สมาคมนักเคมีเครื่องสำอางไทยฯ ชี้เทรนด์เครื่องสำอางทั่วโลก แห่ใช้สินค้าจากธรรมชาติ เมินสารสังเคราะห์ ระบุไทยมีศักยภาพพืชสมุนไพร ผลไม้ เพียบ แต่ขาดบุคคลากรวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โชว์ 3 ผลงานวิจัย แจ้งเกิดในงานเครื่องสำอางโลก IFSCC
รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ นายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยมูลค่า 115,000 ล้านบาท ปีนี้เติบโต 8% ใกล้เคียงกับหลายปีที่ผ่านมา โดยเป็นกลุ่มสินค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือความวุ่นวายการเมือง แบ่งเป็นตลาดส่งออก 6.5 หมื่นล้านบาท และภายในประเทศ 5.5 หมื่นล้านบาท แต่แนวโน้มตลาดเครื่องสำอางทั่วโลก กลุ่มสินค้าที่พัฒนาขึ้นจากสารสกัดธรรมชาติจะได้รับความนิยมมากกว่าจะเป็นสารสังเคราะห์ เพราะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
ปัจจัยการตัดสินใจซื้อจะพิจารณาจากคุณสมบัติ ตอบสนองด้านความงาม มีราคาที่เหมาะสม มากกว่าจะคำนึงถึงสินค้าแบรนด์เนม ทำให้ขณะนี้เครื่องสำอางค์ระดับไฮเอนด์ เริ่มปรับราคาลง เริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ใช้เฉพาะเจาะจงกับผู้ใช้แต่ละคนให้มากขึ้น (Customized Label หรือ Private Label) อาทิ ต้องมีการตรวจสอบสภาพผิวและการทำวิเคราะห์ผิวของแต่ละคนว่า ควรมีการเพิ่มเติมสารชนิดใดลงในผลิตภัณฑ์ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้เทรนด์ดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นแล้ว
“เครื่องสำอางในตลาดแมส เริ่มปรับตัวเช่น โอเลย์ พอนด์ส ลอรีอัล ขยายโปรดักส์ไปสู่ตลาดเพรสทีจมากขึ้น แต่ตลาดใหญ่ในไทยยังคงเป็น สกินแคร์ 50% และอีก 20%เป็นแฮร์แคร์ ที่เหลือ 30% เป็นอื่นๆ”
รศ.ดร.พรรณวิภา กล่าวว่า กระแสความนิยมเครื่องสำอางที่มีสารสกัดจากธรรมชาติทั่วโลก เป็นโอกาสการตลาดของไทย เพราะเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสมุนไพร และยังไม่เป็นรองทางด้านเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องสำอางของเอเชีย ส่วนอันดับ 2 คือ ประเทศเกาหลี และไทย อันดับ 3 ส่วนการเปิดการค้าเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 58 เชื่อว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะไทยเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในตลาดอาเซียน
“ประเทศไทย ยังขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น บริษัทชิเซโด้มีนักวิจัยร่วม 1,000 คนในบริษัทเดียว แต่ไทยเหนือชั้นที่มีสมุนไพรหลากหลายที่มีประโยชน์ทั้งสิ้น”
ล่าสุดประเทศไทยได้จัดงานเครื่องสำอางโลก International Federation of the Societies of Cosmetic Chemists : IFSCC ครั้งแรกในรอบ 52 ปี เตรียมจัดระหว่าง 31 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน โดยมีผลงานวิจัยนวัตกรรมส่งเข้ามามากกว่า 200 ชิ้น ซึ่งประเทศไทยส่งผลงานเข้าเสนอ 3 ชิ้นงาน คือ ผลงานวิจัยจากเหงือกปลาหมอ มะหาก และบวบหอม นอกจากนี้ภายในงานยังมีร้านบูธจำหน่ายผลิตภณฑ์เครื่องสำอางทั้งไทยและต่างประเทศ 108 บูธ อาทิ แอมเวย์ นูสกิน ฯลฯ
รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ นายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยมูลค่า 115,000 ล้านบาท ปีนี้เติบโต 8% ใกล้เคียงกับหลายปีที่ผ่านมา โดยเป็นกลุ่มสินค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือความวุ่นวายการเมือง แบ่งเป็นตลาดส่งออก 6.5 หมื่นล้านบาท และภายในประเทศ 5.5 หมื่นล้านบาท แต่แนวโน้มตลาดเครื่องสำอางทั่วโลก กลุ่มสินค้าที่พัฒนาขึ้นจากสารสกัดธรรมชาติจะได้รับความนิยมมากกว่าจะเป็นสารสังเคราะห์ เพราะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
ปัจจัยการตัดสินใจซื้อจะพิจารณาจากคุณสมบัติ ตอบสนองด้านความงาม มีราคาที่เหมาะสม มากกว่าจะคำนึงถึงสินค้าแบรนด์เนม ทำให้ขณะนี้เครื่องสำอางค์ระดับไฮเอนด์ เริ่มปรับราคาลง เริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ใช้เฉพาะเจาะจงกับผู้ใช้แต่ละคนให้มากขึ้น (Customized Label หรือ Private Label) อาทิ ต้องมีการตรวจสอบสภาพผิวและการทำวิเคราะห์ผิวของแต่ละคนว่า ควรมีการเพิ่มเติมสารชนิดใดลงในผลิตภัณฑ์ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้เทรนด์ดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นแล้ว
“เครื่องสำอางในตลาดแมส เริ่มปรับตัวเช่น โอเลย์ พอนด์ส ลอรีอัล ขยายโปรดักส์ไปสู่ตลาดเพรสทีจมากขึ้น แต่ตลาดใหญ่ในไทยยังคงเป็น สกินแคร์ 50% และอีก 20%เป็นแฮร์แคร์ ที่เหลือ 30% เป็นอื่นๆ”
รศ.ดร.พรรณวิภา กล่าวว่า กระแสความนิยมเครื่องสำอางที่มีสารสกัดจากธรรมชาติทั่วโลก เป็นโอกาสการตลาดของไทย เพราะเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสมุนไพร และยังไม่เป็นรองทางด้านเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องสำอางของเอเชีย ส่วนอันดับ 2 คือ ประเทศเกาหลี และไทย อันดับ 3 ส่วนการเปิดการค้าเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 58 เชื่อว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะไทยเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในตลาดอาเซียน
“ประเทศไทย ยังขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น บริษัทชิเซโด้มีนักวิจัยร่วม 1,000 คนในบริษัทเดียว แต่ไทยเหนือชั้นที่มีสมุนไพรหลากหลายที่มีประโยชน์ทั้งสิ้น”
ล่าสุดประเทศไทยได้จัดงานเครื่องสำอางโลก International Federation of the Societies of Cosmetic Chemists : IFSCC ครั้งแรกในรอบ 52 ปี เตรียมจัดระหว่าง 31 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน โดยมีผลงานวิจัยนวัตกรรมส่งเข้ามามากกว่า 200 ชิ้น ซึ่งประเทศไทยส่งผลงานเข้าเสนอ 3 ชิ้นงาน คือ ผลงานวิจัยจากเหงือกปลาหมอ มะหาก และบวบหอม นอกจากนี้ภายในงานยังมีร้านบูธจำหน่ายผลิตภณฑ์เครื่องสำอางทั้งไทยและต่างประเทศ 108 บูธ อาทิ แอมเวย์ นูสกิน ฯลฯ