ม.หอการค้า เผยโพลสำรวจพฤติการณ์ผู้บริโภคช่วงปีใหม่ 2555 คาดเงินสะพัด 9.15 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นแค่ 2.78% ต่ำสุดในรอบ 6 ปี ประชาชนรัดเข็มขัด เก็บเงินซ่อมบ้าน งดท่องเที่ยว
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,113 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 13-19 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า การใช้จ่ายของประชาชนช่วงปีใหม่ทั่วประเทศ จะมีมูลค่าประมาณ 91,520.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลงจากปีใหม่ปี 2554 ที่มีมูลค่า 89,046.13 ล้านบาท ขยายตัว 10.5% และเป็นอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี ตั้งแต่จัดทำผลการสำรวจ ส่วนแหล่งที่มาของเงินใช้จ่าย ส่วนใหญ่ 57.8% มาจากเงินเดือนและรายได้ตามปกติ 32.5% เงินออม 4.9% โบนัสและรายได้พิเศษ และ 4.8% มาจากส่วนอื่นๆ
ทั้งนี้ พฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงปีใหม่ 2555 ส่วนใหญ่ 66.6% ตอบว่า จะใช้จ่ายเพื่อตนเองและผู้อื่น 31% ใช้จ่ายสำหรับตนเอง และ 2.4% ใช้จ่ายสำหรับผู้อื่น ส่วนการใช้จ่ายสำหรับตนเอง ส่วนใหญ่ 21.4% จะใช้สังสรรค์ จัดเลี้ยง รองลงมา 17% ทำบุญ และ 12.7% ซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเรือน เป็นต้น สำหรับของขวัญที่นิยมซื้อให้ผู้อื่น ส่วนใหญ่ 22.2% เป็นกระเช้า 17% รับประทานอาหาร และ 10.9% ซื้อการ์ดอวยพร
นางเสาวนีย์ กล่าวว่า เมื่อถามถึงปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา มีผลต่อการใช้จ่ายช่วงปีใหม่หรือไม่ ส่วนใหญ่ 33.7% ตอบว่า มาก 26.1% ปานกลาง 22.5% ไม่มีผลเลย และ 17.8% น้อย เมื่อแบ่งรายภาค พบว่าภาคที่ตอบว่ากระทบมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย 53.2% ตอบว่ากระทบมาก 21% ปานกลาง 15.8% น้อย และ 9.9% ไม่มีผลเลย
สำหรับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชาชนในช่วงปีใหม่ เปรียบเทียบการวางแผนออกนอกพื้นที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ก่อนและหลังเกิดน้ำท่วม พบว่า ก่อนเกิดน้ำท่วม ส่วนใหญ่ 50.2% ไม่มี และ 49.8% มี ส่วนหลังเกิดน้ำท่วม 71.1% ไม่มี และ 28.9% มี
เมื่อเปรียบเทียบการท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศ ปี 2555 ส่วนใหญ่ 97.7% ในประเทศ และ 2.3% ต่างประเทศ ขณะที่ปี 2554 ส่วนใหญ่ 86.1% ในประเทศ และ 13.9% ต่างประเทศ โดยการวางแผนเดินทางไปท่องเที่ยว จะอยู่ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.2554 กลับ 2 ม.ค.2555 ไปต่างจังหวัด 4 วัน ส่วนใหญ่ 51.5% เดินทางด้วยรถยนต์ 16.7% รถทัวร์ 12.1% รถ บขส.
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าความรู้สึกของประชาชนทั่วไปเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะซึมตัว แม้มูลค่าการใช้จ่ายปีใหม่ปีนี้จะสูงขึ้น แต่เป็นอัตราชะลอตัวลง โดยต่ำสุดในรอบ 6 ปี จากที่เคยทำการสำรวจมา และต่ำกว่าช่วงปี 2552 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ โดยพฤติกรรมใช้จ่าย แม้จำนวนและมูลค่าการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้เกิดจากความคึกคักการใช้จ่าย เป็นการเพิ่มขึ้น เพราะสินค้าราคาแพงขึ้น จึงเป็นที่มาว่าประชาชนอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาสินค้าแพงเป็นอันดับหนึ่ง
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,113 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 13-19 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า การใช้จ่ายของประชาชนช่วงปีใหม่ทั่วประเทศ จะมีมูลค่าประมาณ 91,520.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลงจากปีใหม่ปี 2554 ที่มีมูลค่า 89,046.13 ล้านบาท ขยายตัว 10.5% และเป็นอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี ตั้งแต่จัดทำผลการสำรวจ ส่วนแหล่งที่มาของเงินใช้จ่าย ส่วนใหญ่ 57.8% มาจากเงินเดือนและรายได้ตามปกติ 32.5% เงินออม 4.9% โบนัสและรายได้พิเศษ และ 4.8% มาจากส่วนอื่นๆ
ทั้งนี้ พฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงปีใหม่ 2555 ส่วนใหญ่ 66.6% ตอบว่า จะใช้จ่ายเพื่อตนเองและผู้อื่น 31% ใช้จ่ายสำหรับตนเอง และ 2.4% ใช้จ่ายสำหรับผู้อื่น ส่วนการใช้จ่ายสำหรับตนเอง ส่วนใหญ่ 21.4% จะใช้สังสรรค์ จัดเลี้ยง รองลงมา 17% ทำบุญ และ 12.7% ซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเรือน เป็นต้น สำหรับของขวัญที่นิยมซื้อให้ผู้อื่น ส่วนใหญ่ 22.2% เป็นกระเช้า 17% รับประทานอาหาร และ 10.9% ซื้อการ์ดอวยพร
นางเสาวนีย์ กล่าวว่า เมื่อถามถึงปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา มีผลต่อการใช้จ่ายช่วงปีใหม่หรือไม่ ส่วนใหญ่ 33.7% ตอบว่า มาก 26.1% ปานกลาง 22.5% ไม่มีผลเลย และ 17.8% น้อย เมื่อแบ่งรายภาค พบว่าภาคที่ตอบว่ากระทบมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย 53.2% ตอบว่ากระทบมาก 21% ปานกลาง 15.8% น้อย และ 9.9% ไม่มีผลเลย
สำหรับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชาชนในช่วงปีใหม่ เปรียบเทียบการวางแผนออกนอกพื้นที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ก่อนและหลังเกิดน้ำท่วม พบว่า ก่อนเกิดน้ำท่วม ส่วนใหญ่ 50.2% ไม่มี และ 49.8% มี ส่วนหลังเกิดน้ำท่วม 71.1% ไม่มี และ 28.9% มี
เมื่อเปรียบเทียบการท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศ ปี 2555 ส่วนใหญ่ 97.7% ในประเทศ และ 2.3% ต่างประเทศ ขณะที่ปี 2554 ส่วนใหญ่ 86.1% ในประเทศ และ 13.9% ต่างประเทศ โดยการวางแผนเดินทางไปท่องเที่ยว จะอยู่ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.2554 กลับ 2 ม.ค.2555 ไปต่างจังหวัด 4 วัน ส่วนใหญ่ 51.5% เดินทางด้วยรถยนต์ 16.7% รถทัวร์ 12.1% รถ บขส.
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าความรู้สึกของประชาชนทั่วไปเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะซึมตัว แม้มูลค่าการใช้จ่ายปีใหม่ปีนี้จะสูงขึ้น แต่เป็นอัตราชะลอตัวลง โดยต่ำสุดในรอบ 6 ปี จากที่เคยทำการสำรวจมา และต่ำกว่าช่วงปี 2552 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ โดยพฤติกรรมใช้จ่าย แม้จำนวนและมูลค่าการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้เกิดจากความคึกคักการใช้จ่าย เป็นการเพิ่มขึ้น เพราะสินค้าราคาแพงขึ้น จึงเป็นที่มาว่าประชาชนอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาสินค้าแพงเป็นอันดับหนึ่ง