“โชล่า”ลุยไฟฟ้าแสงอาทิตย์
ASTVผู้จัดการรายวัน - “โซล่าพาวเวอร์” คาดโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใหญ่ทั้ง 34 โครงการจะแล้วเสร็จหมดในปี2556 ล่าสุดได้กลุ่มธนาคารโลก ปล่อย CTF Fund โครงการแรกในไทย พร้อมการสนับสนุนเงินกู้จาก กสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา และธนชาติ รวมเม็ดเงิน 441 ล้านบาทแก่โครงการ2แห่งที่โคราช และเลย
นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคาร กสิกรไทย ร่วมกับกลุ่มธนาคารโลก (ไอเอฟซี ) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาติ ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนด้วยแสงอาทิตย์ของโซล่า เพาเวอร์ โดยการปล่อยกู้โครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เพิ่มอีก 2 แห่ง มูลค่ารวม 441 ล้าน เพื่อให้บริษัทเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดเมื่อโครงการทั้งหมดเสร็จ พร้อมได้รับการสนันสนุนจาก กองทุน Clean Technology Fund (CTF) ของธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งนับเป็นโครงการแรกของประเทศไทย
สำหรับกองทุน CTF ว่า เป็นกองทุนที่สนับสนุนด้านการเงินสำหรับโครงการที่ช่วยในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนเพื่อการลงทุนด้านภูมิอากาศ (Climate Investment Fund: CIF) ซึ่งก่อตั้งโดยธนาคารโลก (World Bank) ร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาคต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนที่ช่วยลดและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
นายเซอร์จิโอ พรีเมนต้า ผู้อำนวยการ ฝ่ายภาคพื้นแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) กล่าวว่า เงินกู้ของกองทุน CTF นั้น จะเป็นเงินกู้ระยะยาว และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่พิเศษ ซึ่งจะสามารถช่วยบริษัทลดต้นทุนทางการเงินได้อย่างมาก และโครงการนี้เป็นโครงการแรกของไทย พร้อมการจัดการเงินกู้ร่วมระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทย และ IFC
นางสาววันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่จ.นครราชสีมา และจ.เลย มีกำลังการผลิตแห่งละขนาด 6 เมกกะวัตต์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Polycrystalline ที่ผลิตโดยกลุ่มบริษัท เคียวเซร่า จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์หลักในอุตสาหกรรม
ปัจจุบันกลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว 3 โครงการ ที่จ.นครราชสีมา สกลนคร และนครพนม มีกำลังผลิตรวม 18 เมกกะวัตต์ และได้เชื่อมต่อขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งสามโครงการ
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใหญ่ทั้ง 2 โครงการ เป็นโครงการตามแผนพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ ที่จะพัฒนาโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ (large commercial scale) 6 เมกกะวัตต์ ทั้งหมด 34 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตรวม 204 เมกกะวัตต์ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟภ.เป็นที่เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว และในอนาคตบริษัทจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จะแล้วเสร็จทั้งหมดภายปี 2556
ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการเงินกู้ (Mandated Lead Arranger) ให้แก่บริษัทโซล่า เพาเวอร์ จำกัด โดยร่วมกับ IFC ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาติ สนับสนุนทางการเงินแก่บริษัท จำนวนเงิน 441 ล้านบาท แบ่งเป็น ธนาคารกสิกรไทย จำนวน 122 ล้านบาท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำนวน 122 ล้านบาท ธนาคารธนชาติ จำนวน 122 ล้านบาท และIFC จำนวน 75 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในจ.นครราชสีมา แห่งที่ 2 และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จ.เลย กำลังการผลิตแห่งละ 6 เมกกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้แก่ กฟภ. ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก
นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทย ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็น ตัวแทนเจ้าหนี้ฝั่งธนาคารพานิชย์ (Commercial Bank Facility Agent) และตัวแทนหลักประกัน (Security Agent) ให้มีหน้าที่ให้บริการวงเงินอื่นๆ เช่น การเปิดเอกสาร Letter of Credit ในการนำเข้าแผงพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงวงเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
ASTVผู้จัดการรายวัน - “โซล่าพาวเวอร์” คาดโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใหญ่ทั้ง 34 โครงการจะแล้วเสร็จหมดในปี2556 ล่าสุดได้กลุ่มธนาคารโลก ปล่อย CTF Fund โครงการแรกในไทย พร้อมการสนับสนุนเงินกู้จาก กสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา และธนชาติ รวมเม็ดเงิน 441 ล้านบาทแก่โครงการ2แห่งที่โคราช และเลย
นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคาร กสิกรไทย ร่วมกับกลุ่มธนาคารโลก (ไอเอฟซี ) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาติ ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนด้วยแสงอาทิตย์ของโซล่า เพาเวอร์ โดยการปล่อยกู้โครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เพิ่มอีก 2 แห่ง มูลค่ารวม 441 ล้าน เพื่อให้บริษัทเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดเมื่อโครงการทั้งหมดเสร็จ พร้อมได้รับการสนันสนุนจาก กองทุน Clean Technology Fund (CTF) ของธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งนับเป็นโครงการแรกของประเทศไทย
สำหรับกองทุน CTF ว่า เป็นกองทุนที่สนับสนุนด้านการเงินสำหรับโครงการที่ช่วยในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนเพื่อการลงทุนด้านภูมิอากาศ (Climate Investment Fund: CIF) ซึ่งก่อตั้งโดยธนาคารโลก (World Bank) ร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับภูมิภาคต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนที่ช่วยลดและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
นายเซอร์จิโอ พรีเมนต้า ผู้อำนวยการ ฝ่ายภาคพื้นแปซิฟิกและเอเชียตะวันออก บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) กล่าวว่า เงินกู้ของกองทุน CTF นั้น จะเป็นเงินกู้ระยะยาว และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่พิเศษ ซึ่งจะสามารถช่วยบริษัทลดต้นทุนทางการเงินได้อย่างมาก และโครงการนี้เป็นโครงการแรกของไทย พร้อมการจัดการเงินกู้ร่วมระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทย และ IFC
นางสาววันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่จ.นครราชสีมา และจ.เลย มีกำลังการผลิตแห่งละขนาด 6 เมกกะวัตต์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Polycrystalline ที่ผลิตโดยกลุ่มบริษัท เคียวเซร่า จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์หลักในอุตสาหกรรม
ปัจจุบันกลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว 3 โครงการ ที่จ.นครราชสีมา สกลนคร และนครพนม มีกำลังผลิตรวม 18 เมกกะวัตต์ และได้เชื่อมต่อขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งสามโครงการ
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใหญ่ทั้ง 2 โครงการ เป็นโครงการตามแผนพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ ที่จะพัฒนาโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ (large commercial scale) 6 เมกกะวัตต์ ทั้งหมด 34 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตรวม 204 เมกกะวัตต์ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟภ.เป็นที่เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว และในอนาคตบริษัทจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จะแล้วเสร็จทั้งหมดภายปี 2556
ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการเงินกู้ (Mandated Lead Arranger) ให้แก่บริษัทโซล่า เพาเวอร์ จำกัด โดยร่วมกับ IFC ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาติ สนับสนุนทางการเงินแก่บริษัท จำนวนเงิน 441 ล้านบาท แบ่งเป็น ธนาคารกสิกรไทย จำนวน 122 ล้านบาท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำนวน 122 ล้านบาท ธนาคารธนชาติ จำนวน 122 ล้านบาท และIFC จำนวน 75 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในจ.นครราชสีมา แห่งที่ 2 และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จ.เลย กำลังการผลิตแห่งละ 6 เมกกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้แก่ กฟภ. ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก
นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทย ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็น ตัวแทนเจ้าหนี้ฝั่งธนาคารพานิชย์ (Commercial Bank Facility Agent) และตัวแทนหลักประกัน (Security Agent) ให้มีหน้าที่ให้บริการวงเงินอื่นๆ เช่น การเปิดเอกสาร Letter of Credit ในการนำเข้าแผงพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงวงเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย