xs
xsm
sm
md
lg

พัทยาดันงบ 15 ล้านแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายหาด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - เมืองพัทยาผลักดันงบประมาณ 15 ล้าน เปิดพิจารณารูปแบบดำเนินการแก้ไขปัญหาและป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะชายหาดพัทยาระยะเร่งด่วน

จากการที่เมืองพัทยาประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดพัทยาอย่างรุนแรง จนมีการระบุว่าหากไม่ดำเนินการแก้ไขในระยะเวลาอีก 3-5 ปีจากนี้จะทำให้ชายหาดเมืองพัทยาหายไป ซึ่งที่ผ่านมาเมืองพัทยาจึงได้ร่วมกับกรมเจ้าท่าและสถาบันวิจัยทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาทำการศึกษาพร้อม ทำการวางแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำแผนการถมทะเลและกำลังรอนำแผนเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวด ล้อมเพื่อขอรับความเห็นชอบนั้น

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบว่าสภาพชายหาดตั้งแต่บริเวณโค้งดุสิตธานีไปจนถึงซอยพัทยา 2 ในระยะทางยาวกว่า 195 เมตรนั้นมีการกัดเซาะอย่างรุนแรงจนพื้นที่ชายหาดเหลือระยะความกว้างไม่ถึง 5 เมตร ซึ่งกรณีดังกล่าวสภาเมืองพัทยาจึงได้อนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมในงบประมาณปี 2554 จำนวน 15.7 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเป็นพื้นที่นำร่อง และเพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยได้ออกประกาศเพื่อว่าจ้างภาคเอกชนมาเป็นผู้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ตามแผนแม่บทที่ได้ทำการศึกษาไว้

ล่าสุดวันนี้ (13 ก.พ.55) ที่ห้องประชุมศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี นายสุธรรม เพ็ชรเกตุ รองปลัดเมืองพัท ยา เป็นประธานการประชุมกรรมการโครงการแก้ไขปัญหาและป้องกันการกัดเซาะชายหาดระยะเร่งด่วน เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการถมทะเลจาก บ.อินทนา คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่ได้ยื่นความจำนงในการจัด ทำโครงการดังกล่าว เพื่อให้โครงการไปเป็นอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

นายสุธรรม เปิดเผยว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการรับฟังรูปแบบการดำเนินการจากบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดใน TOR หรือขอบเขตการทำงานที่เมืองพัทยาได้กำหนดไว้ ตามแนวทางที่ 2 ของแผนแม่บทในโครงการการถมทะเลของสถาบันวิจัยทางน้ำ จุฬาลงกรณ์ ซึ่งระ บุไว้ว่าจะต้องนำทรายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชายหาดพัทยามาทำการเติมในช่วงพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะในระยะความกว้าง 15 เมตร ก่อนนำถุงบรรจุทรายทะเลซึ่งทำขึ้นด้วยวัสดุใยสังเคราะห์ หรือ Geo Tex-tile มาทำเป็นแนวกันชน เพื่อป้องกันคลื่นทะเลปะทะและกัดเซาะ ก่อนจะถมทรายเพิ่มเติมเพื่อขยายความกว้างออกไปอีก 35 เมตรตลอดแนว

ทั้งนี้ หลักสำคัญของโครงการดังกล่าวเมืองพัทยามีความจำเป็นต้องไปตรวจสอบและดูสภาพของทรายที่จะนำมาถม ซึ่งต้องเป็นทรายที่มีคุณภาพ ขนาด และไม่มีสารตกตะกอนหนักที่อาจสร้างความเสีย หายต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่ง ซึ่งทางบริษัทระบุไว้ว่าจะนำทรายมาจากปากแม่น้ำระยองซึ่งเป็นพื้นที่ที่ระบุไว้ตามผลการศึกษาของสถาบันวิจัยฯ

รวมทั้งการตรวจสอบพื้นที่จุดพักทรายหรือจุด Transfer เพื่อดูแนวทาง การล้างทรายก่อนนำมาถมลงตามแนวชายหาด เรื่องของการขนส่งและการกันแนวพื้นที่ทำงานเพื่อลดผล กระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการและการท่องเที่ยวในภาพรวมได้ ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นในขบวนการดัง กล่าวก็จะทำการว่าจ้างเพื่อให้เข้ามาดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยคาดว่าขั้นตอนการทำงานทั้งหมดจะกินเวลาประมาณ 90 วัน
กำลังโหลดความคิดเห็น