“พรทิวา” แย้มสินค้าส่วนใหญ่ยอมตรึงราคาต่อหลังพ้น 31 มี.ค.นี้ มีเพียงแค่นม ปุ๋ย เหล็ก และน้ำมันถั่วเหลือง เท่านั้น ที่จ่อขึ้น ส่วนน้ำตาลปิดประตูขึ้นราคา พร้อมชง ครม.เห็นชอบมาตรการอุดหนุนค่าบรรจุถุงให้ผู้ผลิต ขณะที่บอร์ดปาล์มถกวันนี้ ลุ้นปรับลดราคาหรือไม่ จับตาสัปดาห์หน้าไฟเขียวนม ปุ๋ยเคมี ขึ้นราคาแน่
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การดูแลราคาสินค้าหลังหมดมาตรการขอความร่วมมือตรึงราคาในวันที่ 31 มี.ค.นี้ สินค้าส่วนใหญ่ ยืนยันว่า สามารถตรึงราคาต่อไปได้ โดยเฉพาะกลุ่มสหพัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ได้แจ้งยืนยันมาแล้วว่าจะตรึงราคาต่อไปจนถึงไตรมาส 2 และอาจต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 ดังนั้น ผู้ประกอบการรายอื่นก็น่าจะตรึงราคาต่อไปได้
ทั้งนี้ มีเพียงสินค้า 4 รายการ คือ นม ปุ๋ยเคมี เหล็ก และน้ำมันถั่วเหลืองเท่านั้น ที่อาจมีการพิจารณาให้ปรับขึ้นราคา เพราะต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจริง โดยขณะนี้กรมการค้าภายในกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงสร้างต้นทุน ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาได้ภายในสัปดาห์หน้านี้
สำหรับสินค้าน้ำตาลทรายบรรจุถุงขนาด 1 กก.กระทรวงพาณิชย์ ยืนยันที่จะไม่ให้มีการปรับขึ้นราคา ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งโรงงานน้ำตาล และกระทรวงอุตสาหกรรมไปแล้ว เพราะหากปรับขึ้นราคาก็จะกระทบต่อประชาชนและสินค้าเกี่ยวเนื่องที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบ โดยแนวทางที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ก็คือ ควรจะเข้าไปดูแลเรื่องต้นทุนถุงที่ปรับขึ้น ได้เสนอให้มีการนำเงินจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมาชดเชยให้กับผู้ผลิตเพื่อไม่ให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย โดยปัจจุบันต้นทุนถุงปรับขึ้นจาก 75 สตางค์ มาอยู่ที่ 1.40 บาท/ถุง ซึ่งได้นำเสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาแล้ว หากเห็นด้วยก็จะนำเสนอให้ ครม.พิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า
“ชาวไร่อ้อยไม่ต้องกังวลว่าจะไปดึงเอาเงินที่ดูแลชาวไร่มาใช้ แม้แต่สลึงเดียวก็ไม่คิดจะเอา แต่ส่วนที่เสนอไปเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มโควตา ก (บริโภคในประเทศ) เป็นการดึงเอาเงินที่ผู้บริโภคจ่ายเอามาช่วยผู้บริโภค และไม่น่าจะใช้เงินมากมาย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เห็นว่า เป็นแนวทางที่ทำได้ และแก้ปัญหาได้ทันที และจะเสนอเป็นมาตรการให้ ครม.พิจารณา ถ้า ครม.ไม่เห็นด้วย ก็ต้องมีแนวทางมาให้ว่าจะให้ทำยังไงต่อไป” นางพรทิวา กล่าว
ส่วนสินค้าน้ำมันปาล์มบรรจุขวด ในวันนี้ (30 มี.ค.) จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายน้ำมันปาล์มแห่งชาติ ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน ซึ่งจะมีการทบทวนการชดเชยน้ำมันปาล์ม 4 หมื่นตัน ที่ให้โรงกลั่นรับซื้อผลผลิตในประเทศและรัฐชดเชยให้ 2.50 บาท/กก.ว่า ยังจำเป็นหรือไม่ เพราะขณะนี้สถานการณ์เริ่มกลับเข้าภาวะปกติ ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและมีเพียงพอ ก็อาจไม่จำเป็นต้องชดเชยแล้ว ขณะเดียวกัน จะมีการหารือถึงปริมาณผลผลิตว่าเป็นอย่างไร สถานการณ์ด้านราคาของผลผลิตเป็นอย่างไร เพื่อประเมินต้นทุน ซึ่งจะมีผลต่อราคาขายปลีก
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า กรมจะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาสินค้าเฉพาะเรื่อง 2 คณะ คือ กลุ่มนมและปุ๋ยเคมี โดยคาดว่าจะอนุมัติให้นมสดพาสเจอร์ไรซ์ และนมยูเอชที ขนาดเล็กปรับขึ้นราคาไม่เกิน 25 สตางค์/กล่อง/ขวด ส่วนขนาดใหญ่จะอนุมัติให้ปรับราคาตามสัดส่วน หลังจากที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น 1 บาท จาก 17 บาท/กก.เป็น 18 บาท/กก.เมื่อรวมกับการปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบ 50 สตางค์ ช่วงปลายปีที่แล้ว จะทำให้น้ำนมดิบปรับราคาขึ้นมาแล้ว 1.50 บาท/กก.
สำหรับปุ๋ยเคมีจะอนุมัติให้ปรับขึ้นบางสูตร โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียที่ขอปรับเข้ามา 3 สูตร และขอปรับราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8-10% แต่การพิจารณาคงไม่อนุมัติให้ปรับราคาขึ้นตามที่ผู้ประกอบการเสนอมาทั้งหมด เพราะจะกระทบกับเกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ยมากเกินไป ขณะที่สินค้าเหล็กและน้ำมันถั่วเหลือง จะยังไม่มีการเรียกประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาราคา โดยขอดูสถานการณ์วัตถุดิบก่อน
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การดูแลราคาสินค้าหลังหมดมาตรการขอความร่วมมือตรึงราคาในวันที่ 31 มี.ค.นี้ สินค้าส่วนใหญ่ ยืนยันว่า สามารถตรึงราคาต่อไปได้ โดยเฉพาะกลุ่มสหพัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ได้แจ้งยืนยันมาแล้วว่าจะตรึงราคาต่อไปจนถึงไตรมาส 2 และอาจต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 ดังนั้น ผู้ประกอบการรายอื่นก็น่าจะตรึงราคาต่อไปได้
ทั้งนี้ มีเพียงสินค้า 4 รายการ คือ นม ปุ๋ยเคมี เหล็ก และน้ำมันถั่วเหลืองเท่านั้น ที่อาจมีการพิจารณาให้ปรับขึ้นราคา เพราะต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจริง โดยขณะนี้กรมการค้าภายในกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงสร้างต้นทุน ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาได้ภายในสัปดาห์หน้านี้
สำหรับสินค้าน้ำตาลทรายบรรจุถุงขนาด 1 กก.กระทรวงพาณิชย์ ยืนยันที่จะไม่ให้มีการปรับขึ้นราคา ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งโรงงานน้ำตาล และกระทรวงอุตสาหกรรมไปแล้ว เพราะหากปรับขึ้นราคาก็จะกระทบต่อประชาชนและสินค้าเกี่ยวเนื่องที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบ โดยแนวทางที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ก็คือ ควรจะเข้าไปดูแลเรื่องต้นทุนถุงที่ปรับขึ้น ได้เสนอให้มีการนำเงินจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมาชดเชยให้กับผู้ผลิตเพื่อไม่ให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย โดยปัจจุบันต้นทุนถุงปรับขึ้นจาก 75 สตางค์ มาอยู่ที่ 1.40 บาท/ถุง ซึ่งได้นำเสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาแล้ว หากเห็นด้วยก็จะนำเสนอให้ ครม.พิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า
“ชาวไร่อ้อยไม่ต้องกังวลว่าจะไปดึงเอาเงินที่ดูแลชาวไร่มาใช้ แม้แต่สลึงเดียวก็ไม่คิดจะเอา แต่ส่วนที่เสนอไปเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มโควตา ก (บริโภคในประเทศ) เป็นการดึงเอาเงินที่ผู้บริโภคจ่ายเอามาช่วยผู้บริโภค และไม่น่าจะใช้เงินมากมาย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เห็นว่า เป็นแนวทางที่ทำได้ และแก้ปัญหาได้ทันที และจะเสนอเป็นมาตรการให้ ครม.พิจารณา ถ้า ครม.ไม่เห็นด้วย ก็ต้องมีแนวทางมาให้ว่าจะให้ทำยังไงต่อไป” นางพรทิวา กล่าว
ส่วนสินค้าน้ำมันปาล์มบรรจุขวด ในวันนี้ (30 มี.ค.) จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายน้ำมันปาล์มแห่งชาติ ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน ซึ่งจะมีการทบทวนการชดเชยน้ำมันปาล์ม 4 หมื่นตัน ที่ให้โรงกลั่นรับซื้อผลผลิตในประเทศและรัฐชดเชยให้ 2.50 บาท/กก.ว่า ยังจำเป็นหรือไม่ เพราะขณะนี้สถานการณ์เริ่มกลับเข้าภาวะปกติ ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและมีเพียงพอ ก็อาจไม่จำเป็นต้องชดเชยแล้ว ขณะเดียวกัน จะมีการหารือถึงปริมาณผลผลิตว่าเป็นอย่างไร สถานการณ์ด้านราคาของผลผลิตเป็นอย่างไร เพื่อประเมินต้นทุน ซึ่งจะมีผลต่อราคาขายปลีก
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า กรมจะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาสินค้าเฉพาะเรื่อง 2 คณะ คือ กลุ่มนมและปุ๋ยเคมี โดยคาดว่าจะอนุมัติให้นมสดพาสเจอร์ไรซ์ และนมยูเอชที ขนาดเล็กปรับขึ้นราคาไม่เกิน 25 สตางค์/กล่อง/ขวด ส่วนขนาดใหญ่จะอนุมัติให้ปรับราคาตามสัดส่วน หลังจากที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น 1 บาท จาก 17 บาท/กก.เป็น 18 บาท/กก.เมื่อรวมกับการปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบ 50 สตางค์ ช่วงปลายปีที่แล้ว จะทำให้น้ำนมดิบปรับราคาขึ้นมาแล้ว 1.50 บาท/กก.
สำหรับปุ๋ยเคมีจะอนุมัติให้ปรับขึ้นบางสูตร โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียที่ขอปรับเข้ามา 3 สูตร และขอปรับราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8-10% แต่การพิจารณาคงไม่อนุมัติให้ปรับราคาขึ้นตามที่ผู้ประกอบการเสนอมาทั้งหมด เพราะจะกระทบกับเกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ยมากเกินไป ขณะที่สินค้าเหล็กและน้ำมันถั่วเหลือง จะยังไม่มีการเรียกประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาราคา โดยขอดูสถานการณ์วัตถุดิบก่อน