพลียูรีเทนไทย จำกัด อำนาจกรรมการยังเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางเหมือนเดิม
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวยืนยันว่า การดำเนินการต่างๆ ของกรมฯ และนายทะเบียน เป็นไปตามอำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ยึดข้อกฎหมายและคำสั่งศาลเป็นหลัก ซึ่งการรับจดทะเบียนหรือการเปลี่ยนแปลงคำขอจดทะเบียนใดๆ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่เห็นด้วย ก็สามารถที่จะยื่นคำร้องคัดค้านได้ หรือยื่นต่อศาลเพื่อทำการคัดค้านได้
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2555 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดนนทบุรี ได้มีคำสั่งพิพากษากรณี 5 บริษัทย่อยของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ฝ่ายโจทย์ ที่ได้ยื่นฟ้องกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและบุคคลต่างๆ รวม 7 ราย ฝ่ายจำเลย เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2555 โดยศาลพิพากษาว่าคำสั่งของจำเลย ซึ่งได้รับจดทะเบียนตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลางนั้น เป็นการทำหน้าที่ในฐานะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทย์ และโจทย์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1-7
ส่วนจำเลยที่ 8 ซึ่งได้แก่ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งฝ่ายโจทย์ได้เพิ่มเติมเข้ามาหลังจากที่เดิมได้ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 14 ก.พ. มีจำเลย คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง และบุคคลต่างๆ รวม 7 ราย แต่ในวันที่ 15 ก.พ. โจทย์ได้มาถอนฟ้อง และขอค่าธรรมเนียมคืน และได้ยื่นฟ้องใหม่ โดยเพิ่มเติมจำเลยที่ 8 คือ นายประชัยเข้าไปด้วย
ทั้งนี้ กรณีนายประชัย ศาลเห็นว่าไม่มีภูมิลำเนาในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนนทบุรี โจทย์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 8 ต่อศาลนี้ จึงพิพากษายกฟ้อง ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมให้ตกเป็นของศาล ซึ่งคิดจาก 5 บริษัทๆ ละ 2 แสนบาทรวม 1 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับ 5 บริษัทย่อยของบริษัท ไออาร์พีซี ได้แก่ บริษัท ไทย เอบีเอส จำกัด บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี พลังงาน จำกัด และบริษัท อุตสาหกรรม โพลียูรีเทนไทย จำกัด ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้ง 7 รายละ 50 ล้านบาท รวม 250 ล้านบาท กรณีมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมการและอำนาจกรรมการของ 5 บริษัทย่อยตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง
โดยคำสั่งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2555 ได้ทำให้กรรมการในส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ปตท. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนวายุภักษ์ เป็นต้น ซึ่งถือหุ้นใน 5 บริษัทในเครือไออาร์พีซีถึง 99.99% ไม่มีอำนาจในการควบคุมบริษัท และทำให้กลุ่มของนายประชัยเข้ามามีอำนาจในการบริหารจัดการ จึงเป็นเหตุผลให้ 5บริษัทย่อยไปยื่นฟ้องร้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.พ. ให้เปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการของบริษัท 5 บริษัทในเครือไออาร์พีซี โดยผลการรับจดทะเบียนทำให้ 3 บริษัท จาก 5 บริษัท มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ได้แก่ บริษัท น้ำมัน ไออาร์พีซี จำกัด บริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล จำกัด มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ โดยให้กรรมการ 2 ใน 5 คน เป็นผู้มีอำนาจลงรายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ส่วนบริษัท ไทย เอบีเอส จำกัด เป็นคำขอให้กรรมการ 2 ใน 4 มีอำนาจลงรายมือชื่อและประตราสำคัญของบริษัทร่วมกัน ส่วนอีก 2 บริษัท คือ บริษัท ไออาร์พีซี พลังงาน จำกัด และบริษัท อุตสาหกรรม โพลียูรีเทนไทย จำกัด อำนาจกรรมการยังเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางเหมือนเดิม
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวยืนยันว่า การดำเนินการต่างๆ ของกรมฯ และนายทะเบียน เป็นไปตามอำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ยึดข้อกฎหมายและคำสั่งศาลเป็นหลัก ซึ่งการรับจดทะเบียนหรือการเปลี่ยนแปลงคำขอจดทะเบียนใดๆ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่เห็นด้วย ก็สามารถที่จะยื่นคำร้องคัดค้านได้ หรือยื่นต่อศาลเพื่อทำการคัดค้านได้