ASTVผู้จัดการรายวัน-“จารุพงศ์”เตรียมประสาน กทม.เร่งขุดลอกคูคลอง ขยายทางน้ำ รับมือน้ำท่วมปี 55 เผยเจ้าท่าเตรียมขุดลอกขยายแม่น้ำรวม 17 ร่องน้ำ และเพิ่มร่องน้ำปากอ่าวเจ้าพระยา เปิดทางน้ำลงทะเล เผย”นายกฯ”ห่วงเดินทางช่วงสงกรานต์ กำชับ รถ,ถนน,คนขับ ต้องพร้อมบริการ
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ปลายน้ำ ตั้งแต่กรุงเทพฯไปถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยหลักการจะต้องเปิดทางน้ำเพื่อเร่งให้น้ำระบายน้ำลงทะเลเร็วที่สุด โดยจะประสานกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในเรื่องการขุดลอกคูคลองในเขตกทม.ทั้งหมด รวมถึงวางแผนป้องกันน้ำเข้าพื้นที่กทม.ซึ่งจะมีปัญหาและไม่สามารถควบคุมได้เนื่องจาก ในเขตกทม.มีท่อระบายน้ำใต้ดินระยะทางกว่า6,000 กิโลเมตร
ทั้งนี้ หลักการป้องกันน้ำท่วมในปี 2555 จะต่างจากปี 2554 ที่เน้นการระบายน้ำจากเหนือลงใต้ ตามความลาดเอียงของพื้นที่ โดยจะต้องเพิ่มร่องน้ำและขยายคูคลองตลอดแนวเหนือ-ใต้ หรือยกระดับริมคลองให้สูงขึ้นอีก เพื่อให้น้ำไหลผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว จะไม่เน้นใช้กระสอบทราย หรือบิ๊กแบ๊ก วางเพื่อขวางกั้นทางน้ำ หรือให้ไหลไปทางแนวตะวันออก หรือตะวันตกก่อนลงสู่ทะเลเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าเป็นปัญหาและทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างมาก และยังมีปัญหาการต่อต้านจากประชาชนที่อยู่แนวกั้นของกระสอบทรายหรือบิ๊กแบ๊ก
สำหรับกระทรวงคมนาคมนั้น ขณะนี้ กรมเจ้าท่า (จท.) เตรียมขุดลอกบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 ร่องน้ำ จากเดิมที่มี 2 ร่องน้ำ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มร่องน้ำให้เรือเดินสมุทรเข้าไปยังท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ได้เพิ่มอีก 1 ร่องน้ำแล้ว ยังทำให้น้ำไหลลงสู่ทะเลได้เร็วมากขึ้น และขยายร่องน้ำที่ปากแม่น้ำท่าจีนให้กว้างขึ้นด้วย
ตามแผนกรมเจ้าท่าจะมีการขุดลอกสันดอนในแม่น้ำ รวม 17 ร่องน้ำ ซึ่งมั่นใจว่าการดำเนินการทั้งหมดจะแล้วเสร็จก่อนถึงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้อย่างแน่นอน
ด้านนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ขณะนี้กรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล วงเงิน 277 ล้านบาท เพื่อขุดลอกร่องน้ำต่างๆ คาดจะสามารถจะสามารถเซ็นสัญญากับบริษัทผู้ดำเนินการได้ในปลายเดือนก.พ.55 และเริ่มงานในเดือนมี.ค.55 โดยจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
สั่งเตรียมความพร้อมเดินทางช่วงสงกรานต์
นายจารุพงศ์กล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำชับให้กระทรวงคมนาคมเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกประชาชนที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ โดยจะต้องมีความพร้อมทั้งรถ คนขับและถนน ซึ่งในส่วนของถนนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมและยังดำเนินการฟื้นฟูไม่แล้วเสร็จนั้นจะต้องมีการวางมาตรการเพื่อรองรับการเดินทางไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ปลายน้ำ ตั้งแต่กรุงเทพฯไปถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยหลักการจะต้องเปิดทางน้ำเพื่อเร่งให้น้ำระบายน้ำลงทะเลเร็วที่สุด โดยจะประสานกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในเรื่องการขุดลอกคูคลองในเขตกทม.ทั้งหมด รวมถึงวางแผนป้องกันน้ำเข้าพื้นที่กทม.ซึ่งจะมีปัญหาและไม่สามารถควบคุมได้เนื่องจาก ในเขตกทม.มีท่อระบายน้ำใต้ดินระยะทางกว่า6,000 กิโลเมตร
ทั้งนี้ หลักการป้องกันน้ำท่วมในปี 2555 จะต่างจากปี 2554 ที่เน้นการระบายน้ำจากเหนือลงใต้ ตามความลาดเอียงของพื้นที่ โดยจะต้องเพิ่มร่องน้ำและขยายคูคลองตลอดแนวเหนือ-ใต้ หรือยกระดับริมคลองให้สูงขึ้นอีก เพื่อให้น้ำไหลผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว จะไม่เน้นใช้กระสอบทราย หรือบิ๊กแบ๊ก วางเพื่อขวางกั้นทางน้ำ หรือให้ไหลไปทางแนวตะวันออก หรือตะวันตกก่อนลงสู่ทะเลเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าเป็นปัญหาและทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างมาก และยังมีปัญหาการต่อต้านจากประชาชนที่อยู่แนวกั้นของกระสอบทรายหรือบิ๊กแบ๊ก
สำหรับกระทรวงคมนาคมนั้น ขณะนี้ กรมเจ้าท่า (จท.) เตรียมขุดลอกบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 ร่องน้ำ จากเดิมที่มี 2 ร่องน้ำ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มร่องน้ำให้เรือเดินสมุทรเข้าไปยังท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ได้เพิ่มอีก 1 ร่องน้ำแล้ว ยังทำให้น้ำไหลลงสู่ทะเลได้เร็วมากขึ้น และขยายร่องน้ำที่ปากแม่น้ำท่าจีนให้กว้างขึ้นด้วย
ตามแผนกรมเจ้าท่าจะมีการขุดลอกสันดอนในแม่น้ำ รวม 17 ร่องน้ำ ซึ่งมั่นใจว่าการดำเนินการทั้งหมดจะแล้วเสร็จก่อนถึงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้อย่างแน่นอน
ด้านนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ขณะนี้กรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล วงเงิน 277 ล้านบาท เพื่อขุดลอกร่องน้ำต่างๆ คาดจะสามารถจะสามารถเซ็นสัญญากับบริษัทผู้ดำเนินการได้ในปลายเดือนก.พ.55 และเริ่มงานในเดือนมี.ค.55 โดยจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
สั่งเตรียมความพร้อมเดินทางช่วงสงกรานต์
นายจารุพงศ์กล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำชับให้กระทรวงคมนาคมเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกประชาชนที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ โดยจะต้องมีความพร้อมทั้งรถ คนขับและถนน ซึ่งในส่วนของถนนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมและยังดำเนินการฟื้นฟูไม่แล้วเสร็จนั้นจะต้องมีการวางมาตรการเพื่อรองรับการเดินทางไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน