“ปลัดคมนาคม” เตรียม ถก “ปลัดคลัง” เคลียร์เงินกู้แอร์พอร์ตลิงก์ 23 มิ.ย.นี้ หลังสบน.ติงการบริหารมีปัญหาโยน ร.ฟ.ท.ดูแลบริษัทลูก ระบุคลังต้องทำตามมติ ครม.จัดสรรเงินกู้ ให้ทั้งหมด 1,860 ล้านบาท ชี้ ต้องให้เวลาแอร์พอร์ตลิงก์ปรับปรุง และต้องให้เงินด้วย ด้าน “ภากรณ์” เผย ร.ฟ.ท.ยังค้างจ่ายทุนก้อนแรก 140 ล้านบาท
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ จะหารือกับ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ถึงเรื่องที่คลังต้องค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้กับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด หรือโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์) เพื่อเร่งรัดให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินกู้ให้แอร์พอร์ตลิงก์ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ได้ทำเรื่องเสนอไปเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ กรณีที่ทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ออกมาระบุว่า แอร์พอร์ตลิงก์มีปัญหาในการบริหารจัดการ และการจัดหาเงินสดใช้หมุนเวียนภายในควรเป็นหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั้น นายสุพจน์ กล่าวว่า เรื่องการบริหารจัดการของแอร์พอร์ตลิงก์ ต้องให้เวลาบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.อีกสักระยะ สิ่งสำคัญ คือ จะต้องมีเงินทุนเพื่อนำไปปรับปรุงการบริการด้วย โครงการถึงจะเดินหน้าต่อไปได้ตามเป้าหมาย ซึ่ง ครม.ได้มีมติให้เพิ่มทุนอีกอีก 1,860 ล้านบาทรวมของเดิม 140 ล้านบาท เป็น 2,000 ล้านบาท ก็เพื่อทำให้บริษัทมีเงินทุนสามารถบริหารจัดการได้ ถ้าไม่มีเงินจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้คงยาก และเรื่องนี้เป็นมติ ครม.แล้ว คลังคงปฏิเสธไม่ได้
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ ซีอีโอ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัดกล่าวว่า ได้ทำแผนเสนอให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินกู้ให้จำนวน 1,860 ล้านบาทตามมติ ครม.โดยงวดแรก ขอจัดสรร จำนวน 420 ล้านบาท ตามเงื่อนไขกู้ได้ 3 เท่าของทุนจดทะเบียน หรือ 3 เท่าของ 140 ล้านบาท โดยได้เข้าไปชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานแล้ว ซึ่งไม่มีการข้อท้วงติงใดๆ จึงไม่เข้าใจข่าวที่ออกมาว่า คลังจะตีกลับแผนกู้เงินของแอร์พอร์ตลิงก์
โดยเงินกู้ 420 ล้านบาทนั้น จะนำมาใช้เป็นเงินหมุนเวียนในปี 2554 ซึ่งจะมีการโอนพนักงานจาก จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมายังบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ถ้าไม่มีเงินก็ยังโอนไม่ได้ นอกจากนี้ เงินทุน 140 ล้านบาท ขณะนี้ร.ฟ.ท.ยังไม่ชำระหนี้ จากที่นัดจ่ายในวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา จึงเท่ากับขณะนี้แอร์พอร์ตลิ้งค์ยังไม่มีเงินเลย
ส่วนกรณีการเดินรถด่วนขบวน Express Line ซึ่งทาง สบน.ระบุว่า มีผู้ใช้บริการน้อยนั้น นายภากรณ์กล่าวว่า ขบวน Express เปิดบริการตามนโยบายที่ต้องการอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งแอร์พอร์ตลิ้งค์ถือเป็นบริการสาธารณะจะเน้นกำไร-ขาดทุนไม่ได้ และทั้งโครงการรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ล้วนประสบกับการขาดทุนมาก่อนที่จะมีกำไรทั้งสิ้น ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์นั้น คาดว่า ใน 3-4 ปีแรจะขาดทุนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เครื่องมือสำหรับในการบริหาร
นายภากรณ์ กล่าวว่า ในวันที่ 27 มิ.ย.นี้จะเจรจากับ บริษัท EMAST จากมาเลเซีย ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เพียงรายเดียว เพื่อต่อรองค่าจ้างจากที่เสนอมา180 ล้านบาท/ปีและตกลงเงื่อนไขในสัญญาจ้างซึ่งบางเรื่อง ที่ EMASTมานั้น ทีโออาร์ไม่ได้ระบุไว้ เช่น ต้องมีอะไหล่พร้อมตลอดเวลา เป็นต้น โดยหากได้ข้อยุติจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.พิจารณาในปลายเดือน มิ.ย.นี้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ จะหารือกับ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ถึงเรื่องที่คลังต้องค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้กับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด หรือโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์) เพื่อเร่งรัดให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินกู้ให้แอร์พอร์ตลิงก์ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ได้ทำเรื่องเสนอไปเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ กรณีที่ทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ออกมาระบุว่า แอร์พอร์ตลิงก์มีปัญหาในการบริหารจัดการ และการจัดหาเงินสดใช้หมุนเวียนภายในควรเป็นหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั้น นายสุพจน์ กล่าวว่า เรื่องการบริหารจัดการของแอร์พอร์ตลิงก์ ต้องให้เวลาบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.อีกสักระยะ สิ่งสำคัญ คือ จะต้องมีเงินทุนเพื่อนำไปปรับปรุงการบริการด้วย โครงการถึงจะเดินหน้าต่อไปได้ตามเป้าหมาย ซึ่ง ครม.ได้มีมติให้เพิ่มทุนอีกอีก 1,860 ล้านบาทรวมของเดิม 140 ล้านบาท เป็น 2,000 ล้านบาท ก็เพื่อทำให้บริษัทมีเงินทุนสามารถบริหารจัดการได้ ถ้าไม่มีเงินจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้คงยาก และเรื่องนี้เป็นมติ ครม.แล้ว คลังคงปฏิเสธไม่ได้
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ ซีอีโอ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัดกล่าวว่า ได้ทำแผนเสนอให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินกู้ให้จำนวน 1,860 ล้านบาทตามมติ ครม.โดยงวดแรก ขอจัดสรร จำนวน 420 ล้านบาท ตามเงื่อนไขกู้ได้ 3 เท่าของทุนจดทะเบียน หรือ 3 เท่าของ 140 ล้านบาท โดยได้เข้าไปชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานแล้ว ซึ่งไม่มีการข้อท้วงติงใดๆ จึงไม่เข้าใจข่าวที่ออกมาว่า คลังจะตีกลับแผนกู้เงินของแอร์พอร์ตลิงก์
โดยเงินกู้ 420 ล้านบาทนั้น จะนำมาใช้เป็นเงินหมุนเวียนในปี 2554 ซึ่งจะมีการโอนพนักงานจาก จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมายังบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ถ้าไม่มีเงินก็ยังโอนไม่ได้ นอกจากนี้ เงินทุน 140 ล้านบาท ขณะนี้ร.ฟ.ท.ยังไม่ชำระหนี้ จากที่นัดจ่ายในวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา จึงเท่ากับขณะนี้แอร์พอร์ตลิ้งค์ยังไม่มีเงินเลย
ส่วนกรณีการเดินรถด่วนขบวน Express Line ซึ่งทาง สบน.ระบุว่า มีผู้ใช้บริการน้อยนั้น นายภากรณ์กล่าวว่า ขบวน Express เปิดบริการตามนโยบายที่ต้องการอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งแอร์พอร์ตลิ้งค์ถือเป็นบริการสาธารณะจะเน้นกำไร-ขาดทุนไม่ได้ และทั้งโครงการรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ล้วนประสบกับการขาดทุนมาก่อนที่จะมีกำไรทั้งสิ้น ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์นั้น คาดว่า ใน 3-4 ปีแรจะขาดทุนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เครื่องมือสำหรับในการบริหาร
นายภากรณ์ กล่าวว่า ในวันที่ 27 มิ.ย.นี้จะเจรจากับ บริษัท EMAST จากมาเลเซีย ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เพียงรายเดียว เพื่อต่อรองค่าจ้างจากที่เสนอมา180 ล้านบาท/ปีและตกลงเงื่อนไขในสัญญาจ้างซึ่งบางเรื่อง ที่ EMASTมานั้น ทีโออาร์ไม่ได้ระบุไว้ เช่น ต้องมีอะไหล่พร้อมตลอดเวลา เป็นต้น โดยหากได้ข้อยุติจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.พิจารณาในปลายเดือน มิ.ย.นี้