คลังหนุนแก้กฎหมายดึงค่าธรรมเนียมคุ้มครองเงินฝาก 1% ใช้คืนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ระบุ สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย ส่วนกฎหมายฟื้นฟูฯฉุกเฉิน 3.5 แสนล้าน พร้อมดำเนินการได้ทันทีหากโครงการมีความชัดเจน
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ 4 ฉบับ โดยเฉพาะแก้ไขกฎหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่รับฝากเงินในอัตราที่เมื่อรวมกับเงินที่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.) เรียกเก็บจากสถาบันการเงิน 0.4% รวมกันไม่เกิน 1% และให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) กับ ธปท.ดูแลทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยของเอฟไอดีเอฟ 1.14 ล้านล้านบาท ซึ่งช่วยลดภาระที่คลังต้องตั้งงบประมาณชำระดอกเบี้ยเงินกู้ปีละ 6.5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ออกมาต่อต้านว่าเป็นการทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น และอาจผลักภาระไปยังประชาชนนั้น ทาง สบน.เห็นว่า กลับเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้ประชาชนสามารถกระจายเงินฝากไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น พันธบัตรออมทรัพย์ หรือกองทุนต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก
“ตอนนี้เงินฝากในระบบสถาบันการเงินมี 7.6 ล้านล้านบาท ค่าคุ้มครองที่ต้องนำส่ง สคฝ.นั้น 1% ประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท ก็จะช่วยรัฐบาลแบ่งเบาภาระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ ซึ่งหนี้ก้อนนี้ก็จะหมดลงไปในที่สุด อยากให้ทุกฝ่ายมองอย่างเป็นธรรมเมื่อประเทศเกิดวิกฤตมีหนี้เสียเกิดขึ้นรัฐบาลต้องเข้าไปรับภาระทุกครั้งไปซึ่งสุดท้าย ก็คือ เงินของประชาชนทั้งนั้น การที่แบงก์พาณิชย์กำไรลดลงบ้างเล็งน้อยก็ขอให้เสียสละเพื่อประเทศชาติบ้างที่ผ่านมาทำเสียหายมากแล้ว” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวว่า สำหรับกฎหมายอีก 3 ฉบับที่เหลือนั้น ทาง สบน.ยังไม่เห็นร่างกฎหมายที่ชัดเจนอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเรียกเข้าไปหารือในเชิงเทคนิค ว่า ทำได้หรือไม่หรือติดปัญหาที่จุดใด ซึ่งทาง สบน.ยืนยันว่า ทำได้โดยเฉพาะกฎหมายเยียวยาวงเงิน 3.5 แสนล้าน แต่ต้องมีโครงการที่ชัดเจนออกมาด้วยพร้อมกับร่างกฎหมายอย่างที่เคยทำมาในอดีต
“กฎหมายที่ออกเป็น พ.ร.ก.ทั้งหมดไม่ว่าฉบับใดเนื้อหาต้องเป็นเรื่องเร่งด่วนเท่านั้นซึ่งในอดีตก็เคยทำมาแล้วมาเงินกู้ไทยเข้มแข็งของรัฐบาลที่แล้ว รัฐบาลนี้จะทำก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งกรอบการใช้จ่ายเงินก็อยู่ภายในปี 2557 ในลักษณะที่คล้ายๆ กัน ส่วนขั้นตอนการกู้เมื่อ พ.ร.ก.ผ่านแล้วนั้น ก็คงเป็นการกู้ระยะสั้นตามเครื่องมือที่กระทรวงการคลังมีอยู่ก่อนแปลงเป็นหนี้ระยะยาวในภายหลัง” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ 4 ฉบับ โดยเฉพาะแก้ไขกฎหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่รับฝากเงินในอัตราที่เมื่อรวมกับเงินที่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.) เรียกเก็บจากสถาบันการเงิน 0.4% รวมกันไม่เกิน 1% และให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) กับ ธปท.ดูแลทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยของเอฟไอดีเอฟ 1.14 ล้านล้านบาท ซึ่งช่วยลดภาระที่คลังต้องตั้งงบประมาณชำระดอกเบี้ยเงินกู้ปีละ 6.5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ออกมาต่อต้านว่าเป็นการทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น และอาจผลักภาระไปยังประชาชนนั้น ทาง สบน.เห็นว่า กลับเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้ประชาชนสามารถกระจายเงินฝากไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น พันธบัตรออมทรัพย์ หรือกองทุนต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก
“ตอนนี้เงินฝากในระบบสถาบันการเงินมี 7.6 ล้านล้านบาท ค่าคุ้มครองที่ต้องนำส่ง สคฝ.นั้น 1% ประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท ก็จะช่วยรัฐบาลแบ่งเบาภาระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ ซึ่งหนี้ก้อนนี้ก็จะหมดลงไปในที่สุด อยากให้ทุกฝ่ายมองอย่างเป็นธรรมเมื่อประเทศเกิดวิกฤตมีหนี้เสียเกิดขึ้นรัฐบาลต้องเข้าไปรับภาระทุกครั้งไปซึ่งสุดท้าย ก็คือ เงินของประชาชนทั้งนั้น การที่แบงก์พาณิชย์กำไรลดลงบ้างเล็งน้อยก็ขอให้เสียสละเพื่อประเทศชาติบ้างที่ผ่านมาทำเสียหายมากแล้ว” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวว่า สำหรับกฎหมายอีก 3 ฉบับที่เหลือนั้น ทาง สบน.ยังไม่เห็นร่างกฎหมายที่ชัดเจนอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเรียกเข้าไปหารือในเชิงเทคนิค ว่า ทำได้หรือไม่หรือติดปัญหาที่จุดใด ซึ่งทาง สบน.ยืนยันว่า ทำได้โดยเฉพาะกฎหมายเยียวยาวงเงิน 3.5 แสนล้าน แต่ต้องมีโครงการที่ชัดเจนออกมาด้วยพร้อมกับร่างกฎหมายอย่างที่เคยทำมาในอดีต
“กฎหมายที่ออกเป็น พ.ร.ก.ทั้งหมดไม่ว่าฉบับใดเนื้อหาต้องเป็นเรื่องเร่งด่วนเท่านั้นซึ่งในอดีตก็เคยทำมาแล้วมาเงินกู้ไทยเข้มแข็งของรัฐบาลที่แล้ว รัฐบาลนี้จะทำก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งกรอบการใช้จ่ายเงินก็อยู่ภายในปี 2557 ในลักษณะที่คล้ายๆ กัน ส่วนขั้นตอนการกู้เมื่อ พ.ร.ก.ผ่านแล้วนั้น ก็คงเป็นการกู้ระยะสั้นตามเครื่องมือที่กระทรวงการคลังมีอยู่ก่อนแปลงเป็นหนี้ระยะยาวในภายหลัง” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว