ASTVผู้จัดการรายวัน - สำรวจผลงานกองทุนรอบ 5 เดือน กองทุนต่างประเทศยังสดใส ล่าสุด ธุรกิจ "เฮลธ์แคร์" โดดเด่น แซงหน้า "น้ำมัน-ทอง" ที่ผันผวนหนักจน ฉุดผลตอบแทนวูบลงเล็กน้อย โดยกองทุน "เอสซีไอ โกลบอล เฮลธ์แคร์" ของบลจ.นครหลวงไทย มาวิน ผลตอบแทน 5 เดือน 15.59%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม การลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ยังคงให้ผลตอบแทนที่ดี ทั้งกองทุนที่ลงทุนในประเทศและกองทุนที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) แม้บรรยากาศการลงทุนโดยรวมจะค่อนข้างผันผวนก็ตาม ทั้งนี้ จากการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดของลิปเปอร์พบว่า ในช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมา กองทุนที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นยังคงเป็นกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในสินค้าเกษตร รวมถึงสินค้าแบรนด์เนม และกองทุนที่ลงทุนในหุ้น Health Care ทั่วโลก ก็ให้ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นขึ้นมาเช่นกัน
ล่าสุด กองทุนเปิดเอสซีไอ โกลบอล เฮลธ์แคร์ ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด ซึ่งมีนโยบายลงทุนในธุรกิจ Health Care ทั่วโลก มีผลการดำเนินงานโดดเด่นขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ด้วยผลตอบแทนย้อนหลัง 5 เดือน 15.59%
ส่วนกองทุนเปิด ทิสโก้ อากริคัลเจอร์ ยูโร ฟันด์ ของบลจ.ทิสโก้ มีผลการดำเนินงานตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยผลตอบแทน 14.29% อันดับ 3 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยผลตอบแทน 13.11%
อันดับ 4 กองทุนเปิดบังหลวง โกลบอล เฮลธ์แคร์ ของบลจ. บัวหลวง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่เน้นลงทุนในธุรกิจ Health Care เช่นกัน โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังรอบ 5 เดือนอยู่ที่ 13.08% อันดับ 5 กองทุนเปิดธนชาต พรีเมี่ยม แบรนด์ ฟันด์ ของบลจ.ธนชาต ด้วยผลตอบแทน 11.18% อันดับ 6 กองทุนเปิด ING Thai Euro High Dividend ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ด้วยผลตอบแทน 10.11%
อันดับ 7 กองทุนเปิด Ktam World Energy ของบลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กองทุนนี้ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.99% อันดับ 8 กองทุนเปิด TMB Oil ของบลจ.ทหารไทย ด้วยผลตอบแทน 9.6% อันดับ 9 กองทุนเปิด TMB Gold ของบลจ.ทหารไทยอีก 1 กองทุน ด้วยผลตอบแทน 9.54% และอันดับ 10 กองทุนเปิด UOB Smart Commodity ของบลจ.ยูโอบี (ไทย) ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนในรอบ 5 เดือนอยู่ที่ 9.33%
ทั้งนี้ จะเห็นว่ากองทุนน้ำมันและกองทุนทองคำนั้น พบว่าผลตอบแทนลดลงจากก่อนหน้านี้พอสมควร เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาทองคำ ค่อนข้างผันผวนนั่นเอง
สำหรับผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้นในประเทศนั้น พบว่า กองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับต้นๆ ยังสามารถเอาชนะผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงเดียวกัน โดยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม ของบลจ.บังหลวงด้วยผลตอบแทน 11.74% อันดับ 2 กองทุนเปิดอยุธยารักษ์ก้าวหน้า ของบลจ.อยุธยา ด้วยผลตอบแทน 11.22% อันดับ 3 กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นไดนามิคปันผล ของบลจ.อยุธยาอีกหนึ่งกองทุน ด้วยผลตอบแทน 10.74%
อันดับ 4 กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน ของบลจ.บัวหลวง ด้วยผลตอบแทน 10.27% และอันดับ 5 กองทุนเปิดบัวแก้ว ของบลจ.บัวหลวงเช่นกันด้วยผลตอบแทน 10.04%
ส่วนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือแอลทีเอฟ 5 อันดับแรกประกอบด้วย อันดับ 1 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว ของบลจ.บัวหลวง ด้วยผลตอบแทน 10.27% อันดับ 2 กองทุนเปิดเอคควิตี้โปร หุ้นระยะยาว ของบลจ.ซีมิโก้ โดยกองทุนให้ผลตอบแทนในรอบ 5 เดือนอยู่ที่ 8.53% อันดับ 3 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 ของบลจ.บัวหลวงด้วยผลตอบแทน 8.5% อันดับ 4 กองทุนเปิดฟิลลิปหุ้นระยะยาวของบลจ.ฟิลลิป ด้วยผลตอบแทน 7.57% และอันดับ 5 กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย Big Cap ปันผล หุ้นระยะยาว ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ด้วยผลตอบแทน 7.15%
ทั้งนี้ ผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาเดียวกัน ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 6.77%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม การลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ยังคงให้ผลตอบแทนที่ดี ทั้งกองทุนที่ลงทุนในประเทศและกองทุนที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) แม้บรรยากาศการลงทุนโดยรวมจะค่อนข้างผันผวนก็ตาม ทั้งนี้ จากการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดของลิปเปอร์พบว่า ในช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมา กองทุนที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นยังคงเป็นกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในสินค้าเกษตร รวมถึงสินค้าแบรนด์เนม และกองทุนที่ลงทุนในหุ้น Health Care ทั่วโลก ก็ให้ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นขึ้นมาเช่นกัน
ล่าสุด กองทุนเปิดเอสซีไอ โกลบอล เฮลธ์แคร์ ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด ซึ่งมีนโยบายลงทุนในธุรกิจ Health Care ทั่วโลก มีผลการดำเนินงานโดดเด่นขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ด้วยผลตอบแทนย้อนหลัง 5 เดือน 15.59%
ส่วนกองทุนเปิด ทิสโก้ อากริคัลเจอร์ ยูโร ฟันด์ ของบลจ.ทิสโก้ มีผลการดำเนินงานตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยผลตอบแทน 14.29% อันดับ 3 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยผลตอบแทน 13.11%
อันดับ 4 กองทุนเปิดบังหลวง โกลบอล เฮลธ์แคร์ ของบลจ. บัวหลวง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่เน้นลงทุนในธุรกิจ Health Care เช่นกัน โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังรอบ 5 เดือนอยู่ที่ 13.08% อันดับ 5 กองทุนเปิดธนชาต พรีเมี่ยม แบรนด์ ฟันด์ ของบลจ.ธนชาต ด้วยผลตอบแทน 11.18% อันดับ 6 กองทุนเปิด ING Thai Euro High Dividend ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ด้วยผลตอบแทน 10.11%
อันดับ 7 กองทุนเปิด Ktam World Energy ของบลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กองทุนนี้ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.99% อันดับ 8 กองทุนเปิด TMB Oil ของบลจ.ทหารไทย ด้วยผลตอบแทน 9.6% อันดับ 9 กองทุนเปิด TMB Gold ของบลจ.ทหารไทยอีก 1 กองทุน ด้วยผลตอบแทน 9.54% และอันดับ 10 กองทุนเปิด UOB Smart Commodity ของบลจ.ยูโอบี (ไทย) ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนในรอบ 5 เดือนอยู่ที่ 9.33%
ทั้งนี้ จะเห็นว่ากองทุนน้ำมันและกองทุนทองคำนั้น พบว่าผลตอบแทนลดลงจากก่อนหน้านี้พอสมควร เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาทองคำ ค่อนข้างผันผวนนั่นเอง
สำหรับผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้นในประเทศนั้น พบว่า กองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับต้นๆ ยังสามารถเอาชนะผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงเดียวกัน โดยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม ของบลจ.บังหลวงด้วยผลตอบแทน 11.74% อันดับ 2 กองทุนเปิดอยุธยารักษ์ก้าวหน้า ของบลจ.อยุธยา ด้วยผลตอบแทน 11.22% อันดับ 3 กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นไดนามิคปันผล ของบลจ.อยุธยาอีกหนึ่งกองทุน ด้วยผลตอบแทน 10.74%
อันดับ 4 กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน ของบลจ.บัวหลวง ด้วยผลตอบแทน 10.27% และอันดับ 5 กองทุนเปิดบัวแก้ว ของบลจ.บัวหลวงเช่นกันด้วยผลตอบแทน 10.04%
ส่วนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือแอลทีเอฟ 5 อันดับแรกประกอบด้วย อันดับ 1 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว ของบลจ.บัวหลวง ด้วยผลตอบแทน 10.27% อันดับ 2 กองทุนเปิดเอคควิตี้โปร หุ้นระยะยาว ของบลจ.ซีมิโก้ โดยกองทุนให้ผลตอบแทนในรอบ 5 เดือนอยู่ที่ 8.53% อันดับ 3 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 ของบลจ.บัวหลวงด้วยผลตอบแทน 8.5% อันดับ 4 กองทุนเปิดฟิลลิปหุ้นระยะยาวของบลจ.ฟิลลิป ด้วยผลตอบแทน 7.57% และอันดับ 5 กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย Big Cap ปันผล หุ้นระยะยาว ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ด้วยผลตอบแทน 7.15%
ทั้งนี้ ผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาเดียวกัน ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 6.77%