ชงบอร์ด ทอท.เห็นชอบ ผลสรรหา “อนิรุทธิ์” นั่งเอ็มดีคนใหม่ตามคาด พร้อมหารือแผนพัฒนาสุวรรณภูมิ จ่อสร้างอาคารผู้โดยสารในประเทศก่อน หลังประเมินสิ้นปีนี้ผู้โดยสารทะลุ 46 ล้านคน/ปี เกินขีดความสามารถ หวั่นสุวรรณภูมิแออัด “คมนาคม” จี้ แก้ปัญหา ตม.แออัด ใช้ไอทีตรวจอาชญากรข้ามชาติ
นายนิรันดร์ ธีรนาทสิน รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ทอท.ที่มี นายธีรพล นพรัมภา เป็นประธานวันนี้ (22 มิ.ย.) จะมีการพิจารณาผลการสรรหาผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.ซึ่งคณะกรรมการสรรหาฯ ที่มี พลอากาศเอก ระเด่น พึ่งพักตร์ เป็นประธานได้สรุปผลการสรรหาฯ เรียบร้อยแล้ว โดยว่าที่ ร.ท.อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นอันดับที่ 1 โดยหากได้รับความเห็นชอบจากบอร์ดแล้ว ขั้นตอนต่อไป จะเจรจาค่าตอบแทนและข้อสัญญาจ้างกับคณะอนุกรรมการพิจารณาผลตอบแทนฯ ก่อนที่จะลงนามสัญญาว่าจ้างต่อไป โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเนื่องจาก ทอท.เป็นรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ทอท.ได้ประกาศรับสมัครผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.เมื่อวันที่ 25 เม.ย.-9 พ.ค.2554 ปรากฏว่า มีผู้สมัครจำนวน 3 ราย คือ เรืออากาศโทอนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร ผู้อำนวยการ ทสภ.,นายณัฐศิลป์ จงสงวน และ พ.ต.ท.ไพโรจน์ ปัญจประทีป อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดจะมีการหารือถึงการขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ปี 2554 จำนวนผู้โดยสารจะมีถึง 46 ล้านคนต่อปี ซึ่งเกินขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารที่สามารถรองรับได้ 45 ล้านคนต่อปี ดังนั้น บอร์ดจึงต้องการพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นในการเร่งก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic Terminal) ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 20 ล้านคนต่อปีก่อน โดยแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาทบทวนแผนแม่บท ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่วงแรก ควรมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารในประเทศด้วย
สำหรับอาคารผู้โดยสารในประเทศรองรับผู้โดยสาร 20 ล้านคนต่อปี ลงทุนประมาณ 9,000 ล้านบาท เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิช่วงแรก ดำเนินการในปี 2554-2558 วงเงินลงทุนประมาณ 21,900 ล้านบาท ซึ่งนอกจากอาคารผู้โดยสารแล้ว จะมีทางวิ่งเส้นที่ 3 ,ถนนเข้า-ออก อาคาร,อุโมงค์เชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารในประเทศกับสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น รองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 65 ล้านคนต่อปี ถึงปี 2561 และรองรับเที่ยวบินได้ 450,000 เที่ยวบินต่อปี จนถึงปี 2563
นอกจากนี้ ยังจะมีการรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหามัคคุเทศก์ (ไกด์ผี) และแท็กซี่เถื่อน ที่ให้บริการอยู่ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งหลังจากที่ ทอท.ได้ร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามและลงโทษอย่างเข้มงวดในช่วงที่ผ่านมา พบว่า มีผู้กระทำผิดลดลงเป็นจำนวนมาก
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวภายหลังประชุมแนวทางแก้ไขปัญหาในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วานนี้ (21 มิ.ย.) ว่า ได้สรุปแนวทางแก้ปัญหาความล่าช้าในขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) 2 ระยะ โดยระยะแรกได้ดำเนินการไปแล้ว คือ เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของ ตม.อีก 40 อัตรา เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการในเวลาเร่งด่วน ซึ่งประสบความสำเร็จค่อนข้างดี สามารถแก้ไขปัญหาความแออัดหน้า ตม.ได้ ส่วนระยะ 2 คือ การจัดหาระบบตรวจเช็กข้อมูลผู้โดยสารก่อนการเดินทาง เพื่อให้การตรวจเช็คมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า APIS และ APPS ซึ่งเป็นระบบตรวจเช็คข้อมูลเข้ามาให้บริการแทน โดยจะสามารถลดระยะเวลาในการใช้บริการลงเหลือ 25 วินาทีต่อคน จากเดิม 45 วินาทีต่อคน และจะสามารถตรวจสอบข้อมูลบุคคลต้องห้ามจากทั่วโลกก่อนได้ โดยเมื่อตรวจหนังสือเดินทาง (PASSPORT) จะทราบภายใน 3 วินาทีว่าเป็นอาชญากร หรือกระทำความผิดในต่างประเทศหลบหนีเข้ามาในไทยหรือไม่ และทำให้ดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที
นายนิรันดร์ ธีรนาทสิน รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ทอท.ที่มี นายธีรพล นพรัมภา เป็นประธานวันนี้ (22 มิ.ย.) จะมีการพิจารณาผลการสรรหาผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.ซึ่งคณะกรรมการสรรหาฯ ที่มี พลอากาศเอก ระเด่น พึ่งพักตร์ เป็นประธานได้สรุปผลการสรรหาฯ เรียบร้อยแล้ว โดยว่าที่ ร.ท.อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นอันดับที่ 1 โดยหากได้รับความเห็นชอบจากบอร์ดแล้ว ขั้นตอนต่อไป จะเจรจาค่าตอบแทนและข้อสัญญาจ้างกับคณะอนุกรรมการพิจารณาผลตอบแทนฯ ก่อนที่จะลงนามสัญญาว่าจ้างต่อไป โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเนื่องจาก ทอท.เป็นรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ทอท.ได้ประกาศรับสมัครผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.เมื่อวันที่ 25 เม.ย.-9 พ.ค.2554 ปรากฏว่า มีผู้สมัครจำนวน 3 ราย คือ เรืออากาศโทอนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร ผู้อำนวยการ ทสภ.,นายณัฐศิลป์ จงสงวน และ พ.ต.ท.ไพโรจน์ ปัญจประทีป อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดจะมีการหารือถึงการขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ปี 2554 จำนวนผู้โดยสารจะมีถึง 46 ล้านคนต่อปี ซึ่งเกินขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารที่สามารถรองรับได้ 45 ล้านคนต่อปี ดังนั้น บอร์ดจึงต้องการพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นในการเร่งก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic Terminal) ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 20 ล้านคนต่อปีก่อน โดยแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาทบทวนแผนแม่บท ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่วงแรก ควรมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารในประเทศด้วย
สำหรับอาคารผู้โดยสารในประเทศรองรับผู้โดยสาร 20 ล้านคนต่อปี ลงทุนประมาณ 9,000 ล้านบาท เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิช่วงแรก ดำเนินการในปี 2554-2558 วงเงินลงทุนประมาณ 21,900 ล้านบาท ซึ่งนอกจากอาคารผู้โดยสารแล้ว จะมีทางวิ่งเส้นที่ 3 ,ถนนเข้า-ออก อาคาร,อุโมงค์เชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารในประเทศกับสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น รองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 65 ล้านคนต่อปี ถึงปี 2561 และรองรับเที่ยวบินได้ 450,000 เที่ยวบินต่อปี จนถึงปี 2563
นอกจากนี้ ยังจะมีการรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหามัคคุเทศก์ (ไกด์ผี) และแท็กซี่เถื่อน ที่ให้บริการอยู่ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งหลังจากที่ ทอท.ได้ร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามและลงโทษอย่างเข้มงวดในช่วงที่ผ่านมา พบว่า มีผู้กระทำผิดลดลงเป็นจำนวนมาก
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวภายหลังประชุมแนวทางแก้ไขปัญหาในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วานนี้ (21 มิ.ย.) ว่า ได้สรุปแนวทางแก้ปัญหาความล่าช้าในขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) 2 ระยะ โดยระยะแรกได้ดำเนินการไปแล้ว คือ เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของ ตม.อีก 40 อัตรา เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการในเวลาเร่งด่วน ซึ่งประสบความสำเร็จค่อนข้างดี สามารถแก้ไขปัญหาความแออัดหน้า ตม.ได้ ส่วนระยะ 2 คือ การจัดหาระบบตรวจเช็กข้อมูลผู้โดยสารก่อนการเดินทาง เพื่อให้การตรวจเช็คมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า APIS และ APPS ซึ่งเป็นระบบตรวจเช็คข้อมูลเข้ามาให้บริการแทน โดยจะสามารถลดระยะเวลาในการใช้บริการลงเหลือ 25 วินาทีต่อคน จากเดิม 45 วินาทีต่อคน และจะสามารถตรวจสอบข้อมูลบุคคลต้องห้ามจากทั่วโลกก่อนได้ โดยเมื่อตรวจหนังสือเดินทาง (PASSPORT) จะทราบภายใน 3 วินาทีว่าเป็นอาชญากร หรือกระทำความผิดในต่างประเทศหลบหนีเข้ามาในไทยหรือไม่ และทำให้ดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที