ผู้อำนวยการ itd ชี้ท่องเที่ยวไทยยังหลงทาง กระแสตลาดเปลี่ยนเป็นกลุ่มนักเดินทางระยะใกล้ แต่แผนการนำเสนอขายสินค้ายังไม่ชัดเจน ส่วนตลาดภายในประเทศ ต้องเริ่มขยับ แยกรายเซกเมนต์ ชี้นโยบายหาเสียงพรรคการเมืองอย่าแค่ขายฝันประชานิยมเรื่อง”ปรองดอง” แต่ควรมีแผนให้ชัดเจน ด้านนายกสมาคมโรงแรม เผยไทยรั้งบ๊วยราคาห้องพักต่ำสุดในเอเชีย
วานนี้(31 พ.ค.54) ในการประชุมสมาชิกสมาคมโรงแรมไทย นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ผู้อำนวยการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ itd บรรยายในหัวข้อ “ทิศทางการท่องเที่ยวหลังการเลือกตั้ง” กล่าวว่า ทิศทางการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มปรับเปลี่ยนจากตลาดระยะไกล(ลองฮอลล์) มาเป็นตลาดระยะใกล้(ชอตฮอลล์) มากขึ้น คือประเทศในกลุ่มเอเชีย อาเซียน บราซิล รัสเซีย อินเดีย และ ขณะที่ประเทศไทยยังขาดการเตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวจากตลาดดังกล่าว ซึ่งการจะทำตลาดนักท่องเที่ยวเอเชีย จีน และ อินเดีย ให้ได้ดี ต้องศึกษาตลาดให้ชัดเจน แยกตามพื้นที่ เพราะมีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรม
สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือตลาดโดเมสติก นับจากนี้ต่อไป ควรให้ความสำคัญกับการทำตลาดแบบเซกเม้นต์ให้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมานิยมจับตลาดระดับกลาง กลุ่มมนุษย์เงินเดือน ใช้กลยุทธราคาและ ซีซั่นเป็นเกณฑ์ แต่ปัจจุบัน กลุ่มชนชั้นกลางของไทยปรับเปลี่ยน เริ่มมีผู้ประกอบการใหม่ที่ทำธุรกิจเอสเอ็มอี นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆแยกตาม เพศ วัย อาชีพ ช่วงอายุ ซึ่งนักท่องเที่ยวใหม่ๆเหล่านี้ จะสนใจเรื่องคุณภาพการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
นายวีระศักดิ์ กล่าวถึงการหาเสียงของพรรคการเมืองในช่วงเลือกตั้งนี้ด้วยว่า จึงควรเรียกร้องใน 2 ประเด็นหลักแก่พรรคการเมืองที่กำลังหาเสียง คือ 1. ต้องการให้ประชาชนเรียกร้องการนำเสนอท่าทีวิธีแสดงการทำงานร่วมกัน อย่านำเสนอแค่เพียงคำพูดว่า”ปรองดอง” เพราะเชื่อว่า โอกาสที่พรรคการเมืองเดียว
จะเข้ามาทำงานและเปลี่ยนแปลงประเทศได้ภายใน 5 ปี คงเป็นไป 2.ควรมีการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ของ 4 ฝ่าย คือ รัฐบาล เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น
“การทำงานร่วมกัน มีให้เห็นแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งไทยก็ต้องเข้าสู่การทำงานรูปแบบนี้ เพราะการที่จะให้รัฐทำงานดูแลอุตสาหกรรรมท่องเที่ยวเพียงฝ่ายเดียวก็จะขาดประสิทธิภาพ หากไม่เป็นเจ้าภาพก็ขาดการเชื่อมต่อ หรือ เอกชนทำเพียงฝ่ายเดียว ก็คงไม่สำเร็จ และไทยควรมีทั้งแผนบริหารความเสี่ยง เฉลี่ยความเสี่ยงและซื้อความเสี่ยง เช่น การซื้อประกันภัย ในรูปแบบต่างๆ”
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือ ทีเอชเอ กล่าวว่า สถานการณ์ราคาห้องพักในประเทศไทยยังรั้งท้าย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียและอาเซียน โดยอัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยของไทยปีก่อนอยู่ที่ 50% รั้งท้ายทุกประเทศที่มีมากกว่า 60-70% ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ยทุกประเทศปรับดีขึ้น โดย สิงคโปร์ และฮ่องกง มีราคาห้องพักเฉลี่ย คืนละ 250 ดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนประเทศไทย มีราคาเฉลี่ยที่กว่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐ
เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ร่วมออกแสดงในงาน ITB และ งาน WTM มีการจัดโปรโมชั่น สูงเพื่อดึงดูดลูกค้า อย่างไรก็ตาม อัตราเข้าพักโรงแรมทั่วประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 60%
ทั้งนี้ ในวันที่ 14 มิ.ย.54 ซึ่งสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟสต้า ได้จัดดีเบต เชิญ 5 พรรคการเมือง ร่วมชี้แจงนโยบายด้านการท่องเที่ยว ในส่วนของ ทีเอชเอ เตรียมเสนอ 4 ประเด็นที่ต้องการให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลเร่งดำเนินการโดยด่วน ได้แก่ 1.การปราบปรามโรงแรมเถื่อน ให้มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามที่กฎหมายกำหนด 2. การจัดโซนนิ่งการลงทุนด้านโรงแรมให้เพียงพอระหว่างดีมานด์ กับซัพพลาย 3. ต้องการให้เพิ่มตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ 4. ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้ง ผู้มีความรู้ความสามารถ เข้ามาช่วยดูแลเอกชน ในเรื่องการเตรียมความพร้อม เปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
วานนี้(31 พ.ค.54) ในการประชุมสมาชิกสมาคมโรงแรมไทย นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ผู้อำนวยการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ itd บรรยายในหัวข้อ “ทิศทางการท่องเที่ยวหลังการเลือกตั้ง” กล่าวว่า ทิศทางการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มปรับเปลี่ยนจากตลาดระยะไกล(ลองฮอลล์) มาเป็นตลาดระยะใกล้(ชอตฮอลล์) มากขึ้น คือประเทศในกลุ่มเอเชีย อาเซียน บราซิล รัสเซีย อินเดีย และ ขณะที่ประเทศไทยยังขาดการเตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวจากตลาดดังกล่าว ซึ่งการจะทำตลาดนักท่องเที่ยวเอเชีย จีน และ อินเดีย ให้ได้ดี ต้องศึกษาตลาดให้ชัดเจน แยกตามพื้นที่ เพราะมีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรม
สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือตลาดโดเมสติก นับจากนี้ต่อไป ควรให้ความสำคัญกับการทำตลาดแบบเซกเม้นต์ให้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมานิยมจับตลาดระดับกลาง กลุ่มมนุษย์เงินเดือน ใช้กลยุทธราคาและ ซีซั่นเป็นเกณฑ์ แต่ปัจจุบัน กลุ่มชนชั้นกลางของไทยปรับเปลี่ยน เริ่มมีผู้ประกอบการใหม่ที่ทำธุรกิจเอสเอ็มอี นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆแยกตาม เพศ วัย อาชีพ ช่วงอายุ ซึ่งนักท่องเที่ยวใหม่ๆเหล่านี้ จะสนใจเรื่องคุณภาพการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
นายวีระศักดิ์ กล่าวถึงการหาเสียงของพรรคการเมืองในช่วงเลือกตั้งนี้ด้วยว่า จึงควรเรียกร้องใน 2 ประเด็นหลักแก่พรรคการเมืองที่กำลังหาเสียง คือ 1. ต้องการให้ประชาชนเรียกร้องการนำเสนอท่าทีวิธีแสดงการทำงานร่วมกัน อย่านำเสนอแค่เพียงคำพูดว่า”ปรองดอง” เพราะเชื่อว่า โอกาสที่พรรคการเมืองเดียว
จะเข้ามาทำงานและเปลี่ยนแปลงประเทศได้ภายใน 5 ปี คงเป็นไป 2.ควรมีการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ของ 4 ฝ่าย คือ รัฐบาล เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น
“การทำงานร่วมกัน มีให้เห็นแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งไทยก็ต้องเข้าสู่การทำงานรูปแบบนี้ เพราะการที่จะให้รัฐทำงานดูแลอุตสาหกรรรมท่องเที่ยวเพียงฝ่ายเดียวก็จะขาดประสิทธิภาพ หากไม่เป็นเจ้าภาพก็ขาดการเชื่อมต่อ หรือ เอกชนทำเพียงฝ่ายเดียว ก็คงไม่สำเร็จ และไทยควรมีทั้งแผนบริหารความเสี่ยง เฉลี่ยความเสี่ยงและซื้อความเสี่ยง เช่น การซื้อประกันภัย ในรูปแบบต่างๆ”
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือ ทีเอชเอ กล่าวว่า สถานการณ์ราคาห้องพักในประเทศไทยยังรั้งท้าย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียและอาเซียน โดยอัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยของไทยปีก่อนอยู่ที่ 50% รั้งท้ายทุกประเทศที่มีมากกว่า 60-70% ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ยทุกประเทศปรับดีขึ้น โดย สิงคโปร์ และฮ่องกง มีราคาห้องพักเฉลี่ย คืนละ 250 ดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนประเทศไทย มีราคาเฉลี่ยที่กว่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐ
เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ร่วมออกแสดงในงาน ITB และ งาน WTM มีการจัดโปรโมชั่น สูงเพื่อดึงดูดลูกค้า อย่างไรก็ตาม อัตราเข้าพักโรงแรมทั่วประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 60%
ทั้งนี้ ในวันที่ 14 มิ.ย.54 ซึ่งสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟสต้า ได้จัดดีเบต เชิญ 5 พรรคการเมือง ร่วมชี้แจงนโยบายด้านการท่องเที่ยว ในส่วนของ ทีเอชเอ เตรียมเสนอ 4 ประเด็นที่ต้องการให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลเร่งดำเนินการโดยด่วน ได้แก่ 1.การปราบปรามโรงแรมเถื่อน ให้มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามที่กฎหมายกำหนด 2. การจัดโซนนิ่งการลงทุนด้านโรงแรมให้เพียงพอระหว่างดีมานด์ กับซัพพลาย 3. ต้องการให้เพิ่มตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ 4. ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้ง ผู้มีความรู้ความสามารถ เข้ามาช่วยดูแลเอกชน ในเรื่องการเตรียมความพร้อม เปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC