เวิลด์แบงก์ ชู “โซลาร์ฟาร์มไทย” ปฐมบทผู้นำโลกด้านใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า ชมโครงการช่วยลดปัญหาภูมิอากาศโลก ลดสร้างภาวะเรือนกระจก เตรียมให้ทุนพร้อมหนุนขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดระดับโลก “แบงก์กสิกร” พร้อมจับมือ 3 แบงก์ไทย และ IFC ปล่อยกู้ 890 ล้าน สร้างเพิ่มอีก 2 โครงการ ขณะที่ “CEO” สุดปลื้มเตรียมดันต่อให้ครบ 34 โครงการ มุ่งเป้าเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในโลก
วันนี้ (7 ต.ค.) ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับ ไอเอฟซี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาต ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนด้วยการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้า ของกลุ่มบริษัท เอสพีซีจี โดยปล่อยกู้โครงการโซลาร์ฟาร์มเพิ่มอีก 2 แห่ง มูลค่ารวม 890 ล้านบาท ภายใต้การสนับสนุนจาก กองทุน Clean Technology Fund (CTF) ของธนาคารโลก (World Bank) ถือเป็นโครงการแรกของประเทศไทย
นายเซอร์จิโอ พรีเมนต้า ผู้อำนวยการฝ่ายภาคพื้นแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (Mr.Sergio Pimenta, Director, East Asia & Pacific, IFC) กล่าวถึงกองทุน CTF ว่า เป็นกองทุนที่สนับสนุนด้านการเงินสำหรับโครงการที่ช่วยในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนเพื่อการลงทุนด้านภูมิอากาศ (Climate Investment Fund: CIF) ซึ่งก่อตั้งโดยธนาคารโลก (World Bank) ร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนที่ช่วยลดและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนเงินกู้ของกองทุน CTF นั้นจะเป็นเงินกู้ระยะยาว และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่พิเศษ ซึ่งจะสามารถช่วยบริษัทลดต้นทุนทางการเงินได้อย่างมาก โครงการนี้ถือเป็นโครงการแรกของประเทศไทยที่ CTF ให้การสนับสนุน
“ถือเป็นปฐมบทของงานหลายๆ ด้าน และเป็นการจัดอันดับการให้สินเชื่อครั้งแรกของ CTF ที่ให้กับโครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นบทใหญ่ที่ CTF จะผูกพันร่วมมือและมุ่งมั่นช่วยให้ประเทศไทยเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงภูมิภาคโลก ในการสร้างงานในชนบท การใช้พลังงานสะอาด ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจะใช้สนับสนุนให้เอสพีซีจีเป็นผู้นำด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพ” นายเซอร์จิโอ กล่าว
ด้าน นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นโครงการแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน CTF ซึ่งเป็นกองทุนนานาชาติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพลังงานสะอาดและการลดโลกร้อน โดยธนาคารกสิกรไทยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการเงินกู้ให้แก่กลุ่มเอสพีซีจี โดยร่วมกับบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ หรือ IFC ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาต สนับสนุนทางการเงินกลุ่มเอสพีซีจี จำนวนเงินรวม 890 ล้านบาท แบ่งเป็น ธนาคารกสิกรไทย 210 ล้านบาท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 158 ล้านบาท ธนาคารธนชาต 158 ล้านบาท และบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ 244 ล้านบาท และ CTF Fund จำนวน 120 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มโคราช 2 และ เลย กำลังผลิตแห่งละ 6 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้แก่ กฟภ.ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทย ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ฝั่งธนาคารพาณิชย์ และตัวแทนหลักประกัน ให้มีหน้าที่ให้บริการวงเงินอื่นๆ เช่น การเปิดเอกสาร Letter of Credit ในการนำเข้าแผงพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงวงเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
“เอสพีซีจีนับเป็นโครงการแรกที่ผ่านมาตรฐาน IFC เป็นผู้นำเบอร์ 1 ที่นำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าประเทศไทย ผมภูมิใจแทนคนไทยที่ IFC ยกให้ผู้นำ เป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้านพลังงานสะอาด ที่นำความสำเร็จมาสู่ประเทศไทย” นายกฤษฎา กล่าว
ขณะที่ น.ส.วันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการโซลาร์ฟาร์มโคราช 2 และ เลย 1 ซึ่งมีกำลังการผลิตแห่งละขนาด 6 เมกะวัตต์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Polycrystalline ที่ผลิตโดยกลุ่มบริษัท เคียวเซร่า จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์หลักในอุตสาหกรรม ขณะที่ปัจจุบันกลุ่มเอสพีซีจี มีโครงการโซลาร์ฟาร์มแล้ว 5 โครงการ ที่โคราช 1 สกลนคร และนครพนม 1 และอีก 2 โครงการข้างต้น คือ โซลาร์ฟาร์มโคราช 2 และ เลย 1 มีกำลังผลิตรวม 30 เมกะวัตต์ และได้เชื่อมต่อขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้ง 5 โครงการ เป็นโครงการตามแผนพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มเอสพีซีจีที่จะพัฒนาโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ (large commercial scale) 6 เมกะวัตต์ ทั้งหมด 34 โครงการ รวมกำลังการผลิตรวม 204 เมกะวัตต์ ซึ่งจะพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในปี 2556 โดยทางบริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ.เป็นที่เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว และในอนาคตบริษัทจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
วันนี้ (7 ต.ค.) ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับ ไอเอฟซี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาต ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนด้วยการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้า ของกลุ่มบริษัท เอสพีซีจี โดยปล่อยกู้โครงการโซลาร์ฟาร์มเพิ่มอีก 2 แห่ง มูลค่ารวม 890 ล้านบาท ภายใต้การสนับสนุนจาก กองทุน Clean Technology Fund (CTF) ของธนาคารโลก (World Bank) ถือเป็นโครงการแรกของประเทศไทย
นายเซอร์จิโอ พรีเมนต้า ผู้อำนวยการฝ่ายภาคพื้นแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (Mr.Sergio Pimenta, Director, East Asia & Pacific, IFC) กล่าวถึงกองทุน CTF ว่า เป็นกองทุนที่สนับสนุนด้านการเงินสำหรับโครงการที่ช่วยในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนเพื่อการลงทุนด้านภูมิอากาศ (Climate Investment Fund: CIF) ซึ่งก่อตั้งโดยธนาคารโลก (World Bank) ร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนที่ช่วยลดและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนเงินกู้ของกองทุน CTF นั้นจะเป็นเงินกู้ระยะยาว และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่พิเศษ ซึ่งจะสามารถช่วยบริษัทลดต้นทุนทางการเงินได้อย่างมาก โครงการนี้ถือเป็นโครงการแรกของประเทศไทยที่ CTF ให้การสนับสนุน
“ถือเป็นปฐมบทของงานหลายๆ ด้าน และเป็นการจัดอันดับการให้สินเชื่อครั้งแรกของ CTF ที่ให้กับโครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นบทใหญ่ที่ CTF จะผูกพันร่วมมือและมุ่งมั่นช่วยให้ประเทศไทยเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงภูมิภาคโลก ในการสร้างงานในชนบท การใช้พลังงานสะอาด ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจะใช้สนับสนุนให้เอสพีซีจีเป็นผู้นำด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพ” นายเซอร์จิโอ กล่าว
ด้าน นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นโครงการแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน CTF ซึ่งเป็นกองทุนนานาชาติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมพลังงานสะอาดและการลดโลกร้อน โดยธนาคารกสิกรไทยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการเงินกู้ให้แก่กลุ่มเอสพีซีจี โดยร่วมกับบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ หรือ IFC ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาต สนับสนุนทางการเงินกลุ่มเอสพีซีจี จำนวนเงินรวม 890 ล้านบาท แบ่งเป็น ธนาคารกสิกรไทย 210 ล้านบาท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 158 ล้านบาท ธนาคารธนชาต 158 ล้านบาท และบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ 244 ล้านบาท และ CTF Fund จำนวน 120 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มโคราช 2 และ เลย กำลังผลิตแห่งละ 6 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้แก่ กฟภ.ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทย ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ฝั่งธนาคารพาณิชย์ และตัวแทนหลักประกัน ให้มีหน้าที่ให้บริการวงเงินอื่นๆ เช่น การเปิดเอกสาร Letter of Credit ในการนำเข้าแผงพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงวงเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
“เอสพีซีจีนับเป็นโครงการแรกที่ผ่านมาตรฐาน IFC เป็นผู้นำเบอร์ 1 ที่นำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าประเทศไทย ผมภูมิใจแทนคนไทยที่ IFC ยกให้ผู้นำ เป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้านพลังงานสะอาด ที่นำความสำเร็จมาสู่ประเทศไทย” นายกฤษฎา กล่าว
ขณะที่ น.ส.วันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการโซลาร์ฟาร์มโคราช 2 และ เลย 1 ซึ่งมีกำลังการผลิตแห่งละขนาด 6 เมกะวัตต์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Polycrystalline ที่ผลิตโดยกลุ่มบริษัท เคียวเซร่า จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์หลักในอุตสาหกรรม ขณะที่ปัจจุบันกลุ่มเอสพีซีจี มีโครงการโซลาร์ฟาร์มแล้ว 5 โครงการ ที่โคราช 1 สกลนคร และนครพนม 1 และอีก 2 โครงการข้างต้น คือ โซลาร์ฟาร์มโคราช 2 และ เลย 1 มีกำลังผลิตรวม 30 เมกะวัตต์ และได้เชื่อมต่อขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้ง 5 โครงการ เป็นโครงการตามแผนพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มเอสพีซีจีที่จะพัฒนาโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ (large commercial scale) 6 เมกะวัตต์ ทั้งหมด 34 โครงการ รวมกำลังการผลิตรวม 204 เมกะวัตต์ ซึ่งจะพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในปี 2556 โดยทางบริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ.เป็นที่เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว และในอนาคตบริษัทจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก