กมธ.พลังงาน ทำหนังสือเชิญซ้ำ “ณัฐวุฒิ” และ 3 บริษัทรับประมูลงาน ปตท.เข้าแจง ระบุ หากยังเพิกเฉยเตรียมออกคำสั่งตาม พ.ร.บ.กมธ.ด้าน “มัลลิกา” ย้ำ โครงการที่มีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ ได้มาอย่างไร และโครงการที่ได้รับการประมูลขัดต่อ พ.ร.บ.ฮั้วหรือไม่
วันนี้ (22 ก.พ.) ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการการพลังาน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายมนตรี ปาน้อยนนท์ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน โดยวันนี้มีวาระการประชุม พิจารณาหนังสือร้องเรียนของ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องให้สอบข้อเท็จจริง ซึ่ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ว่าจ้างบริษัท ไทย คอนซัคแตนท์พับพลิค รีเลชั่น จำกัด เป็นที่ปรึกษามวลชนสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซ ซึ่ง กมธ.ได้เชิญ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ไทย คอนซัคแตนท์พับพลิค รีเลชั่น จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยมี นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน),กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย คอนซัคแตนท์พับพลิค รีเลชั่น จำกัด กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอคทีพ คอนสตรัคชั่น จำกัด ทั้งนี้ ตัวแทนจาก 3 บริษัทไม่ได้เข้าชี้แจง แต่ส่งหนังสือชี้แจงร้องเรียนมาแทน ซึ่งเห็นตรงกันว่าควรให้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชี้แจงแทน สำหรับ นายณัฐวุฒิ ได้ประสานงานมายังกมธ.ว่ายังติดภารกิจจึงไม่ได้เข้าชี้แจงเช่นกัน
โดย นายไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ เห็นว่าเรื่องนี้ควรที่จะมีการยื่นเรื่องให้กับคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบ หรือควรยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยตรงจะมีความเหมาะสมกว่า เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรง
ขณะที่ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการพลังงาน เช่นกัน ซึ่งควรมีส่วนตรวจสอบและทำความจริงให้ปรากฎชัดเจน เพราะยังมีประเด็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมผู้ร้องระบุว่า มี 17โครงการที่ไม่โปร่งใส และเหตุใดบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงเน้นใช้วิธีว่าจ้างแบบวิธีพิเศษมากกว่าการจ้างแบบประมูล และนำเกณฑ์ใดมาเป็นตัวกำหนดราคากลาง เนื่องจากถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ อาจเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ฮั้วฯ ได้
ด้าน นางมัลลิกา กล่าวว่า จากการที่ ปตท.ได้ว่าจ้างให้บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มี นายณัฐวุฒิ ถือหุ้นเป็นลำดับ 2 จ้างให้เป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวทั้งหมด 17โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องมีการประมูล 3 โครงการ และเป็นโครงการที่ ปตท.จัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ อีก 14 โครงการ ถือว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่มีจำนวนโครงการมากที่สุดที่บริษัทนี้ได้รับจ้าง จึงตั้งข้อสังเกตุว่าโครงการที่มีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ มีวิธีการอย่างไรในการได้มาของโครงการ และในส่วนของ 3 โครงการที่มีการประมูลนั้น มีการประมูล และจะขัดต่อพรบ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วย (พ.ร.บ.ฮั้วฯ) หรือไม่ ทั้งนี้ มีความจำเป็นหรือไม่ว่าบริษัทของนายณัฐวุฒิ จะต้องได้รับจ้างงานเพียงบริษัทเดียว ซึ่งอาจทำให้บริษัทอื่นเสียโอกาส ส่วนการที่ตนจะยื่นเรื่องให้ใครเป็นผู้ตรวจสอบนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญานของตนเอง และประธานคณะกรรมาธิการชุดนี้ ที่ควรวิเคราะห์ว่าควรส่งเรื่องนี้ตรวจสอบก่อนหรือไม่ด้วย
ส่วน นายจิร กล่าวว่า โครงการทั้งหมดตั้งแต่ปี 2544-2554 มีทั้งหมด 13 โครงการ ซึ่งการจ้างโครงการของ ปตท.ด้วยวิธีประมูล 3 โครงการ และแบบวิธีพิเศษ 10 โครงการ ซึ่งได้จ้างงานจากหลายบริษัทในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ การที่มีการมองว่า 3 บริษัทมีความเกี่ยวข้องกันนั้น จากการตรวจสอบพบว่ารายชื่อกรรมการในเอกสารหนังสือรับรองที่ยื่นในการเสนอราคาที่ได้รับจากแต่ะลบริษัท ไม่พบความซ้ำซ้อนและเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด โดยตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่บริษัทยื่นประมูลเข้ามา ก็ไม่ได้ระบุรายชื่อ หรือจำนวนผู้ถือหุ้น รวมทั้งความเกี่ยวโยงของผู้ถือหุ้นแต่ละรายมาด้วย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ระเบียบปฏิบัติการประมูล ของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว ซึ่งตนก็ไม่ทราบว่าทั้ง 3บริษัทเป็นบริษัทเดียวกันหรือไม่
ทั้งนี้ นายมนตรี กล่าวว่า การประชุมครั้งต่อไปจะเชิญตัวแทนบริษัททั้ง 3 ราย รวมทั้งนายณัฐวุฒิเข้าชี้แจงอีกครั้ง แต่หากยังไม่ได้รับการตอบรับ ก็จะออกคำสั่งเรียก ตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ของ ส.ส.และวุฒิสภา
วันนี้ (22 ก.พ.) ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการการพลังาน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายมนตรี ปาน้อยนนท์ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน โดยวันนี้มีวาระการประชุม พิจารณาหนังสือร้องเรียนของ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องให้สอบข้อเท็จจริง ซึ่ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ว่าจ้างบริษัท ไทย คอนซัคแตนท์พับพลิค รีเลชั่น จำกัด เป็นที่ปรึกษามวลชนสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซ ซึ่ง กมธ.ได้เชิญ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ไทย คอนซัคแตนท์พับพลิค รีเลชั่น จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยมี นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการหน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน),กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย คอนซัคแตนท์พับพลิค รีเลชั่น จำกัด กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอคทีพ คอนสตรัคชั่น จำกัด ทั้งนี้ ตัวแทนจาก 3 บริษัทไม่ได้เข้าชี้แจง แต่ส่งหนังสือชี้แจงร้องเรียนมาแทน ซึ่งเห็นตรงกันว่าควรให้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชี้แจงแทน สำหรับ นายณัฐวุฒิ ได้ประสานงานมายังกมธ.ว่ายังติดภารกิจจึงไม่ได้เข้าชี้แจงเช่นกัน
โดย นายไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ เห็นว่าเรื่องนี้ควรที่จะมีการยื่นเรื่องให้กับคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบ หรือควรยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยตรงจะมีความเหมาะสมกว่า เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรง
ขณะที่ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการพลังงาน เช่นกัน ซึ่งควรมีส่วนตรวจสอบและทำความจริงให้ปรากฎชัดเจน เพราะยังมีประเด็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมผู้ร้องระบุว่า มี 17โครงการที่ไม่โปร่งใส และเหตุใดบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงเน้นใช้วิธีว่าจ้างแบบวิธีพิเศษมากกว่าการจ้างแบบประมูล และนำเกณฑ์ใดมาเป็นตัวกำหนดราคากลาง เนื่องจากถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ อาจเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ฮั้วฯ ได้
ด้าน นางมัลลิกา กล่าวว่า จากการที่ ปตท.ได้ว่าจ้างให้บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มี นายณัฐวุฒิ ถือหุ้นเป็นลำดับ 2 จ้างให้เป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวทั้งหมด 17โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องมีการประมูล 3 โครงการ และเป็นโครงการที่ ปตท.จัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ อีก 14 โครงการ ถือว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่มีจำนวนโครงการมากที่สุดที่บริษัทนี้ได้รับจ้าง จึงตั้งข้อสังเกตุว่าโครงการที่มีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ มีวิธีการอย่างไรในการได้มาของโครงการ และในส่วนของ 3 โครงการที่มีการประมูลนั้น มีการประมูล และจะขัดต่อพรบ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วย (พ.ร.บ.ฮั้วฯ) หรือไม่ ทั้งนี้ มีความจำเป็นหรือไม่ว่าบริษัทของนายณัฐวุฒิ จะต้องได้รับจ้างงานเพียงบริษัทเดียว ซึ่งอาจทำให้บริษัทอื่นเสียโอกาส ส่วนการที่ตนจะยื่นเรื่องให้ใครเป็นผู้ตรวจสอบนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญานของตนเอง และประธานคณะกรรมาธิการชุดนี้ ที่ควรวิเคราะห์ว่าควรส่งเรื่องนี้ตรวจสอบก่อนหรือไม่ด้วย
ส่วน นายจิร กล่าวว่า โครงการทั้งหมดตั้งแต่ปี 2544-2554 มีทั้งหมด 13 โครงการ ซึ่งการจ้างโครงการของ ปตท.ด้วยวิธีประมูล 3 โครงการ และแบบวิธีพิเศษ 10 โครงการ ซึ่งได้จ้างงานจากหลายบริษัทในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ การที่มีการมองว่า 3 บริษัทมีความเกี่ยวข้องกันนั้น จากการตรวจสอบพบว่ารายชื่อกรรมการในเอกสารหนังสือรับรองที่ยื่นในการเสนอราคาที่ได้รับจากแต่ะลบริษัท ไม่พบความซ้ำซ้อนและเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด โดยตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่บริษัทยื่นประมูลเข้ามา ก็ไม่ได้ระบุรายชื่อ หรือจำนวนผู้ถือหุ้น รวมทั้งความเกี่ยวโยงของผู้ถือหุ้นแต่ละรายมาด้วย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ระเบียบปฏิบัติการประมูล ของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว ซึ่งตนก็ไม่ทราบว่าทั้ง 3บริษัทเป็นบริษัทเดียวกันหรือไม่
ทั้งนี้ นายมนตรี กล่าวว่า การประชุมครั้งต่อไปจะเชิญตัวแทนบริษัททั้ง 3 ราย รวมทั้งนายณัฐวุฒิเข้าชี้แจงอีกครั้ง แต่หากยังไม่ได้รับการตอบรับ ก็จะออกคำสั่งเรียก ตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ของ ส.ส.และวุฒิสภา