ASTVผู้จัดการรายวัน - “ชัจจ์” เร่งประมูลวิธีพิเศษขุดลอกร่องน้ำเสร็จก่อนฝนมา ก.ค.นี้ ห่วงสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมดันของบขุดลอกปี 56 เพิ่ม แก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งแบบถาวร
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายกรมเจ้าท่า (จท.) วานนี้ (14 ก.พ.) ว่า นโยบายรัฐบาลต้องการให้กรมเจ้าท่าเร่งดำเนินการขุดลอกร่องน้ำให้เสร็จในเดือน ก.ค.2555 ก่อนที่มีจะฝนตกและน้ำหลาก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องประกวดราคาด้วยวิธีพิเศษเพื่อจ้างผู้รับเหมา โดยขณะนี้พื้นที่ที่น่าเป็นห่วง คือ บริเวณสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง ซึ่งงบประมาณที่กรมเจ้าท่าได้รับค่อนข้างน้อย จึงขุดลอกได้เฉพาะที่จำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น โดยจะผลักดันเพื่อของบประมาณปี 2556 เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องความจำเป็นในการขุดลอก โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำชี มูล ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่งและเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ แต่ได้รับงบประมาณน้อยมาก ปี 2555 ได้เพียง 190 ล้านบาทเท่านั้น
“กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในปี 2555 จำเป็นต้องเร่งรัด เพราะเหลือเวลาในการใช้จ่ายงบประมาณเพียง 7 เดือนเท่านั้น ซึ่งหากล่าช้าเป็นการสูญเสียโอกาส งานจะไม่สำเร็จตามเป้าหมาย และจะต้องถูกเรียกคืนงบประมาณด้วย” พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าว
นอกจากนี้ จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการขนส่งทางน้ำให้เกิดความสะดวกมากที่สุด เพื่อส่งเสริมให้มีการขนส่งทางน้ำเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นการขนส่งที่มีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ในขณะที่ปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 1-2% เท่านั้น ซึ่งได้รับรายงานว่า มีปัญหาด้านข้อกฎหมาย ทำให้กรมเจ้าท่าไม่สามารถบริหารจัดการและดูแลท่าเรือ มีหน้าที่เพียงก่อสร้างเท่านั้น ซึ่งจะต้องเร่งสะสางระเบียบราชการที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวเพื่อให้กรมเจ้าท่าหรือการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นผู้บริหารเช่นเดียวกับ ท่าเรือแหลมฉบัง หรือท่าเรือเชียงแสน เนื่องจากขณะนี้กรมเจ้าท่าได้ก่อสร้างท่าเทียบเรือ ซึ่งเป็นสถานีขนส่งสินค้าที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ต้องให้ อบต.บริหาร ทั้งที่กรมเจ้าท่าควรเป็นผู้บริหารมากกว่า
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า กรมฯได้รับงบประมาณปี 2555 เพื่อฟื้นฟูแม่น้ำสายหลักและแม่น้ำสาขาเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง จำนวน 762.4502 ล้านบาท สำหรับการขุดลอก แม่น้ำเจ้าพระยา 344.448 ล้านบาท แม่น้ำยม 418.002 ล้านบาท และสำหรับขุดสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ปริมาณเนื้อดินรวม 4.62 ล้าน ลบ.ม.วงเงิน 277.20 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ โดยหลังจากได้ผู้รับเหมาแล้วจะต้องเสนอรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติด้วย เนื่องจากวงเงินเกินอำนาจอธิบดี โดยคาดว่าจะทำสัญญาและเริ่มงานได้ในวันที่ 1 มี.ค.เสร็จในเดือน ก.ค.2555
ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทการขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำอย่างยั่งยืน ปี 2555-2557 ยังมีร่องน้ำที่ยังไม่ได้รับงบประมาณดำเนินการอีกประมาณ 12,000 ล้านบาท เนื้อดินประมาณ 347 ลบ.ม.ซึ่งกรมฯได้ปรับแผนดำเนินการเป็นปี 2556-2559 โดยจะเสนอของบประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายกรมเจ้าท่า (จท.) วานนี้ (14 ก.พ.) ว่า นโยบายรัฐบาลต้องการให้กรมเจ้าท่าเร่งดำเนินการขุดลอกร่องน้ำให้เสร็จในเดือน ก.ค.2555 ก่อนที่มีจะฝนตกและน้ำหลาก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องประกวดราคาด้วยวิธีพิเศษเพื่อจ้างผู้รับเหมา โดยขณะนี้พื้นที่ที่น่าเป็นห่วง คือ บริเวณสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง ซึ่งงบประมาณที่กรมเจ้าท่าได้รับค่อนข้างน้อย จึงขุดลอกได้เฉพาะที่จำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น โดยจะผลักดันเพื่อของบประมาณปี 2556 เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องความจำเป็นในการขุดลอก โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำชี มูล ซึ่งมีปัญหาน้ำล้นตลิ่งและเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ แต่ได้รับงบประมาณน้อยมาก ปี 2555 ได้เพียง 190 ล้านบาทเท่านั้น
“กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในปี 2555 จำเป็นต้องเร่งรัด เพราะเหลือเวลาในการใช้จ่ายงบประมาณเพียง 7 เดือนเท่านั้น ซึ่งหากล่าช้าเป็นการสูญเสียโอกาส งานจะไม่สำเร็จตามเป้าหมาย และจะต้องถูกเรียกคืนงบประมาณด้วย” พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าว
นอกจากนี้ จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการขนส่งทางน้ำให้เกิดความสะดวกมากที่สุด เพื่อส่งเสริมให้มีการขนส่งทางน้ำเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นการขนส่งที่มีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ในขณะที่ปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 1-2% เท่านั้น ซึ่งได้รับรายงานว่า มีปัญหาด้านข้อกฎหมาย ทำให้กรมเจ้าท่าไม่สามารถบริหารจัดการและดูแลท่าเรือ มีหน้าที่เพียงก่อสร้างเท่านั้น ซึ่งจะต้องเร่งสะสางระเบียบราชการที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวเพื่อให้กรมเจ้าท่าหรือการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นผู้บริหารเช่นเดียวกับ ท่าเรือแหลมฉบัง หรือท่าเรือเชียงแสน เนื่องจากขณะนี้กรมเจ้าท่าได้ก่อสร้างท่าเทียบเรือ ซึ่งเป็นสถานีขนส่งสินค้าที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ต้องให้ อบต.บริหาร ทั้งที่กรมเจ้าท่าควรเป็นผู้บริหารมากกว่า
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า กรมฯได้รับงบประมาณปี 2555 เพื่อฟื้นฟูแม่น้ำสายหลักและแม่น้ำสาขาเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง จำนวน 762.4502 ล้านบาท สำหรับการขุดลอก แม่น้ำเจ้าพระยา 344.448 ล้านบาท แม่น้ำยม 418.002 ล้านบาท และสำหรับขุดสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ปริมาณเนื้อดินรวม 4.62 ล้าน ลบ.ม.วงเงิน 277.20 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ โดยหลังจากได้ผู้รับเหมาแล้วจะต้องเสนอรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติด้วย เนื่องจากวงเงินเกินอำนาจอธิบดี โดยคาดว่าจะทำสัญญาและเริ่มงานได้ในวันที่ 1 มี.ค.เสร็จในเดือน ก.ค.2555
ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทการขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำอย่างยั่งยืน ปี 2555-2557 ยังมีร่องน้ำที่ยังไม่ได้รับงบประมาณดำเนินการอีกประมาณ 12,000 ล้านบาท เนื้อดินประมาณ 347 ลบ.ม.ซึ่งกรมฯได้ปรับแผนดำเนินการเป็นปี 2556-2559 โดยจะเสนอของบประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท