xs
xsm
sm
md
lg

CTF ชู SPCG ปฐมบท “พลังงานแสงอาทิตย์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


CTF ชู SPCG ปฐมบท “พลังงานแสงอาทิตย์” ผู้นำ-พลังงานทดแทน สรรหาพลังงานสะอาด-จรรโลงโลก โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 34 โครงการ ของ บริษัท SPCG กระจายกันอยู่เกือบทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ โคราช, สกลนคร, นครพนม, เลย, ขอนแก่น, สุรินทร์, บุรีรัมย์, หนองคาย และอุดรธานี ในจำนวนโครงการเหล่ามี 3 แห่งที่จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้กับ กฟภ.แล้ว

เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ “เอกชนไทย” ได้รับการยกย่องจาก ธนาคารโลก (World Bank) โดย กองทุนเพื่อเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology Fund) หรือ CTF ยกให้เป็น “ผู้นำ” ด้านการพัฒนาโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์” ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยการจัดสินเชื่อการเงิน ในรูปสินเชื่อลูกหนี้ โครงการ (debt project financing) ให้กับ โครงการของ บริษัท โซล่าร์ เพาเว่อร์ จำกัด (Solar Power Company) ที่มี บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่ ถือได้ว่า เป็น “ก้าวแรก” ที่สำคัญมากกับสัมพันธภาพหุ้นส่วนธุรกิจแบบนี้ นอกจากนั้นยังถือเป็น “โครงการแรก” ที่ประเทศไทยได้มีโอกาสได้ใช้บริการสินเชื่อของ กองทุนเพื่อเทคโนโลยี่สะอาด และเป็น “ผู้นำ” แห่งภูมิภาคอาเซียน

โดยเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการเซ็นสัญญาปล่อยกู้ ระหว่าง กองทุน Clean Technology Fund (CTF) เป็นกองทุน multi-donor ... Finance Corporation หรือ IFC ร่วมกับพันธมิตรกับธนาคารไทย 3 แห่ง คือ กสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา และธนชาติ ในการร่วมลงนามปล่อยกู้ 890 ล้านบาท ให้กับ คุณวันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) และ ผู้จัดการ บริษัท โซล่าร์ เพาเว่อร์ จำกัด เพื่อนำไปพัฒนาโครงการโซล่าฟาร์ม 2 แห่ง คือ โคราช 2 และ เลย 1
โดยที่ ธนาคารกสิกรไทย ปล่อยกู้ 210 ล้านบาท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 158 ล้านบาท ธนาคารธนชาติ 158 ล้านบาท และบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ 244 ล้านบาท และ CTF จำนวน 120 ล้านบาท

นายเซอร์จิโอ พรีเมนต้า ในฐานะ ผู้อำนวยการฝ่ายภาคพื้นแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (Mr. Sergio Pimenta, Director, East Asia & Pacific, IFC ) ที่บินมาร่วมเป็นสักขีพยานการเซ็นสัญญาครั้งนี้ ได้แสดงทัศนะต่อ “ความสำเร็จ” การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้อย่างน่าสนใจ โดยยกให้ บ.โซล่าร์เพาเวอร์ จำกัด หรือ SPC เป็น “ผู้นำ” หรือ บริษัทในระดับแนวหน้าที่สุดของประเทศไทยด้านพลังงานทดแทน

ทั้งนี้ IFC นั้น เป็นวิสาหกิจสมาชิกองค์กรหนึ่งของกลุ่มเครือธุรกิจของ “ธนาคารโลก” ที่ให้บริการ ด้านการลงทุน ตลอดจนบริการคำปรึกษาต่างๆ เพื่อช่วยส่งเสริมภาคเอกชน ให้สามารถพัฒนา ธุรกิจและตลาดที่กำลังเติบโตใหม่ๆได้ จุดมุ่งหมาย โดยมีเป้าประสงค์เพื่อ สร้างโอกาสให้ประชาชน สามารถพัฒนายกระดับความเป็นอยู่ของเขาให้ดีขึ้น ได้ด้วยตัวเอง

นายเซอร์จิโอ บอกว่า ปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่รับรู้กันโดยทั่วแล้วว่า การพัฒนาภาคเอกชนนั้น เป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่จะสามารถสร้างและขยายการจ้างงาน ตลอดจนช่วยจัดหา และส่งมอบบริการสาธารณะ ที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่ประชาชนได้ เพื่อให้เขาสามารถยกระดับความเป็นอยู่ และก้าวพ้นความยากจนได้ อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาการแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โลกได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการช่วยเหลือจัดหาสินเชื่อการเงิน ให้กับ บริษัท โซล่าร์เพาเว่อร์ ถือว่า เป็น “บทนำ” หรือ “ปฐมบท” การทำงานหลายด้านด้วยกัน

พร้อมกันนี้ นายเซอร์จิโอ ยอมรับว่า เป็นครั้งแรก ที่ IFC ได้จัดสินเชื่อการเงิน ในรูปสินเชื่อลูกหนี้ โครงการ (debt project financing) ให้กับ โครงการของ บริษัท โซล่าร์ เพาเว่อร์ จำกัด ถือได้ว่า เป็นก้าวย่าง ก้าวแรกที่สำคัญมาก สำหรับสัมพันธภาพหุ้นส่วนธุรกิจแบบนี้ของ IFC นอกจากนั้น ก็เป็นครั้งแรก ที่ ประเทศไทยได้มีโอกาส ได้ใช้บริการสินเชื่อของ กองทุนเพื่อเทคโนโลยีสะอาด

กองทุนเพื่อเทคโนโลยีสะอาด หรือ CTF เป็นองค์กรบริการสินเชื่อการเงิน ที่มาจากการรวมตัวของ องค์กรให้ทุนช่วยเหลือ หลายแห่งด้วยกัน โดยมีเงิน กองทุนกว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่าประมาณ 125,000 ล้านบาทไทย ไว้สำหรับให้บริการสินเชื่อ ซึ่งเงินดังกล่าว ได้รับสมทบช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ อาทิ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ

กองทุน CTF มีไว้เพื่อให้บริการสินเชื่อการเงิน แก่งานที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำคัญฯ แต่สามารถหันกลับมาใช้ เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำได้ และมีศักยภาพในอันที่จะขยาย ขนาด และขอบเขตเทคโนโลยีออกไปได้ รวมทั้งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอดต่อกันไปได้

อย่างไรก็ตาม กองทุน CTF ได้ให้การสนับสนุน การลงทุน ที่เกี่ยวพันกับการ ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน ในประเทศ เม็กซิโก และตุรกี และประเทศอื่นๆ อีกหลายแห่ง ดังนั้นเราจึงยินดีมากที่กองทุนฯได้นำประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างอุดมนั้น มาช่วยเหลือ แปรรูปตลาดพลังงานทดแทนของไทยให้คึกคักยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ นายเซอร์จิโอ ยังยกให้โครงการนี้ เป็นบทเรียนใหม่ อีกบทหนึ่ง ในความผูกพัน และ มุ่งมั่นขอเรา ที่มีต่อประเทศไทย ในอันที่จะจัดการปัญหา การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ร่วมกับธนาคารท้องถิ่นต่างๆ ในประเทศ

โดยที่งานศึกษาวิจัยของเราหลายชิ้น ล้วนแสดงให้เห็นว่า บรรดาธนาคารต่างๆ ที่บูรณาการ ความสนใจในด้าน ปัญหาทางสังคม เข้ากับปัญหาทางสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาทางธรรมาภิบาล ไว้ในภาพเดียวกัน จะมีภาษีเหนือกว่า และได้เปรียบมากกว่า คู่แข่งอื่นๆในความ สามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจขณะเดียวกันการที่จะช่วยให้ธนาคารต่างๆ สามารถได้ประโยชน์ดังกล่าวได้ จึงควรส่งเสริมให้ธนาคารต่างๆ นำหลักการ อีเควเตอร์ (Equator Priciples) มานำทางการประกอบการทางธุรกิจ

หลักการ อีเควเตอร์ นั้นวางอยู่บนพื้นฐาน ที่ได้จากเกณฑ์มาตรฐาน ผลปฏิบัติงานของ IFC ทาง ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม หลักการอีเควเตอร์นั้น เป็นเกณฑ์แนวทางการทำงาน แบบสมัครใจ ที่ช่วยให้ธนาคาร อาทิ ธนาคาร HSBC, ธนาคาร Standard Chartered, และ ธนาคาร Citi Group - ยอมรับ เครื่องมือการประเมินภาวะเสี่ยง ทางด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม ที่ดีและเหมาะสมไปใช้ ในการดำเนินธุรกิจ การปล่อยกู้เงินของต้นและขณะนี้ เกณฑ์ผลการทำงานต่างๆ เหล่านี้ ได้กลายเป็นบรรทัดฐานการทำงานระดับโลกไปแล้ว โดยสถาบันการเงิน 72 แห่ง ใน 27 ประเทศทั้งหมดทั่วโลก ได้สมัครใจรับเกณฑ์เหล่านั้นไปใช้ทำงานแล้ว โดยรวมแล้วธุรกรรมของบรรดาสถาบันการเงินเหล่านั้น มีสัดส่วนถึง ร้อยละ 70 ของการจัดสรรสินเชื่อการเงิน ของหนี้สินระหว่างประเทศทั้งหมดทั่วโลก ในหมู่ประเทศ เศรษฐกิจ ที่กำลังเติบใหญ่ต่างๆ (emerging markets) ในโลก

อย่างไรก็ตาม นายเซอร์จิโอ คาดว่า เมื่อธนาคารต่างๆ ในไทย เริ่ม ตระหนัก และยอมรับ ความสำคัญของปัญหาการแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิโลกกันมากขึ้น รวมทั้งหันมาให้การสนับสนุนช่วยเหลือบรรษัทอย่างๆ บ. SPC ธนาคาร และบริษัทต่างๆ ก็จะหันมายอมรับ และนำหลักการอีเควเตอร์ (Equator Priciples) ไปใช้กันมากขึ้น

“โครงการที่เรากำลังทำพิธีลงนามกันในวันนี้ คือหัวใจ และแก่นสำคัญของงานที่ IFC กำลังทำอยู่ขณะนี้ โครงการเช่นนี้ ให้การสนับสนุน การเจริญเติบโต ของบริษัทที่ประสบ ความสำเร็จ และมีความเข้มแข็ง ซึ่งมีศักยภาพ ที่จะเติบโตอย่างมาก ทางด้านพลังงานทดแทน นอกจากนั้น โครงการแบบนี้ ยังเป็นโอกาส ที่จะให้ส่งเสริม การเจริญเติบโตร่วมกัน (inclusive growth) ของบรรดา (ฟาร์ม) หรือไร่สนามพลังงานแสงอาทิตย์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็จะอยู่แถวพื้นที่ส่วนภูมิภาคเป็นหลัก และท้ายที่สุด โครงการเช่นนี้ จะเป็นตัวที่จะช่วยแสดงให้บรรดานักลงทุน ที่กำลังมองหา ช่องทางการลงทุน ที่จะให้ผลตอบแทนการลงทุน อย่างมีมูลค่า เป็นล่ำเป็นสัน สำหรับโครงการลงทุน ของภาคเอกชน ทางด้านพลังงานทดแทนต่างๆ

และด้วยการช่วยเหลือ บริษัท โซล่าร์เพาเวอร์ เช่นนี้ เรารู้สึกภูมิใจ ที่ได้ช่วยจัดสรรเงินสินเชื่อ ในรูปการลงทุน ร่วมทุน (equity investment) เป็นจำนวน 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ระยะต้นๆ ของการพัฒนาโตรงการนี้ เพื่อช่วยในการ จัดตั้ง และก่อสร้าง (ฟาร์ม) หรือ ไร่สนามพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 6 เมกกะวัตต์ 3 แห่งแรกนี้ ซึ่งขณะนี้ทั้ง 3 แห่งนี้ ได้เริ่มเปิดดำเนินการหมดแล้ว

ต้องถือว่า ขณะนี้ บ.SPC แห่งนี้ เป็นผู้พัฒนา (ฟาร์ม) หรือ ไร่สนามพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มี ประสิทธิภาพที่สุดอันหนึ่ง การลงนามข้อตกลงครั้งนี้ เพื่อเป็นการยืนยันการสนับสนุนทางการเงิน ต่อไปในอนาคต ให้แก่ บ. SPC จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถขยายผล และพัฒนาใบอนุญาตประกอบการ (ฟาร์ม) หรือ ไร่สนามพลังงานแงอาทิตย์ ออกไปสู่ เรื่องอื่นๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามแผนงานต่อไป

นายเซอร์จิโอ คาดหวังว่า แผนการสนับสนุนในระยะไกลข้างหน้าอย่างนี้ รวมทั้ง ประวัติผลการทำงาน ที่ดีของ บ.SPC แห่งนี้ จะช่วยแสดงให้บรรดานักลงทุนต่างๆ เห็นว่า โครงการทางด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพวกโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กต่างๆ ที่พัฒนากันขึ้นมา ภายใต้แผนงานผลิต พลังงานทางเลือกของรัฐบาลนั้น มีความยั่งยืนได้ และมีอนาคต ดังนั้นจึงควรได้รับการสนับสนุนช่วยเหลื่อ กันอย่างกว้างขวางต่อไป

“และด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้ไทย มีการพัฒนาสาขาอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกอย่างกว้างขวางเช่นนี้ เราจึงได้ให้การสนับสนุน ความพยายามของรัฐบาลที่จะทำให้ประเทศไทย ได้ยืนผงาด อย่างแข็งขัน ในเส้นทางการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ทางด้านสิ่งแวดล้อมและทางสังคม” นายเซอร์จิโอกล่าวทิ้งท้ายนับเป็นทัศนะน่าสนใจของกองทุน CTF Fund ภายใต้การจัดตั้งของธนาคารโลก ผ่านมาทาง นายเซอร์จิโอ พรีเมนต้า ประกาศจะสนับสนุนการพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดของประเทศไทย

ขณะที่ “ซีอีโอหญิง” คุณวันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) และ ผู้จัดการ บริษัท โซล่าร์ เพาเวอร์ จำกัด บอกเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่หน่วยงานระดับโลกให้การยอมรับเอกชนไทย และเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรฯในการพัฒนาโครงการ “โซล่าฟาร์ม” โดยโครงการตามแผนของ SPCG มีแผนที่จะพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ (large commercial scale) โครงการละ 6 เมกกะวัตต์ ทั้งหมด 34 โครงการ รวมกำลังการผลิตรวม 204 เมกกะวัตต์ ซึ่งจะพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในปี 2556 โดยโครงการทั้งหมดได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดหวังว่าในอนาคตบริษัท SPCG จะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ในส่วนของ “ธนาคารกสิกรไทย” ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น “ผู้จัดการเงินกู้” ให้แก่กลุ่มเอสพีซีจี นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย ยอมรับว่า เป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่การพัฒนาหาพลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือได้ว่า SPCG เป็นเบอร์ 1 ด้านการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็น “โครงการแห่งแรกในประเทศไทย” ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน CTF Fund กองทุนนานาชาติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพลังงานสะอาดและการลดโลกร้อน

“ผมชื่นชมโครงการของกลุ่ม SPCG เป็นโครงการแรกที่ผ่านมาตรฐาน IFC เป็นผู้นำเบอร์ 1 ที่นำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าประเทศไทย เป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้านพลังงานสะอาด”นายกฤษฎากล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 34 โครงการ ของ บริษัท SPCG กระจายกันอยู่เกือบทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ โคราช 1-9, สกลนคร 1-2, นครพนม 1-3, เลย 1-2, ขอนแก่น 1-10, สุรินทร์ 1-3, บุรีรัมย์ 1-3, หนองคาย 1 และอุดรธานี 1 กำลังผลิตติดตั้งแห่งละ 6 เมกะวัตต์ ภายใต้ชื่อบริษัทย่อยโซล่า เพาเวอร์ เหมือนกันหมด ในจำนวนโครงการเหล่ามี 3 แห่งที่จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้กับ กฟภ.แล้ว ประกอบไปด้วย โคราช 1, สกลนคร 1 และ นครพนม 1 ขณะที่อีก 2 แห่ง ได้แก่ โคราช 2 และ เลย 1 กำลังก้าวเดินตาม 3 โครงการแรกอย่างเต็มรูปแบบ

กำลังโหลดความคิดเห็น