บ.เอสพีซีจี เตรียมขยายการตลาด หลังธุรกิจพลังงานสะอาดเติบโต วางเป้าขายไฟฟ้าให้กฟภ.ปลายเดือนนี้ พร้อมเพิ่มหุ้น 340 ล้านหุ้น
น.ส.วันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า หลังจากโครงการโซล่าฟาร์มโคราช 1 สกลนคร 1และ นครพนม 1 จำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ได้แล้วตามสัญญา โครงการโซล่าฟาร์มโคราช 2 และโซล่าฟาร์มเลย 1 จะเริ่มขายไฟฟ้าให้ กฟภ.ได้ภายในปลายเดือน ก.ย. 2554 นี้ โดยใช้งบประมาณโครงการละ 650 ล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ของบริษัทฯ ถือว่าเป็นโครงการพลังงานทางเลือก ที่เดินหน้าไปได้ด้วยดี จนทางคณะกรรมการบริษัทฯ จึงมีมติให้เพิ่มหุ้น 340 หุ้น ทางบริษัทฯ จะแบ่งหุ้นไว้จำนวน 60 ล้านหุ้นเพื่อเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป และอีก 280 ล้านหุ้นเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่สามารถเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญโดยไม่ต้องจ่าย เงินเพิ่ม คาดว่า จะสรุปราคาหุ้นและจำหน่ายได้ในปลายเดือน พ.ย. 2554 โดยโครงการโซล่าฟาร์มโคราช 2 และโซล่าฟาร์มเลย 1 จะแบ่งเป็นในส่วนของบริษัท เอสพีซีจี โครงการละ189 ล้านบาท บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกกับธนาคารโลกอีกโครงการละ198 ล้านบาท และส่วนที่เหลือเป็นของธนาคารกสิกรไทย ธนาคารธนชาติ ธนาคารกรุงศรีฯ อีกโครงการละ 263 ล้านบาท สำหรับ ผลประกอบการในครึ่งปีแรกทางบริษัทมีรายได้อยู่ที่ 206 ล้านบาท คาดว่ารายได้ตอนสิ้นปีจะเพิ่มขึ้นไปถึง 600-700ล้านบาท จากสิ้นปี 53 บริษัทมีรายได้เพียง 395ล้านบาท และรายได้ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นจะมาจากโซล่าฟาร์มทั้ง 5แห่ง ซึ่งจะทำให้การขาดทุนในครึ่งปีแรกที่มีอยู่ 18 ล้านบาทหมดไป
ทั้งนี้ น.ส.วันดี ยังได้เปิดเผยภายหลังไปชี้แจงผลประกอบการของบริษัทเอสพีซีจีในรอบ6 เดือนของปี 2554 ให้กับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจร่วมทุน โดยมีแผนลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ภาคอีสาน34 โครงการ รวมกำลังผลิต 205 เมกะวัตต์ ด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 24,000 ล้านบาท โดยจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี2556 ซึ่งโครงการทั้งหมดมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) โดยเน้นลงทุนในภาคอีสานซึ่งมีความเข้มข้นของรังสีจากแสงอาทิตย์สูง ได้แก่ 1.จ.นครราชสีมา 9 แห่ง กำลังผลิต 54 เมกะวัตต์ 2.จ.ขอนแก่น 10 แห่ง กำลังผลิต 60 เมกะวัตต์ 3.จ.บุรีรัมย์ 3แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ 4.จ.สุรินทร์ 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ จ.นครพนม 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ 6.จ.สกลนคร 2 แห่ง กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ 7.จ.ร้อยเอ็ด 2แห่ง กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ 8. จ.หนองคาย 1 แห่ง กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ และ 9. จ.อุดรธานี 1 แห่ง กำลังผลิต 6เมกะวัตต์
น.ส.วันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า หลังจากโครงการโซล่าฟาร์มโคราช 1 สกลนคร 1และ นครพนม 1 จำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ได้แล้วตามสัญญา โครงการโซล่าฟาร์มโคราช 2 และโซล่าฟาร์มเลย 1 จะเริ่มขายไฟฟ้าให้ กฟภ.ได้ภายในปลายเดือน ก.ย. 2554 นี้ โดยใช้งบประมาณโครงการละ 650 ล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ของบริษัทฯ ถือว่าเป็นโครงการพลังงานทางเลือก ที่เดินหน้าไปได้ด้วยดี จนทางคณะกรรมการบริษัทฯ จึงมีมติให้เพิ่มหุ้น 340 หุ้น ทางบริษัทฯ จะแบ่งหุ้นไว้จำนวน 60 ล้านหุ้นเพื่อเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป และอีก 280 ล้านหุ้นเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่สามารถเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญโดยไม่ต้องจ่าย เงินเพิ่ม คาดว่า จะสรุปราคาหุ้นและจำหน่ายได้ในปลายเดือน พ.ย. 2554 โดยโครงการโซล่าฟาร์มโคราช 2 และโซล่าฟาร์มเลย 1 จะแบ่งเป็นในส่วนของบริษัท เอสพีซีจี โครงการละ189 ล้านบาท บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกกับธนาคารโลกอีกโครงการละ198 ล้านบาท และส่วนที่เหลือเป็นของธนาคารกสิกรไทย ธนาคารธนชาติ ธนาคารกรุงศรีฯ อีกโครงการละ 263 ล้านบาท สำหรับ ผลประกอบการในครึ่งปีแรกทางบริษัทมีรายได้อยู่ที่ 206 ล้านบาท คาดว่ารายได้ตอนสิ้นปีจะเพิ่มขึ้นไปถึง 600-700ล้านบาท จากสิ้นปี 53 บริษัทมีรายได้เพียง 395ล้านบาท และรายได้ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นจะมาจากโซล่าฟาร์มทั้ง 5แห่ง ซึ่งจะทำให้การขาดทุนในครึ่งปีแรกที่มีอยู่ 18 ล้านบาทหมดไป
ทั้งนี้ น.ส.วันดี ยังได้เปิดเผยภายหลังไปชี้แจงผลประกอบการของบริษัทเอสพีซีจีในรอบ6 เดือนของปี 2554 ให้กับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจร่วมทุน โดยมีแผนลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ภาคอีสาน34 โครงการ รวมกำลังผลิต 205 เมกะวัตต์ ด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 24,000 ล้านบาท โดยจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี2556 ซึ่งโครงการทั้งหมดมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) โดยเน้นลงทุนในภาคอีสานซึ่งมีความเข้มข้นของรังสีจากแสงอาทิตย์สูง ได้แก่ 1.จ.นครราชสีมา 9 แห่ง กำลังผลิต 54 เมกะวัตต์ 2.จ.ขอนแก่น 10 แห่ง กำลังผลิต 60 เมกะวัตต์ 3.จ.บุรีรัมย์ 3แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ 4.จ.สุรินทร์ 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ จ.นครพนม 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ 6.จ.สกลนคร 2 แห่ง กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ 7.จ.ร้อยเอ็ด 2แห่ง กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ 8. จ.หนองคาย 1 แห่ง กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ และ 9. จ.อุดรธานี 1 แห่ง กำลังผลิต 6เมกะวัตต์