ASTVผู้จัดการรายวัน – ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เสนอรัฐบาล จับมือ ททท.บูมศูนย์โอท็อป เป็นแหล่งชอปปิ้งของนักท่องเที่ยว ต่างชาติ โปรโมต 5 กลุ่ม สินค้าคนไทย อาหาร สมุนไพร ของที่ระลึก ผ้าไทย และ ของตกแต่งบ้าน ดันเศรษฐกิจชุมชนโตอย่างยั่งยืน นำร่อง 3 พื้นที่ เมืองท่องเที่ยว กทม. เชียงห่า ภูเก็ต ตั้งเป้า 10 จังหวัดปีแรก ก่อนกระจายครบทุกจังหวัดใน 4 ปี ปั้นฝันรายได้จากการท่องเที่ยวให้ได้แตะ 2 ล้านล้านบาท ใน 4 ปี
นางสาวภูวนิดา คุนผลิน ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ได้นำเสนอแผนการทำงานด้านเศรษฐกิจต่อรัฐบาลแล้ว เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการแถลงนโยบายรัฐบาล โดยในส่วนของภาคงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว เบื้องต้น จะต้องทำงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางพรรคได้หารือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และเข้าใจตรงกันแล้ว
เบื้องต้นมีแผนให้ ททท.ช่วยโปรโมตศูนย์แสดงสินค้าโอท็อป ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้เป็นแหล่งชอปปิ้งของนักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต้องการให้บริษัทนำเที่ยว และ ททท. บรรจุ ศูนย์โอท็อป ไว้ในโปรแกรมการเดินทางท่องเที่ยวด้วย
“หากรัฐบาล เห็นด้วยกับแนวคิดที่ทางทีมเศรษฐกิจเสนอ ก็จะให้ รัฐบาล ขอความร่วมมือจาก ททท. ในการโปรโมตศูนย์โอท็อป ด้วยการ จัดเป็นโปรแกรมการเดินทาง โดยนำนักท่องเที่ยวมาดร็อป เพื่อชอปปิ้งซื้อสินค้าที่ศูนย์โอท็อป และหากมีแขกบ้านแขกเมือง เดินทางเข้ามาประเทศไทย ก็ให้จัดไว้ในโปรแกรมท่องเที่ยวเพื่อการรับรองของแขกกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการจับจ่ายสินค้า โปรโมตสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของไทย เป็นอัตลักษณ์ไทย เป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้ชุมชน สนับสนุนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยรัฐจะต้องดูแลเรื่องระบบโลจิสติก การคมนาคมขนส่ง เพื่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์โอท็อป”
สำหรับแผนงานที่วางไว้ นอกจากการวางจำหน่ายสินค้าในศูนย์โอท็อป ยังหารือกับ บริษัท ปตท. จำกัด ขอพื้นที่ในร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน ปตท. เพื่อวางจำหน่ายสินค้าโอท็อปด้วย เบื้องต้น จัดไว้ 5 กลุ่มสินค้าที่จะส่งเสริม ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่น ชูเรื่องของครัวไทยสู่ครัวโลก รวมถึงเครื่องดื่มสมุนไพร 2.กลุ่มของใช้ของประดับตกแต่งบ้าน
3.กลุ่มสินค้าผ้าทอและผ้าไทย รวมถึงเครื่องแต่งกายที่ทำจากผ้าไทย 4. กลุ่มของที่ระลึก และ 5 กลุ่มสมุมไพรไทยเพื่อความงาม
“ในภาพรวม รัฐต้อง มีแผนลงทุนเพื่อการท่องเที่ยว เช่น การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเก่า สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ การปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่ง ขณะที่แผนงานโปรโมตศูนย์โอท็อป จะเป็นส่วนหนึ่ง ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดการจับจ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อทริปให้มากขึ้น ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยตลาดคนไทย จะขอความร่วมมือรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานต่างๆ
ในการซื้อสินค้าโอท็อป ของไทย เช่นเดียวกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ในสหรัฐอเมริกา พบว่า การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ มีการจับจ่ายสินค้าที่เป็นโอท็อปภายในประเทศมากถึง 30% “
ในแผนการทำงาน จะต้องสนับสนุนให้เกิดศูนย์การซื้อขายเป็นย่านการค้า ในแต่ละจังหวัด ให้เกิดการจับจ่ายเงิน เช่น ตลาดสามชุก หรือ ตลาดหัวหิน ซึ่งมีการโปรโมตเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ เกิดการซื้อขายสินค้าในพื้นที่โดยรอบ เพิ่มขึ้น เน้นทำการตลาดเพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่ เบื้องต้น นำร่อง 3 แห่ง คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต
จากนั้นจะขยายการโปรโมตให้ครบ 10 จังหวัด ในปีแรก และทยอยเปิดศูนย์โอท็อปให้ครบ 76 จังหวัด ใน 4 ปีของรัฐบาล เพื่อเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้รัฐบาลบรรลุเป้าหมาย จำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติ 30 ล้านคน ในอีก 4 ปีข้างหน้า และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท
นางสาวภูวนิดา คุนผลิน ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ได้นำเสนอแผนการทำงานด้านเศรษฐกิจต่อรัฐบาลแล้ว เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการแถลงนโยบายรัฐบาล โดยในส่วนของภาคงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว เบื้องต้น จะต้องทำงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางพรรคได้หารือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และเข้าใจตรงกันแล้ว
เบื้องต้นมีแผนให้ ททท.ช่วยโปรโมตศูนย์แสดงสินค้าโอท็อป ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้เป็นแหล่งชอปปิ้งของนักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต้องการให้บริษัทนำเที่ยว และ ททท. บรรจุ ศูนย์โอท็อป ไว้ในโปรแกรมการเดินทางท่องเที่ยวด้วย
“หากรัฐบาล เห็นด้วยกับแนวคิดที่ทางทีมเศรษฐกิจเสนอ ก็จะให้ รัฐบาล ขอความร่วมมือจาก ททท. ในการโปรโมตศูนย์โอท็อป ด้วยการ จัดเป็นโปรแกรมการเดินทาง โดยนำนักท่องเที่ยวมาดร็อป เพื่อชอปปิ้งซื้อสินค้าที่ศูนย์โอท็อป และหากมีแขกบ้านแขกเมือง เดินทางเข้ามาประเทศไทย ก็ให้จัดไว้ในโปรแกรมท่องเที่ยวเพื่อการรับรองของแขกกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการจับจ่ายสินค้า โปรโมตสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของไทย เป็นอัตลักษณ์ไทย เป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้ชุมชน สนับสนุนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยรัฐจะต้องดูแลเรื่องระบบโลจิสติก การคมนาคมขนส่ง เพื่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์โอท็อป”
สำหรับแผนงานที่วางไว้ นอกจากการวางจำหน่ายสินค้าในศูนย์โอท็อป ยังหารือกับ บริษัท ปตท. จำกัด ขอพื้นที่ในร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน ปตท. เพื่อวางจำหน่ายสินค้าโอท็อปด้วย เบื้องต้น จัดไว้ 5 กลุ่มสินค้าที่จะส่งเสริม ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่น ชูเรื่องของครัวไทยสู่ครัวโลก รวมถึงเครื่องดื่มสมุนไพร 2.กลุ่มของใช้ของประดับตกแต่งบ้าน
3.กลุ่มสินค้าผ้าทอและผ้าไทย รวมถึงเครื่องแต่งกายที่ทำจากผ้าไทย 4. กลุ่มของที่ระลึก และ 5 กลุ่มสมุมไพรไทยเพื่อความงาม
“ในภาพรวม รัฐต้อง มีแผนลงทุนเพื่อการท่องเที่ยว เช่น การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเก่า สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ การปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่ง ขณะที่แผนงานโปรโมตศูนย์โอท็อป จะเป็นส่วนหนึ่ง ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดการจับจ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อทริปให้มากขึ้น ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยตลาดคนไทย จะขอความร่วมมือรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานต่างๆ
ในการซื้อสินค้าโอท็อป ของไทย เช่นเดียวกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ในสหรัฐอเมริกา พบว่า การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ มีการจับจ่ายสินค้าที่เป็นโอท็อปภายในประเทศมากถึง 30% “
ในแผนการทำงาน จะต้องสนับสนุนให้เกิดศูนย์การซื้อขายเป็นย่านการค้า ในแต่ละจังหวัด ให้เกิดการจับจ่ายเงิน เช่น ตลาดสามชุก หรือ ตลาดหัวหิน ซึ่งมีการโปรโมตเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ เกิดการซื้อขายสินค้าในพื้นที่โดยรอบ เพิ่มขึ้น เน้นทำการตลาดเพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่ เบื้องต้น นำร่อง 3 แห่ง คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต
จากนั้นจะขยายการโปรโมตให้ครบ 10 จังหวัด ในปีแรก และทยอยเปิดศูนย์โอท็อปให้ครบ 76 จังหวัด ใน 4 ปีของรัฐบาล เพื่อเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้รัฐบาลบรรลุเป้าหมาย จำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติ 30 ล้านคน ในอีก 4 ปีข้างหน้า และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท