นโยบายจำนำข้าวว่าที่รัฐบาลเพื่อไทยทำป่วน ล่าสุด ลามถึงข้าวถุง ผู้ผลิตหาซื้อข้าวบรรจุถุงได้ยาก แถมราคาพุ่ง หลังโรงสี ผู้ส่งออก ตุนข้าวเก็บไว้รอฟันกำไร “พาณิชย์” เรียกผู้ผลิตกล่อม เบรกขึ้นราคา หวั่นกระทบประชาชน พร้อมนัดหารือโรงสี ผู้ส่งออก สัปดาห์หน้าตรวจสอบปริมาณข้าว ขู่หากพบปั่นราคา งัดกฎหมายเล่นงานทันที พร้อมชง ครม.นัดสุดท้าย แจงแนวทางดูแลราคาสินค้า
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า วานนี้ (12 ก.ค.) ได้เชิญผู้ประกอบการข้าวถุงและร้านค้าปลีก มาหารือถึงแนวทางดูแลราคาข้าวถุงไม่ให้สูงขึ้นจนกระทบค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งผู้ประกอบการได้แจ้งว่าปัจจุบันหาซื้อข้าวเพื่อนำมาทำข้าวถุงได้ยากขึ้น และราคาสูงขึ้น แต่ยังยืนยันที่จะไม่ปรับเพิ่มราคาข้าวถุงในขณะนี้ ส่วนการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ผลิตข้าวถุง ในสัปดาห์หน้า กรมฯ จะเรียกประชุมผู้ประกอบการโรงสีและผู้ส่งออก เพื่อตรวจสอบปริมาณข้าวและราคาข้าวให้มีความชัดเจน
สาเหตุที่ต้องเรียกประชุม เพราะวิตกว่าปัจจุบันราคาข้าวอาจสูงเกินจริง และในเบื้องต้นยังพบข้อสงสัยว่าราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นไม่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยจากการตรวจสอบ พบว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้าปรับตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือน มิ.ย.จากตันละ 7,800-9,200 บาท เพิ่มเป็นตันละ 8,500-11,500 บาท
“กำลังตรวจสอบสต็อกข้าวเปลือกในระบบว่ามีเท่าไร และมีเหตุผลหรือไม่ที่ทำให้เกิดการตึงตัวและราคาสูงขึ้น จนกระทบต่อราคาข้าวสารบรรจุถุง โดยในเบื้องต้นพบว่าข้าวเปลือกส่วนใหญ่อยู่ในมือพ่อค้าคนกลางที่ซื้อจากชาวนาในราคาต่ำ แล้วมาปั่นราคาถือว่าไม่ถูกต้อง ชาวนาไม่ได้ประโยชน์อะไร ประชาชนก็ต้องกินข้าวแพง ถือว่าไม่ถูกต้อง ก็ต้องหามาตรการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดการฉวยโอกาสปั่นราคาข้าวจนกระทบต่อผู้บริโภค เบื้องต้นจะขอความร่วมมือให้ขายข้าวในราคาที่เหมาะสม หากพบว่า มีการปั่นราคาหรือจำกัดการขาย ก็จะใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 เข้ามาดูแล เช่น ออกราคาแนะนำข้าวเปลือก และข้าวสาร เป็นต้น” นางวัชรี กล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กรมการค้าภายในได้มีการสำรวจปริมาณข้าวที่อยู่ในมือโรงสีและผู้ส่งออก ซึ่งพบว่ามีปริมาณ 12-13 ล้านตันข้าวเปลือก โดยเป็นการกว้านซื้อตั้งเดือนเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากได้มีการประเมินกันว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้ง และนำระบบการรับจำนำข้าวกลับมาใช้ เพราะได้ประกาศที่จะรับจำนำสูงถึงตันละ 15,000 บาท ซึ่งผลจากการกว้านซื้อดังกล่าว ทำให้ข้าวในท้องตลาดไม่มี และผู้ที่ต้องการข้าวอย่างผู้ผลิตข้าวถุง และผู้ส่งออกบางราย ไม่สามารถหาซื้อข้าวได้ หรือซื้อได้ก็ต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้น จนกระทบต่อต้นทุนการผลิตข้าวถุงและการส่งออก โดยเฉพาะผู้ผลิตข้าวถุงได้แจ้งที่จะปรับราคาข้าวถุงในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อชดเชยต้นทุนการซื้อข้าวที่สูงขึ้น
นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดสุดท้าย วานนี้ (12 ก.ค.) ได้รับทราบมาตรการกำกับดูแลสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ ในสินค้า 205 รายการ และบริการ 20 รายการ ประจำเดือนก.ค.2554 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้มีการปรับลำดับการดูแลสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม โดยสินค้ากลุ่มแรกที่จะต้องติดตามเป็นพิเศษ มี 9 รายการ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น ปูนซีเมนต์ สายไฟฟ้า ปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์
ส่วนกลุ่มที่ต้องติดตามดูแล มี 8 รายการ ได้แก่ น้ำตาลทราย น้ำมันพืช อาหารปรุงสำเร็จ ก๊าซ LPG ยางรถยนต์ เหล็กแผ่นเคลือนดีบุก เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ยาป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืช และบริการซ่อมรถ ส่วนสินค้าที่เหลือ 188 รายการ และบริการ 18 รายการ ติดตามดูแลเป็นปกติ เพราะยังมีราคาเคลื่อนไหวเป็นปกติ
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า วานนี้ (12 ก.ค.) ได้เชิญผู้ประกอบการข้าวถุงและร้านค้าปลีก มาหารือถึงแนวทางดูแลราคาข้าวถุงไม่ให้สูงขึ้นจนกระทบค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งผู้ประกอบการได้แจ้งว่าปัจจุบันหาซื้อข้าวเพื่อนำมาทำข้าวถุงได้ยากขึ้น และราคาสูงขึ้น แต่ยังยืนยันที่จะไม่ปรับเพิ่มราคาข้าวถุงในขณะนี้ ส่วนการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ผลิตข้าวถุง ในสัปดาห์หน้า กรมฯ จะเรียกประชุมผู้ประกอบการโรงสีและผู้ส่งออก เพื่อตรวจสอบปริมาณข้าวและราคาข้าวให้มีความชัดเจน
สาเหตุที่ต้องเรียกประชุม เพราะวิตกว่าปัจจุบันราคาข้าวอาจสูงเกินจริง และในเบื้องต้นยังพบข้อสงสัยว่าราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นไม่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยจากการตรวจสอบ พบว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้าปรับตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือน มิ.ย.จากตันละ 7,800-9,200 บาท เพิ่มเป็นตันละ 8,500-11,500 บาท
“กำลังตรวจสอบสต็อกข้าวเปลือกในระบบว่ามีเท่าไร และมีเหตุผลหรือไม่ที่ทำให้เกิดการตึงตัวและราคาสูงขึ้น จนกระทบต่อราคาข้าวสารบรรจุถุง โดยในเบื้องต้นพบว่าข้าวเปลือกส่วนใหญ่อยู่ในมือพ่อค้าคนกลางที่ซื้อจากชาวนาในราคาต่ำ แล้วมาปั่นราคาถือว่าไม่ถูกต้อง ชาวนาไม่ได้ประโยชน์อะไร ประชาชนก็ต้องกินข้าวแพง ถือว่าไม่ถูกต้อง ก็ต้องหามาตรการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดการฉวยโอกาสปั่นราคาข้าวจนกระทบต่อผู้บริโภค เบื้องต้นจะขอความร่วมมือให้ขายข้าวในราคาที่เหมาะสม หากพบว่า มีการปั่นราคาหรือจำกัดการขาย ก็จะใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 เข้ามาดูแล เช่น ออกราคาแนะนำข้าวเปลือก และข้าวสาร เป็นต้น” นางวัชรี กล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กรมการค้าภายในได้มีการสำรวจปริมาณข้าวที่อยู่ในมือโรงสีและผู้ส่งออก ซึ่งพบว่ามีปริมาณ 12-13 ล้านตันข้าวเปลือก โดยเป็นการกว้านซื้อตั้งเดือนเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากได้มีการประเมินกันว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้ง และนำระบบการรับจำนำข้าวกลับมาใช้ เพราะได้ประกาศที่จะรับจำนำสูงถึงตันละ 15,000 บาท ซึ่งผลจากการกว้านซื้อดังกล่าว ทำให้ข้าวในท้องตลาดไม่มี และผู้ที่ต้องการข้าวอย่างผู้ผลิตข้าวถุง และผู้ส่งออกบางราย ไม่สามารถหาซื้อข้าวได้ หรือซื้อได้ก็ต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้น จนกระทบต่อต้นทุนการผลิตข้าวถุงและการส่งออก โดยเฉพาะผู้ผลิตข้าวถุงได้แจ้งที่จะปรับราคาข้าวถุงในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อชดเชยต้นทุนการซื้อข้าวที่สูงขึ้น
นายวัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดสุดท้าย วานนี้ (12 ก.ค.) ได้รับทราบมาตรการกำกับดูแลสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ ในสินค้า 205 รายการ และบริการ 20 รายการ ประจำเดือนก.ค.2554 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้มีการปรับลำดับการดูแลสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม โดยสินค้ากลุ่มแรกที่จะต้องติดตามเป็นพิเศษ มี 9 รายการ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น ปูนซีเมนต์ สายไฟฟ้า ปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์
ส่วนกลุ่มที่ต้องติดตามดูแล มี 8 รายการ ได้แก่ น้ำตาลทราย น้ำมันพืช อาหารปรุงสำเร็จ ก๊าซ LPG ยางรถยนต์ เหล็กแผ่นเคลือนดีบุก เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ยาป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืช และบริการซ่อมรถ ส่วนสินค้าที่เหลือ 188 รายการ และบริการ 18 รายการ ติดตามดูแลเป็นปกติ เพราะยังมีราคาเคลื่อนไหวเป็นปกติ