ต่างชาติส่งสัญญาณรัฐบาลใหม่ ต้องเร่งปฏิรูปการศึกษา และปรับนโยบายการลงทุน ก่อนที่ไทยจะตกขบวนประเทศที่น่าลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ส.อ.ท.ชี้ รัฐบาลต้องมีวาระแห่งชาติดึงดูดการลงทุน
นายแมทธิว เวอร์กีส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยในงานสัมมนา “Thailand’s Investment Environment : Looking Forward -Challenger for New Governmet” จัดโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) วานนี้ (21 ก.ค.) ว่า ไทยนับเป็นประเทศที่น่าลงทุนแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย แต่พบว่าระบบการศึกษาไทยยังคงก้าวไปได้ช้า เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ ส่งผลให้นักศึกษาจบใหม่ ไม่มีงานทำและไม่สอดรับกับความต้องการแรงงาน ดังนั้น รัฐบาลควรจะต้องเร่งพัฒนาแรงงานในระดับสากลที่จะต้องเน้นทักษะฝีมือแรงงานซึ่งจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ชั้นประถมการศึกษา
“รัฐบาลที่ผ่านมา ก็พยายามปรับปรุงการศึกษา แต่ก็ยังไม่มีการปรับปรุงในระดับที่เราอยากให้เป็น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าบริษัทขนาดใหญ่ในไทยมีการฝึกอบรมแรงงานได้ดี ซึ่งรัฐน่าจะนำมาต่อยอดได้ เพื่อไม่ให้จำกัดอยู่แต่ในบริษัทใหญ่ ซึ่งหลายๆ ประเทศเอกชนมีส่วนสำคัญต่อการยกระดับการศึกษาเช่นตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งการปฏิรูปการศึกษานี้ไม่ว่ารัฐและเอกชนจะต้องมีภาวะผู้นำ” นายแมทธิว กล่าว
นายนันดอร์ วอน เดอ ลู ประธานหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ควรจะต้องปรับบทบาทใหม่ เพื่อที่จะรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะใช้การลดภาษีอย่างเดียวไม่ได้แต่ บีโอไอควรจะเล่นบทบาทในการประสานงานกับกระทรวงต่างๆ เพื่อให้ขั้นตอนการลงทุนง่ายขึ้น
“เลขาธิการบีโอไอควรจะเป็นซี 11 เพื่อให้สามารถสั่งงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้ แต่ก่อนบีโอไออยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้อยู่ใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้การประสานงานกับที่ต่างๆ ไม่ได้มาก ขณะเดียวกันบีโอไอจะต้องเพิ่มประเภทส่งเสริมการลงทุนในสาขาที่จะเอื้อในการดึงดูดการลงทุนเพิ่ม” นายนันดอร์ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.เตรียมจะเสนอให้รัฐบาลใหม่ผลักดันให้มีความชัดเจนใน 3 เรื่องและให้ถือเป็นวาระแห่งชาติ คือ 1.โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่ง (ลอจิสติกส์) ที่จะทำอย่างไรให้เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการลงทุนในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ไม่เช่นนั้นไทยจะตกขบวน 2.ท่าเรือน้ำลึก-นิคมใหม่ ที่ไทยจะเกิดที่ใดอีกหรือไม่ และ 3.การก้าวสู่ระดับการผลิตที่ใช้นวตกรรมใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ที่วางไว้ เช่น ดีทรอยด์ออฟเอเชีย ครัวโลก จะเดินต่ออย่างไร
นายแมทธิว เวอร์กีส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยในงานสัมมนา “Thailand’s Investment Environment : Looking Forward -Challenger for New Governmet” จัดโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) วานนี้ (21 ก.ค.) ว่า ไทยนับเป็นประเทศที่น่าลงทุนแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย แต่พบว่าระบบการศึกษาไทยยังคงก้าวไปได้ช้า เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ ส่งผลให้นักศึกษาจบใหม่ ไม่มีงานทำและไม่สอดรับกับความต้องการแรงงาน ดังนั้น รัฐบาลควรจะต้องเร่งพัฒนาแรงงานในระดับสากลที่จะต้องเน้นทักษะฝีมือแรงงานซึ่งจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ชั้นประถมการศึกษา
“รัฐบาลที่ผ่านมา ก็พยายามปรับปรุงการศึกษา แต่ก็ยังไม่มีการปรับปรุงในระดับที่เราอยากให้เป็น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าบริษัทขนาดใหญ่ในไทยมีการฝึกอบรมแรงงานได้ดี ซึ่งรัฐน่าจะนำมาต่อยอดได้ เพื่อไม่ให้จำกัดอยู่แต่ในบริษัทใหญ่ ซึ่งหลายๆ ประเทศเอกชนมีส่วนสำคัญต่อการยกระดับการศึกษาเช่นตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งการปฏิรูปการศึกษานี้ไม่ว่ารัฐและเอกชนจะต้องมีภาวะผู้นำ” นายแมทธิว กล่าว
นายนันดอร์ วอน เดอ ลู ประธานหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ควรจะต้องปรับบทบาทใหม่ เพื่อที่จะรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะใช้การลดภาษีอย่างเดียวไม่ได้แต่ บีโอไอควรจะเล่นบทบาทในการประสานงานกับกระทรวงต่างๆ เพื่อให้ขั้นตอนการลงทุนง่ายขึ้น
“เลขาธิการบีโอไอควรจะเป็นซี 11 เพื่อให้สามารถสั่งงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้ แต่ก่อนบีโอไออยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้อยู่ใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้การประสานงานกับที่ต่างๆ ไม่ได้มาก ขณะเดียวกันบีโอไอจะต้องเพิ่มประเภทส่งเสริมการลงทุนในสาขาที่จะเอื้อในการดึงดูดการลงทุนเพิ่ม” นายนันดอร์ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.เตรียมจะเสนอให้รัฐบาลใหม่ผลักดันให้มีความชัดเจนใน 3 เรื่องและให้ถือเป็นวาระแห่งชาติ คือ 1.โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่ง (ลอจิสติกส์) ที่จะทำอย่างไรให้เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการลงทุนในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ไม่เช่นนั้นไทยจะตกขบวน 2.ท่าเรือน้ำลึก-นิคมใหม่ ที่ไทยจะเกิดที่ใดอีกหรือไม่ และ 3.การก้าวสู่ระดับการผลิตที่ใช้นวตกรรมใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ที่วางไว้ เช่น ดีทรอยด์ออฟเอเชีย ครัวโลก จะเดินต่ออย่างไร