ปูนใหญ่ ฟุ้ง โครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ที่เวียดนามเนื้อหอม ต่างชาติหลายรายสนใจเข้าร่วมทุน เมินยังไม่ตัดสินใจเลือกพาร์ทเนอร์ใหม่ช่วงนี้ มั่นใจต้นปีได้ข้อสรุปการจัดหาเงินกู้หลังเปลี่ยนวิธีใหม่เป็นคอร์ปอเรทไฟแนนซ์ แทนโปรเจกต์ไฟแนนซ์
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ที่ประเทศเวียดนาม ว่า ขณะนี้มีนักลงทุนหลายรายสนใจเข้าร่วมทุนในโครงการดังกล่าวนอกเหนือจากกาตาร์ และบริษัทยังไม่จำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์เพิ่มเติมในช่วงนี้ โดยเบื้องต้นกลุ่มซิเมนต์ไทยจะถือหุ้น 71% ที่เหลือเป็นการถือหุ้นโดยเวียดนาม และโครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าไปได้ด้วยดี โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเวียดนาม
ส่วนการจัดหาแหล่งเงินทุนในโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ มูลค่า 4-4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเดิมบริษัทวางแผนจะสรุปการจัดหาเงินกู้โครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จในปลายปีนี้ แต่คงต้องเลื่อนไปเป็นต้นปี 2555 แทน โดยยอมรับว่า การเจรจาสินเชื่อขณะนี้ไม่ติดปัญหาอะไรแล้ว เดิมบริษัทมีแผนการกู้เงินโดยใช้โปรเจกต์ ไฟแนนซ์ จากปัญหาเศรษฐกิจโลกในสหรัฐฯ และปัญหาหนี้สาธารณะที่สูงยุโรป ทำให้สถาบันการเงินกังวลและเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้
ดังนั้น บริษัทจึงได้มีการหารือกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเปลี่ยนจากโปรเจกต์ ไฟแนนซ์ เป็นคอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ แทน ทำให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าโครงการได้เร็วขึ้น โดยเอสซีจีไม่มีปัญหาการจัดหาเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการนี้อยู่แล้ว เพราะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานและการขายหุ้น บมจ.ปตท.เคมิคอล ไปก่อนหน้านี้
เมื่อเร็วๆ นี้ เอสซีจีได้แจ้งการเข้าไปร่วมลงทุนบริษัท พีที จันทรา แอสซรี หรือ CAP ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรในอินโดนีเซีย โดยเข้าไปถือหุ้นสัดส่วน 30% มูลค่าเงินลงทุน 1.35 หมี่นล้านบาท โดยซื้อหุ้นจากบาริ และ แอพเพิลตัน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทมาเส็ก โดยการลงทุนในครั้งนี้เป็นการเดินหน้าตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ทางธุรกิจของเอสซีจีที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน เนื่องจากอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง มีจำนวนประชากรสูงที่สุดในภูมิภาค มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขณะที่กำลังการผลิตเม็ดพลาสติกในอินโดนีเซียไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศแทบทุกผลิตภัณฑ์
นายกานต์ กล่าวต่อไปว่า นอกเหนือจากการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ที่เวียดนามแล้ว เอสซีจียังมีแผนจะเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) ธุรกิจซีเมนต์ หลังจากก่อนหน้านี้ได้เข้าไปซื้อธุรกิจกระดาษในเวียดนาม ทำให้เอสซีจีมีส่วนแบ่งตลาดใหญ่ในเวียดนาม
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ที่ประเทศเวียดนาม ว่า ขณะนี้มีนักลงทุนหลายรายสนใจเข้าร่วมทุนในโครงการดังกล่าวนอกเหนือจากกาตาร์ และบริษัทยังไม่จำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์เพิ่มเติมในช่วงนี้ โดยเบื้องต้นกลุ่มซิเมนต์ไทยจะถือหุ้น 71% ที่เหลือเป็นการถือหุ้นโดยเวียดนาม และโครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าไปได้ด้วยดี โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเวียดนาม
ส่วนการจัดหาแหล่งเงินทุนในโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ มูลค่า 4-4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเดิมบริษัทวางแผนจะสรุปการจัดหาเงินกู้โครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จในปลายปีนี้ แต่คงต้องเลื่อนไปเป็นต้นปี 2555 แทน โดยยอมรับว่า การเจรจาสินเชื่อขณะนี้ไม่ติดปัญหาอะไรแล้ว เดิมบริษัทมีแผนการกู้เงินโดยใช้โปรเจกต์ ไฟแนนซ์ จากปัญหาเศรษฐกิจโลกในสหรัฐฯ และปัญหาหนี้สาธารณะที่สูงยุโรป ทำให้สถาบันการเงินกังวลและเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้
ดังนั้น บริษัทจึงได้มีการหารือกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเปลี่ยนจากโปรเจกต์ ไฟแนนซ์ เป็นคอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ แทน ทำให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าโครงการได้เร็วขึ้น โดยเอสซีจีไม่มีปัญหาการจัดหาเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการนี้อยู่แล้ว เพราะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานและการขายหุ้น บมจ.ปตท.เคมิคอล ไปก่อนหน้านี้
เมื่อเร็วๆ นี้ เอสซีจีได้แจ้งการเข้าไปร่วมลงทุนบริษัท พีที จันทรา แอสซรี หรือ CAP ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรในอินโดนีเซีย โดยเข้าไปถือหุ้นสัดส่วน 30% มูลค่าเงินลงทุน 1.35 หมี่นล้านบาท โดยซื้อหุ้นจากบาริ และ แอพเพิลตัน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทมาเส็ก โดยการลงทุนในครั้งนี้เป็นการเดินหน้าตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ทางธุรกิจของเอสซีจีที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน เนื่องจากอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง มีจำนวนประชากรสูงที่สุดในภูมิภาค มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขณะที่กำลังการผลิตเม็ดพลาสติกในอินโดนีเซียไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศแทบทุกผลิตภัณฑ์
นายกานต์ กล่าวต่อไปว่า นอกเหนือจากการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ที่เวียดนามแล้ว เอสซีจียังมีแผนจะเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) ธุรกิจซีเมนต์ หลังจากก่อนหน้านี้ได้เข้าไปซื้อธุรกิจกระดาษในเวียดนาม ทำให้เอสซีจีมีส่วนแบ่งตลาดใหญ่ในเวียดนาม