ศูนย์ข่าวศรีราชา - สภาเมืองพัทยาเห็นชอบอนุมติงบสะสม 14 ล้านบาท ถมทรายแก้ปัญหาการกัดเซาะชายหาดระยะเร่งด่วน
วันนี้ (10 ส.ค. 54) ในที่ประชุมสภาเมืองพัทยา นายวุฒิศักดิ์ เริ่มกิจการ รองนายกเมืองพัทยา นำเสนอวาระเกี่ยวกับการขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาและป้องกันการกัดเซาะชายหาดพัทยาในระยะเร่งด่วน บริเวณตั้งแต่โค้งดุสิตธานีพัทยาถึงซอยพัทยา 1 ในระยะที่ 1 เพราะถือว่าโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ
ทั้งนี้เนื่องจากเมืองพัทยาประสบปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดเมืองพัทยาอย่างรุนแรง และเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ช่วงต้นชายหาด ซึ่งถูกกัดเซาะจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หายไป แต่เดิมตามธรรมชาติแล้วทรายจะไหลกลับมาทับถมเช่นเดิม แต่ปรากฏว่า จนถึงปัจจุบันจะมีทรายไหลกลับมาทับถมคืนเพียง 10 % ในเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าการกัดเซาะมีความรุนแรงมากขึ้น
ดังนั้น เมืองพัทยาในฐา นะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจึงจำเป็นจ้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง เนื่องจากแนวกัดเซาะนั้นกินบริเวณกว้างและลึกจนถึงแนวคันหิน ซึ่งหากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบไปถึงภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว และความเสียหายที่อาจเพิ่มขึ้นได้
จึงได้ขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมเพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาและป้อง กันการกัดเซาะชายหาดพัทยาในระ ยะเร่งด่วน บริเวณตั้งแต่โค้งดุสิตธานีพัทยาไปจนถึงซอยพัทยา 1 ขนาดความกว้าง 29 เมตร ในระยะทางยาว 195 เมตร
ทั้งนี้ จะใช้วิธีการนำทรายที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับของเดิม มาเติมในช่วงพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะไปประมาณ 9,800 ลูกบาศก์เมตร และนำถุงบรรจุทรายจำนวน 3,200 ถุง ซึ่งห่อด้วยวัสดุสังเคราะห์ (Geo-textile Bags) มากั้นเป็นแนวกันชน (Buffer Zone) เพื่อป้องกันคลื่นทะเลปะทะและกัดเซาะพื้นที่ชายหาดให้ได้รับความเสียหาย
แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับแนวการศึกษา วางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพิ่มเสริมทราบชายหาด ของกรมเจ้าท่าและสถานบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง
ด้าน นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับชายหาดเมืองพัทยามีปัญหาการกัดเซาะรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปัจจุบันทางกรมเจ้าท่าได้เป็นเจ้าภาพในการว่า จ้างสถาบันวิจันทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย มาทำการศึกษาและวางแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก อย่างไรก็ตามการที่จะรอให้ผลการศึกษาแล้วเสร็จ
รวมทั้งเสนอแผนต่อสำนักงานนโยบายแผนและสิ่งแวดล้อม เพื่ออนุมติโครงการนั้นอาจต้องใช้ระยะเวลานานหลายเดือน ซึ่งถือว่าไม่ทันการณ์กับสภาพปัญหาและผลกระทบของชายหาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เมืองพัทยาจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนเป็นการเบื้องต้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น รวมทั้งรองรับฤดูท่องเที่ยวที่จะมาถึง ซึ่งจะถือเป็นการนำร่องในการแก้ไขปัญหาในระยะเบื้องต้นก่อนที่จะมีการโครงการถมทะเลอย่างเป็นรูปธรรมตลอดแนวชายหาดตามแผนแม่บทในได้เขียนไว้ต่อไป
ทั้งนี้ในที่ประชุมสภาเมืองพัทยา ต่างมีความเห็นสอดคล้องกับแนวแผนและนโยบายดังกล่าว จึงมีมติเห็นชอบอนุมติงบประมาณจ่ายขาดเงินสะสม เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขและป้องกันในระยะเร่งด่วนต่อไป
วันนี้ (10 ส.ค. 54) ในที่ประชุมสภาเมืองพัทยา นายวุฒิศักดิ์ เริ่มกิจการ รองนายกเมืองพัทยา นำเสนอวาระเกี่ยวกับการขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาและป้องกันการกัดเซาะชายหาดพัทยาในระยะเร่งด่วน บริเวณตั้งแต่โค้งดุสิตธานีพัทยาถึงซอยพัทยา 1 ในระยะที่ 1 เพราะถือว่าโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ
ทั้งนี้เนื่องจากเมืองพัทยาประสบปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดเมืองพัทยาอย่างรุนแรง และเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ช่วงต้นชายหาด ซึ่งถูกกัดเซาะจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หายไป แต่เดิมตามธรรมชาติแล้วทรายจะไหลกลับมาทับถมเช่นเดิม แต่ปรากฏว่า จนถึงปัจจุบันจะมีทรายไหลกลับมาทับถมคืนเพียง 10 % ในเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าการกัดเซาะมีความรุนแรงมากขึ้น
ดังนั้น เมืองพัทยาในฐา นะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจึงจำเป็นจ้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง เนื่องจากแนวกัดเซาะนั้นกินบริเวณกว้างและลึกจนถึงแนวคันหิน ซึ่งหากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบไปถึงภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว และความเสียหายที่อาจเพิ่มขึ้นได้
จึงได้ขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมเพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาและป้อง กันการกัดเซาะชายหาดพัทยาในระ ยะเร่งด่วน บริเวณตั้งแต่โค้งดุสิตธานีพัทยาไปจนถึงซอยพัทยา 1 ขนาดความกว้าง 29 เมตร ในระยะทางยาว 195 เมตร
ทั้งนี้ จะใช้วิธีการนำทรายที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับของเดิม มาเติมในช่วงพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะไปประมาณ 9,800 ลูกบาศก์เมตร และนำถุงบรรจุทรายจำนวน 3,200 ถุง ซึ่งห่อด้วยวัสดุสังเคราะห์ (Geo-textile Bags) มากั้นเป็นแนวกันชน (Buffer Zone) เพื่อป้องกันคลื่นทะเลปะทะและกัดเซาะพื้นที่ชายหาดให้ได้รับความเสียหาย
แนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับแนวการศึกษา วางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพิ่มเสริมทราบชายหาด ของกรมเจ้าท่าและสถานบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง
ด้าน นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับชายหาดเมืองพัทยามีปัญหาการกัดเซาะรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปัจจุบันทางกรมเจ้าท่าได้เป็นเจ้าภาพในการว่า จ้างสถาบันวิจันทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย มาทำการศึกษาและวางแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก อย่างไรก็ตามการที่จะรอให้ผลการศึกษาแล้วเสร็จ
รวมทั้งเสนอแผนต่อสำนักงานนโยบายแผนและสิ่งแวดล้อม เพื่ออนุมติโครงการนั้นอาจต้องใช้ระยะเวลานานหลายเดือน ซึ่งถือว่าไม่ทันการณ์กับสภาพปัญหาและผลกระทบของชายหาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เมืองพัทยาจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนเป็นการเบื้องต้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น รวมทั้งรองรับฤดูท่องเที่ยวที่จะมาถึง ซึ่งจะถือเป็นการนำร่องในการแก้ไขปัญหาในระยะเบื้องต้นก่อนที่จะมีการโครงการถมทะเลอย่างเป็นรูปธรรมตลอดแนวชายหาดตามแผนแม่บทในได้เขียนไว้ต่อไป
ทั้งนี้ในที่ประชุมสภาเมืองพัทยา ต่างมีความเห็นสอดคล้องกับแนวแผนและนโยบายดังกล่าว จึงมีมติเห็นชอบอนุมติงบประมาณจ่ายขาดเงินสะสม เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขและป้องกันในระยะเร่งด่วนต่อไป