เอกชนให้ 6 เดือน พิสูจน์ผลงานรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ทำได้จริงตามคำคุยหรือไม่ พร้อมจับตาการใช้งบประมาณ หวั่นรั่วไหล ภาคขนส่งแนะหลังแถลงนโยบาย รีบเคลียร์แผนปฏิบัติให้ชัด ทั้งเรื่องลอจิสติกส์ น้ำมัน รถไฟฟ้า ส่วนข้าวขอให้มีแผนช่วยก่อนส่งออกเจ๊ง
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบาย 44 หน้า ต่อที่ประชุมรัฐสภา วานนี้ (23ส.ค.) ว่า เอกชนคงให้เวลารัฐบาลได้ทำงานตามที่แถลงไว้อย่างน้อย 6 เดือน จึงจะรู้ถึงแนวทางปฏิบัติว่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจากที่ได้แถลงนโยบายถือว่าครอบคลุมเกือบทุกด้าน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง แต่อยู่ที่ว่านโยบายเหล่านั้นจะนำมาสู่การปฏิบัติ มีประสิทธิภาพ และต่อเนื่องหรือไม่ ถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าที่จะต้องติดตาม
ทั้งนี้ นโยบายที่แถลงมา หากทำได้ภาพรวมก็ถือว่าดี แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องทำงานหนักร่วมกับทุกส่วน โดยเฉพาะราชการและเอกชน โดยรัฐบาลควรโฟกัสไปยัง 3 เสาหลัก คือ อุตสาหกรรม เกษตร และ การท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ให้มากกว่านี้ จะเป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน และศูนย์กลางการขนส่ง (ลอจิสติกส์) ในภูมิภาค เพื่อให้เศรษฐกิจในประเทศมีจุดเด่นในการสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อลดการพึ่งพิงการส่งออก ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายความเจริญลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า คงต้องให้เวลารัฐบาลได้เริ่มทำงานในช่วง 6 เดือนแรกก่อน จึงจะพอเห็นทิศทางการปฏิบัติตามแผนที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาได้ คงไม่ขอวิจารณ์ล่วงหน้า อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญคือ นโยบายที่แถลงจะทำให้สวยหรูอย่างไร ใครก็พูดได้ สิ่งที่ต้องพิสูจน์จากนี้ คือ 1.รัฐบาลทำตามที่แถลงได้มากน้อยเพียงใด 2.การจัดทำงบประมาณเพื่อการใช้เงินจะต้องตรวจสอบได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงฝ่ายค้าน แต่ทุกส่วนของสังคม โดยเฉพาะสื่อมวลชน
“ที่แถลงมา สิ่งที่จะตอบโจทย์ คือ ทำได้จริงไหม และสำคัญ เราห่วงเรื่องงบประมาณ หากรั่วไหลเกินไป ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น รัฐควรจะพร้อมให้มีการตรวจสอบจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายไม่ใช่แค่ฝ่ายค้าน นโยบายที่แถลงก็ถือว่าครอบคลุมเกือบทุกด้าน แต่เราก็ยืนยันตลอดว่าอะไรที่เป็นประชานิยมที่ทำให้คนไม่คิด ไม่ทำ รัฐต้องอุ้มตลอด เราไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว ส่วนรายได้ 300 บาทต่อวัน ก็เป็นไปตามที่เอกชนเสนอที่ควรจะทยอยขึ้นแบบขั้นบันได ขณะที่ลดเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรัฐควรจะชัดเจนถึงนโยบายพลังงานทดแทนด้วย” นายสมมาต กล่าว
นายเชาวลิต เมธยะประภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมเรือไทย กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง ว่า ต้องการให้เร่งรัดการพัฒนาภาคขนส่งลอจิสติกส์ทั้งหมด เพื่อเตรียมแผนรับรองการขนส่งระหว่างประเทศเชื่อมต่อกับจีนและอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลมีแผนพัฒนาระบบรางอยู่แล้ว นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการใช้ก๊าซแอลพีจี เนื่องจากการผลิตและสถานีจำหน่ายก๊าซของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ
น.ท.ปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ในฐานะอุปนายกสมาคมเรือไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการเดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนระหว่างเรือโดยสาร กับรถไฟฟ้าได้ทันที เมื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าในแผนแม่บทแล้วเสร็จ รวมถึงควรมีความชัดเจนในเรื่องของการกำหนดเพดานอัตราน้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนหลักของภาคขนส่งและการปรับราคาค่าโดยสาร
นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ผู้รับสัมปทานให้บริการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ) กล่าวถึงนโยบายรัฐบาลในการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียด และวิธีการที่รัฐบาลจะใช้ดำเนินการว่าจะเป็นอย่างไร แต่เอกชนพร้อมให้ความร่วมมือกับนโยบายดังกล่าว โดยอยู่บนพื้นฐานที่ต้องให้ความเป็นธรรมกับเอกชน เนื่องจากบริษัทจะต้องดูแลผู้ถือหุ้นและยังมีภาระการใช้คืนเงินกู้ ดังนั้น หากรัฐบาลมีแนวทางในการชดเชยส่วนต่างรายได้ให้เอกชนตามที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ก็เท่ากับรายได้ของเอกชนจะไม่ต่ำไปกว่าที่เป็นอยู่ หากลดค่าโดยสารเหลือ 20 บาทตลอดสาย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อลดผลกระทบต่อการส่งออกข้าว หลังจากที่รัฐบาลจะนำโครงการรับจำนำมาใช้ เพราะทำให้ราคาข้าวไทยสูงขึ้น และแข่งขันไม่ได้ หากไม่ดูแล จะทำให้ไทยสูญเสียตลาดส่งออกได้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบาย 44 หน้า ต่อที่ประชุมรัฐสภา วานนี้ (23ส.ค.) ว่า เอกชนคงให้เวลารัฐบาลได้ทำงานตามที่แถลงไว้อย่างน้อย 6 เดือน จึงจะรู้ถึงแนวทางปฏิบัติว่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจากที่ได้แถลงนโยบายถือว่าครอบคลุมเกือบทุกด้าน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง แต่อยู่ที่ว่านโยบายเหล่านั้นจะนำมาสู่การปฏิบัติ มีประสิทธิภาพ และต่อเนื่องหรือไม่ ถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าที่จะต้องติดตาม
ทั้งนี้ นโยบายที่แถลงมา หากทำได้ภาพรวมก็ถือว่าดี แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องทำงานหนักร่วมกับทุกส่วน โดยเฉพาะราชการและเอกชน โดยรัฐบาลควรโฟกัสไปยัง 3 เสาหลัก คือ อุตสาหกรรม เกษตร และ การท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ให้มากกว่านี้ จะเป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน และศูนย์กลางการขนส่ง (ลอจิสติกส์) ในภูมิภาค เพื่อให้เศรษฐกิจในประเทศมีจุดเด่นในการสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อลดการพึ่งพิงการส่งออก ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายความเจริญลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า คงต้องให้เวลารัฐบาลได้เริ่มทำงานในช่วง 6 เดือนแรกก่อน จึงจะพอเห็นทิศทางการปฏิบัติตามแผนที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาได้ คงไม่ขอวิจารณ์ล่วงหน้า อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญคือ นโยบายที่แถลงจะทำให้สวยหรูอย่างไร ใครก็พูดได้ สิ่งที่ต้องพิสูจน์จากนี้ คือ 1.รัฐบาลทำตามที่แถลงได้มากน้อยเพียงใด 2.การจัดทำงบประมาณเพื่อการใช้เงินจะต้องตรวจสอบได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงฝ่ายค้าน แต่ทุกส่วนของสังคม โดยเฉพาะสื่อมวลชน
“ที่แถลงมา สิ่งที่จะตอบโจทย์ คือ ทำได้จริงไหม และสำคัญ เราห่วงเรื่องงบประมาณ หากรั่วไหลเกินไป ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น รัฐควรจะพร้อมให้มีการตรวจสอบจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายไม่ใช่แค่ฝ่ายค้าน นโยบายที่แถลงก็ถือว่าครอบคลุมเกือบทุกด้าน แต่เราก็ยืนยันตลอดว่าอะไรที่เป็นประชานิยมที่ทำให้คนไม่คิด ไม่ทำ รัฐต้องอุ้มตลอด เราไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว ส่วนรายได้ 300 บาทต่อวัน ก็เป็นไปตามที่เอกชนเสนอที่ควรจะทยอยขึ้นแบบขั้นบันได ขณะที่ลดเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรัฐควรจะชัดเจนถึงนโยบายพลังงานทดแทนด้วย” นายสมมาต กล่าว
นายเชาวลิต เมธยะประภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมเรือไทย กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง ว่า ต้องการให้เร่งรัดการพัฒนาภาคขนส่งลอจิสติกส์ทั้งหมด เพื่อเตรียมแผนรับรองการขนส่งระหว่างประเทศเชื่อมต่อกับจีนและอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลมีแผนพัฒนาระบบรางอยู่แล้ว นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการใช้ก๊าซแอลพีจี เนื่องจากการผลิตและสถานีจำหน่ายก๊าซของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ
น.ท.ปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ในฐานะอุปนายกสมาคมเรือไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการเดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนระหว่างเรือโดยสาร กับรถไฟฟ้าได้ทันที เมื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าในแผนแม่บทแล้วเสร็จ รวมถึงควรมีความชัดเจนในเรื่องของการกำหนดเพดานอัตราน้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนหลักของภาคขนส่งและการปรับราคาค่าโดยสาร
นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ผู้รับสัมปทานให้บริการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ) กล่าวถึงนโยบายรัฐบาลในการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียด และวิธีการที่รัฐบาลจะใช้ดำเนินการว่าจะเป็นอย่างไร แต่เอกชนพร้อมให้ความร่วมมือกับนโยบายดังกล่าว โดยอยู่บนพื้นฐานที่ต้องให้ความเป็นธรรมกับเอกชน เนื่องจากบริษัทจะต้องดูแลผู้ถือหุ้นและยังมีภาระการใช้คืนเงินกู้ ดังนั้น หากรัฐบาลมีแนวทางในการชดเชยส่วนต่างรายได้ให้เอกชนตามที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ก็เท่ากับรายได้ของเอกชนจะไม่ต่ำไปกว่าที่เป็นอยู่ หากลดค่าโดยสารเหลือ 20 บาทตลอดสาย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อลดผลกระทบต่อการส่งออกข้าว หลังจากที่รัฐบาลจะนำโครงการรับจำนำมาใช้ เพราะทำให้ราคาข้าวไทยสูงขึ้น และแข่งขันไม่ได้ หากไม่ดูแล จะทำให้ไทยสูญเสียตลาดส่งออกได้