สสช.เผยผลสำรวจการว่างงานเดือน มี.ค. มีจำนวน 2.76 แสนราย คิดเป็น 0.7% ลดลง 9.20 หมื่นราย จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 8 พันราย จากเดือนก่อนหน้า พบกลุ่มนักศึกษายังครองแชมป์ ตังเลขตกงานเกือบ 1 แสนราย
รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมีนาคม 2554 มีทั้งสิ้น 276,000 คน คิดเป็นอัตราว่างงานร้อยละ 0.7 ลดลงจากปีก่อน 92,000 คน แม้จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 8,000 คน แต่ถือว่าเป็นอัตราว่างงานที่ค่อนข้างต่ำ
นอกจากนี้ ยังพบว่าในจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมด มาจากผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 103,000 คน ขณะที่เคยทำงานมาก่อนแล้วว่างงาน มีจำนวน 173,000 คน ลดลงจากปีก่อน 82,000 คน คือ จาก 255,000 คน เป็น 173,000 คน โดยเป็นผู้ว่างงานมาจากภาคการบริการและการค้า 75,000 คน , การผลิต 57,000 คน และภาคเกษตรกรรม 41,000 คน
จากข้อมูลผู้ว่างงานส่วนใหญ่ยังเป็นผู้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเช่นเดียวกับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 แม้ว่าจะมีจำนวนลดลงก็ตาม โดยมีจำนวนถึง 99,000 คน รองลงมามัธยมศึกษาตอนต้น 58,000 คน ระดับประถมศึกษา 52,000 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย 46,000 คน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 21,000 คน
โดย กทม. เป็นจังหวัดที่มีอัตราว่างงานสูงที่สุด ร้อยละ 1.2 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.5 รองลงมาเป็นภาคใต้ที่มีอัตราว่างงานร้อยละ1 ขณะที่ภาคเหนือมีอัตราว่างงานร้อยละ 0.7 ภาคกลางร้อยละ 0.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.5
ส่วนจำนวนผู้มีงานทำมีทั้งสิ้น 37.81 ล้านคน แยกเป็นผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรม 13.07 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 24.74 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าในภาคเกษตรกรรมมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 10,000 คน จาก 13.06 ล้านคน เป็น 13.07 ล้านคน ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรมมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 2 แสนคน หรือจาก 24.54 ล้านคน เป็น 24.74 ล้านคน
นอกภาคการเกษตรส่วนใหญ่มีผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นในสาขาการก่อสร้าง 2.2 แสนคน สาขากิจกรรมบริการด้านอื่นๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย การบริการซักรีดและซักแห้ง การซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น เพิ่มขึ้น 1.9 แสนคน สาขาการผลิต 1.5 แสนคน และสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ 1.2 แสนคน ส่วนที่ลดลงเป็นสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ 3.4 แสนคน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 2.3 แสนคน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 6 หมื่นคน ที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่น
รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมีนาคม 2554 มีทั้งสิ้น 276,000 คน คิดเป็นอัตราว่างงานร้อยละ 0.7 ลดลงจากปีก่อน 92,000 คน แม้จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 8,000 คน แต่ถือว่าเป็นอัตราว่างงานที่ค่อนข้างต่ำ
นอกจากนี้ ยังพบว่าในจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมด มาจากผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 103,000 คน ขณะที่เคยทำงานมาก่อนแล้วว่างงาน มีจำนวน 173,000 คน ลดลงจากปีก่อน 82,000 คน คือ จาก 255,000 คน เป็น 173,000 คน โดยเป็นผู้ว่างงานมาจากภาคการบริการและการค้า 75,000 คน , การผลิต 57,000 คน และภาคเกษตรกรรม 41,000 คน
จากข้อมูลผู้ว่างงานส่วนใหญ่ยังเป็นผู้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเช่นเดียวกับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 แม้ว่าจะมีจำนวนลดลงก็ตาม โดยมีจำนวนถึง 99,000 คน รองลงมามัธยมศึกษาตอนต้น 58,000 คน ระดับประถมศึกษา 52,000 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย 46,000 คน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 21,000 คน
โดย กทม. เป็นจังหวัดที่มีอัตราว่างงานสูงที่สุด ร้อยละ 1.2 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.5 รองลงมาเป็นภาคใต้ที่มีอัตราว่างงานร้อยละ1 ขณะที่ภาคเหนือมีอัตราว่างงานร้อยละ 0.7 ภาคกลางร้อยละ 0.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.5
ส่วนจำนวนผู้มีงานทำมีทั้งสิ้น 37.81 ล้านคน แยกเป็นผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรม 13.07 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 24.74 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าในภาคเกษตรกรรมมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 10,000 คน จาก 13.06 ล้านคน เป็น 13.07 ล้านคน ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรมมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 2 แสนคน หรือจาก 24.54 ล้านคน เป็น 24.74 ล้านคน
นอกภาคการเกษตรส่วนใหญ่มีผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นในสาขาการก่อสร้าง 2.2 แสนคน สาขากิจกรรมบริการด้านอื่นๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย การบริการซักรีดและซักแห้ง การซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น เพิ่มขึ้น 1.9 แสนคน สาขาการผลิต 1.5 แสนคน และสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ 1.2 แสนคน ส่วนที่ลดลงเป็นสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ 3.4 แสนคน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 2.3 แสนคน สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 6 หมื่นคน ที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่น