ASTVผู้จัดการรายวัน - ก.ท่องเที่ยว ได้เฮ ครม.รับหลักการมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อเยียวยาวิกฤตอุทกภัย วงเงิน 5,000 ล้านบาท ด้วย 3 มาตรการหลัก ด้านวงเงิน ภาษี และความเชื่อมั่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวานนี้ (4 ม.ค.) ครม.เห็นชอบในหลักการตามที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอหลักการมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อเยียวยาวิกฤติอุทกภัย ดังนี้
1.มาตรการทางการเงิน ประกอบด้วย การจัดสรรวงเงินกู้ วงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในการปรับปรุงกิจการ และเสริมสภาพคล่องเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี ในวงเงินกู้รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท จัดสรรวงเงินกู้สำหรับลูกจ้างในสถานประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี วงเงินกู้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 2 ปี ตามโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ ยกเว้นการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เป็นระยะเวลา 6 เดือน และขอให้ประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนการว่างงานของพนักงาน จากเดิม 30% เป็น 50% เป็นเวลา 6 เดือน โดยชดเชยตามฐานเงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 15,000 บาท
2.มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียม ประกอบด้วย ยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซา สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย ระยะเวลา 1 ปี ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการขึ้นลง และที่จอดเครื่องบิน ระยะเวลา 1 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจโรงแรมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 ถึง 31 ธ.ค.2555 ลดหย่อนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมเหลือ 1.25 เท่าของเดือน ระยะเวลา 1 ปี ผู้ประกอบการสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงานในประเทศ และการจัดการท่องเที่ยวเป็นรางวัลในประเทศแก่พนักงาน ให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงค่าที่พักในโรงแรมที่มีใบอนุญาตถูกต้องตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 และค่าซื้อรายการนำเที่ยว แพกเกจทัวร์มาหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ให้บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นำค่าใช้จ่ายการจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เช่น ค่าเช่าพื้นที่จัดแสดง ค่าก่อสร้างสถานที่จัดแสดง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง มาหักภาษีได้ 2 เท่าของต้นทุนที่จ่ายจริง
ขยายระยะเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ในพื้นที่ของส่วนราชการ ซึ่งกำหนดไว้เพียง 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.54) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.57 เพื่อสร้างแรงจูงใจและลดภาระแก่คณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศจาก 7 หน่วยงานเดิม ยกเว้นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาให้แก่กลุ่มผุ้ประกอบการภาพยนตร์ต่างประเทศ คนไทยที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประสานงานถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย กับกรมการท่องเที่ยว ประเภทบุคคลและภาษีนิติบุคคลให้แก่ผู้ประสานงานประเภทนิติบุคคล ซึ่งมี 204 ราย เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีภาษี 2554-2556 ยกเลิกการเก็บค่าไฟฟ้าขั้นต่ำสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยโดยตรง ตั้งแต่เดือน ส.ค.-ธ.ค.54 โดยให้คิดค่าไฟฟ้าจากจำนวนที่ใช้จริง
3.มาตรการสร้างความเชื่อมั่น ประกอบด้วย ประกันภัยคุ้มครองชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย กรณีประสบสาธารณภัย และอุบัติภัย เป็นระยะเวลา 10 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.54-30 ก.ย.55 ภายในกรอบวงเงิน 513 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบกลางปีงบ 2555 เร่งดำเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ 4.มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ประกอบด้วย ให้ส่วนราชการปรับงบปี 55 มาใช้ในการจัดการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม และดูงานพื้นที่ประสบอุทกภัย ดำเนินการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ
ดำเนินการโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ จัดการฝึกอบรมฟื้นฟูผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ทั้งนี้ ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบ พ.ศ.2554 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น วงเงิน 513 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันภัยคุ้มครองชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย กรณีประสบสาธารณภัยและอุบัติภัย เป็นระยะเวลา 10 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.54-30 ก.ย.55
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวานนี้ (4 ม.ค.) ครม.เห็นชอบในหลักการตามที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอหลักการมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อเยียวยาวิกฤติอุทกภัย ดังนี้
1.มาตรการทางการเงิน ประกอบด้วย การจัดสรรวงเงินกู้ วงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในการปรับปรุงกิจการ และเสริมสภาพคล่องเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี ในวงเงินกู้รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท จัดสรรวงเงินกู้สำหรับลูกจ้างในสถานประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี วงเงินกู้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 2 ปี ตามโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ ยกเว้นการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เป็นระยะเวลา 6 เดือน และขอให้ประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนการว่างงานของพนักงาน จากเดิม 30% เป็น 50% เป็นเวลา 6 เดือน โดยชดเชยตามฐานเงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 15,000 บาท
2.มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียม ประกอบด้วย ยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซา สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย ระยะเวลา 1 ปี ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการขึ้นลง และที่จอดเครื่องบิน ระยะเวลา 1 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจโรงแรมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 ถึง 31 ธ.ค.2555 ลดหย่อนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมเหลือ 1.25 เท่าของเดือน ระยะเวลา 1 ปี ผู้ประกอบการสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงานในประเทศ และการจัดการท่องเที่ยวเป็นรางวัลในประเทศแก่พนักงาน ให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงค่าที่พักในโรงแรมที่มีใบอนุญาตถูกต้องตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 และค่าซื้อรายการนำเที่ยว แพกเกจทัวร์มาหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ให้บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นำค่าใช้จ่ายการจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เช่น ค่าเช่าพื้นที่จัดแสดง ค่าก่อสร้างสถานที่จัดแสดง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง มาหักภาษีได้ 2 เท่าของต้นทุนที่จ่ายจริง
ขยายระยะเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ในพื้นที่ของส่วนราชการ ซึ่งกำหนดไว้เพียง 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.54) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.57 เพื่อสร้างแรงจูงใจและลดภาระแก่คณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศจาก 7 หน่วยงานเดิม ยกเว้นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาให้แก่กลุ่มผุ้ประกอบการภาพยนตร์ต่างประเทศ คนไทยที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประสานงานถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย กับกรมการท่องเที่ยว ประเภทบุคคลและภาษีนิติบุคคลให้แก่ผู้ประสานงานประเภทนิติบุคคล ซึ่งมี 204 ราย เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีภาษี 2554-2556 ยกเลิกการเก็บค่าไฟฟ้าขั้นต่ำสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยโดยตรง ตั้งแต่เดือน ส.ค.-ธ.ค.54 โดยให้คิดค่าไฟฟ้าจากจำนวนที่ใช้จริง
3.มาตรการสร้างความเชื่อมั่น ประกอบด้วย ประกันภัยคุ้มครองชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย กรณีประสบสาธารณภัย และอุบัติภัย เป็นระยะเวลา 10 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.54-30 ก.ย.55 ภายในกรอบวงเงิน 513 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบกลางปีงบ 2555 เร่งดำเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ 4.มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ประกอบด้วย ให้ส่วนราชการปรับงบปี 55 มาใช้ในการจัดการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม และดูงานพื้นที่ประสบอุทกภัย ดำเนินการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ
ดำเนินการโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ จัดการฝึกอบรมฟื้นฟูผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ทั้งนี้ ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบ พ.ศ.2554 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น วงเงิน 513 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันภัยคุ้มครองชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย กรณีประสบสาธารณภัยและอุบัติภัย เป็นระยะเวลา 10 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.54-30 ก.ย.55