ตลาดน้ำมันพืชปั่นป่วนอีกระลอก น้ำมันรำข้าว ยื่นกรมการค้าภายในขอปรับราคา โอดต้นทุนพุ่ง 25% “คิง” ประชุมพิจารณาต้นทุน-โครงสร้างราคาจ่อขยับ “สุเมธ ดำรงชัยธรรม” ผู้บริหารน้ำมันถั่วเหลืององุ่น เปิดใจขยับราคาต้องสมเหตุสมผล ชี้ขึ้น 55 บาทต่อลิตร บรรเทาผู้ผลิตเบื้องต้น
นายประวิทย์ สันติวัฒนา กรรมการบริหาร บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันรำข้าวคิงง กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา บริษัทได้ประชุมเพื่อพิจารณาปรับราคาน้ำมันรำข้าวคิงขึ้น หลังจากปลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับราคาสินค้าขึ้น 10% จาก 49 บาทต่อลิตร เพิ่มเป็น 54-55 บาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตเฉพาะรำข้าวเพิ่มขึ้น 25% หรือจาก 9 บาทต่อ กก.เพิ่มเป็น 11 บาทต่อ กก.มาจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นและปัญหาน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมีราคาแพงขึ้น ส่วนปีนี้สภาพอากาศก็คาดเดาได้ยาก ว่าจะเจอภัยแล้ง น้ำท่วมหรือไม่ และยังไม่รวมถึงต้นทุนน้ำมัน และวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
**คู่แข่งแอบขอปรับราคาแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ประกอบการน้ำมันรำข้าวรายหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่แข่งกับน้ำมันรำข้าวคิงยื่นต่อกรมการค้าภายใน เพื่อขอปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่น้ำมันรำข้าวคิงเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ครองส่วนแบ่ง 70-75% กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะมีการปรับราคาหรือไม่ ทั้งนี้ปัจจัยที่น้ำมันรำข้าวต้องปรับราคา ส่วนหนึ่งมาจากราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็เกี่ยวเนื่องกับกลไกราคาสินค้า กรณีที่น้ำมันถั่วเหลืองขึ้นราคา ในเบื้องต้น 55 บาทต่อลิตร เทียบเท่ากับน้ำมันรำข้าวซึ่งปัจจุบันจำหน่ายราคา 54-55 บาท จากปัจจุบันน้ำมันรำข้าวจำหน่ายราคาสูงกว่าน้ำมันถั่วเหลือง 8-9 บาท
ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันถั่วเหลืองเท่ากับรำข้าว โอกาสที่คนจะหันมาซื้อน้ำมันรำข้าวมีมากขึ้น ก็จะทำให้น้ำมันรำข้าวขาดแคลน นายประวิทย์ กล่าวเสริมว่า ทุกวันนี้น้ำมันรำข้าวก็ขาดแคลนอยู่แล้ว เพราะตลาดน้ำมันปาล์มใหญ่มีสัดส่วน 65% ขณะที่ถั่วเหลือง 25% และรำข้าว 7% รวมกันเป็น 32% ก็ไม่สามารถชดเชยกับน้ำมันปาล์มที่ขาดแคลนได้
ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิต 2.4 หมื่นตันต่อปี ส่งออก 55% และป้อนในตลาด 45% แต่สต็อกในโรงงานเหลือแค่ 2 วันทำการเท่านั้น จากปกติการดำเนินธุรกิจต้องมีสต๊อก 7-10 วันทำการ หรือ มี 600-700 หน่วย เพื่อรองรับกับออเดอร์ที่สั่งเพิ่มในกรณีเร่งด่วน อย่างไรก็ตามปลายปีนี้บริษัทจะปรับปรุงเครื่องจักร โดยใช้งบกว่า 10 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต 20% รองรับกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับทิ้งท้ายด้วยว่า สภาพตลาดน้ำมันพืชที่เกิดขึ้นลามเป็นลูกโซ่ จากปาล์มขาดแคลน มาสู่น้ำมันถั่วเหลืองรำข้าว ท้ายที่สุด ไม่อยากเห็นคนไทยกลับไปใช้น้ำมันหมูในการปรุงอาหาร
***น้ำมันถั่วเหลืองผู้ร้ายในคราบน้ำตา
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันถั่วเหลืององุ่น กล่าวเปิดใจถึงกรณีที่น้ำมันถั่วเหลืองขอปรับราคาขึ้น ท่ามกลางที่สินค้าหลายตัวปรับราคาขึ้น ว่า เวลานี้สังคมมองว่า น้ำมันถั่วเหลืองเป็นผู้ร้าย ที่อยู่ๆ ก็ขอปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคในสังคมไทย แต่ทว่าที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 จนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ต้นทุนการผลิตน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมาจากถั่วเหลือง 90% มีต้นทุนสูงขึ้น 44% หรือจาก 900 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เป็น 1,500 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
ดังนั้น ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมานี้ ทางสมาคมน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว ได้ยื่นต่อกรมการค้าภายใน เพื่อขอปรับราคาสินค้าขึ้น ซึ่งภาครัฐได้ขอความร่วมมือให้ตรึงราคาสินค้าไปก่อน กระทั่งขณะนี้เกิดปัญหานำมันถั่วเหลืองขาดแคลน เพราะด้วยกลไกราคาที่บิดเบือน จากการที่ถั่วเหลืองขายถูกกว่าน้ำมันปาล์ม 1 บาท คือ 46 บาทต่อลิตร สิ่งที่บริษัทต้องการคือปรับราคาสินค้าขึ้น 19 บาท ต่อลิตร หรือเพิ่มเป็น 65 บาท เพื่อสะท้อนต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง แต่สำหรับผมมองว่า ราคาที่สมเหตุและสมผลในเวลานี้ คือ 55 บาท ซึ่งจะไม่เป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคมากจนเกินไป
“การปรับราคาน้ำมันถั่วเหลืองจาก 46 บาท เป็น 55 บาท ผมต้องบอกว่าเป็นเพียงการบรรเทาผู้ประกอบการไม่ให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นเท่านั้น”
การทำตลาดปีนี้ของน้ำมันพืชองุ่น ซึ่งเป็นผู้นำตลาดน้ำมันถั่วเหลืองครองส่วนแบ่ง 65% ประเมินสถานการณ์ลำบาก ต้องรอดูเดือนเมษายนนี้ ที่ผลผลิตปาล์มจะออกสู่ตลาด นายสุเมธ กล่าวว่า ต่อไปในอนาคตราคาน้ำมันพืชจะผกผันอย่างรุนแรง เพราะเป็นพืชที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทน ดังนั้น โครงสร้างของน้ำมันพืชจะหาจุดสมดุลได้ยากมากขึ้น และยิ่งขณะนี้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง มีปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันจะแพงขึ้น ทำให้ยิ่งต้องใช้พืชพลังงานเพิ่มขึ้น
“ผมว่าที่ผ่านมา ภาครัฐแทรกแซงโครงสร้างราคามากเกินไป จนกระทั่งผู้ประกอบการขยับตัวไม่ได้เลย รัฐต้องให้ผู้ผลิตขยับตัวได้บ้าง แต่ก็ไม่ถึงขนาดปล่อยลอยตัว 100% ผมว่าถึงเวลานี้ผู้บริโภคเองก็ต้องเลือก บริโภคสินค้าในราคาที่แพงขึ้นบ้าง แต่ของยังมีอยู่ในตลาด หรือในทางกลับกันถ้าต้องการให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าราคาถูก และมีของภาครัฐก็ต้องชดเชยให้ อย่างไรก็ตาม ผมไม่อยากให้ผู้บริโภคกังวล การขึ้นราคาน้ำมันถั่วเหลืองต้องสมเหตุสมผลแน่นอน”
บริษัทต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการน้ำมันถั่วเหลืองอย่างเร่งด่วน โดยมี 2 แนวทาง คือ การให้การอุดหนุนแก่ผู้ประกอบการ เช่นเดียวกับภาครัฐให้การอุดหนุนน้ำมันปาล์ม 9.50 บาท และอีกแนวทางหนึ่ง คือ การอนุมัติให้ปรับราคาสินค้าขึ้น แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่า กรมการค้าภายในจะอนุมัติให้น้ำมันถั่วเหลืองปรับราคาขึ้นนเมื่อใด ซึ่งน้ำมันถั่วเหลืองไม่ได้ขึ้นราคามาตั้งแต่ปี 2552 หรือเป็นเวลากว่า 1 ปี
นายประวิทย์ สันติวัฒนา กรรมการบริหาร บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันรำข้าวคิงง กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา บริษัทได้ประชุมเพื่อพิจารณาปรับราคาน้ำมันรำข้าวคิงขึ้น หลังจากปลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับราคาสินค้าขึ้น 10% จาก 49 บาทต่อลิตร เพิ่มเป็น 54-55 บาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตเฉพาะรำข้าวเพิ่มขึ้น 25% หรือจาก 9 บาทต่อ กก.เพิ่มเป็น 11 บาทต่อ กก.มาจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นและปัญหาน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมีราคาแพงขึ้น ส่วนปีนี้สภาพอากาศก็คาดเดาได้ยาก ว่าจะเจอภัยแล้ง น้ำท่วมหรือไม่ และยังไม่รวมถึงต้นทุนน้ำมัน และวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
**คู่แข่งแอบขอปรับราคาแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ประกอบการน้ำมันรำข้าวรายหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่แข่งกับน้ำมันรำข้าวคิงยื่นต่อกรมการค้าภายใน เพื่อขอปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่น้ำมันรำข้าวคิงเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ครองส่วนแบ่ง 70-75% กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะมีการปรับราคาหรือไม่ ทั้งนี้ปัจจัยที่น้ำมันรำข้าวต้องปรับราคา ส่วนหนึ่งมาจากราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็เกี่ยวเนื่องกับกลไกราคาสินค้า กรณีที่น้ำมันถั่วเหลืองขึ้นราคา ในเบื้องต้น 55 บาทต่อลิตร เทียบเท่ากับน้ำมันรำข้าวซึ่งปัจจุบันจำหน่ายราคา 54-55 บาท จากปัจจุบันน้ำมันรำข้าวจำหน่ายราคาสูงกว่าน้ำมันถั่วเหลือง 8-9 บาท
ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันถั่วเหลืองเท่ากับรำข้าว โอกาสที่คนจะหันมาซื้อน้ำมันรำข้าวมีมากขึ้น ก็จะทำให้น้ำมันรำข้าวขาดแคลน นายประวิทย์ กล่าวเสริมว่า ทุกวันนี้น้ำมันรำข้าวก็ขาดแคลนอยู่แล้ว เพราะตลาดน้ำมันปาล์มใหญ่มีสัดส่วน 65% ขณะที่ถั่วเหลือง 25% และรำข้าว 7% รวมกันเป็น 32% ก็ไม่สามารถชดเชยกับน้ำมันปาล์มที่ขาดแคลนได้
ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิต 2.4 หมื่นตันต่อปี ส่งออก 55% และป้อนในตลาด 45% แต่สต็อกในโรงงานเหลือแค่ 2 วันทำการเท่านั้น จากปกติการดำเนินธุรกิจต้องมีสต๊อก 7-10 วันทำการ หรือ มี 600-700 หน่วย เพื่อรองรับกับออเดอร์ที่สั่งเพิ่มในกรณีเร่งด่วน อย่างไรก็ตามปลายปีนี้บริษัทจะปรับปรุงเครื่องจักร โดยใช้งบกว่า 10 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต 20% รองรับกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับทิ้งท้ายด้วยว่า สภาพตลาดน้ำมันพืชที่เกิดขึ้นลามเป็นลูกโซ่ จากปาล์มขาดแคลน มาสู่น้ำมันถั่วเหลืองรำข้าว ท้ายที่สุด ไม่อยากเห็นคนไทยกลับไปใช้น้ำมันหมูในการปรุงอาหาร
***น้ำมันถั่วเหลืองผู้ร้ายในคราบน้ำตา
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันถั่วเหลืององุ่น กล่าวเปิดใจถึงกรณีที่น้ำมันถั่วเหลืองขอปรับราคาขึ้น ท่ามกลางที่สินค้าหลายตัวปรับราคาขึ้น ว่า เวลานี้สังคมมองว่า น้ำมันถั่วเหลืองเป็นผู้ร้าย ที่อยู่ๆ ก็ขอปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคในสังคมไทย แต่ทว่าที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 จนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ต้นทุนการผลิตน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมาจากถั่วเหลือง 90% มีต้นทุนสูงขึ้น 44% หรือจาก 900 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เป็น 1,500 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
ดังนั้น ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมานี้ ทางสมาคมน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว ได้ยื่นต่อกรมการค้าภายใน เพื่อขอปรับราคาสินค้าขึ้น ซึ่งภาครัฐได้ขอความร่วมมือให้ตรึงราคาสินค้าไปก่อน กระทั่งขณะนี้เกิดปัญหานำมันถั่วเหลืองขาดแคลน เพราะด้วยกลไกราคาที่บิดเบือน จากการที่ถั่วเหลืองขายถูกกว่าน้ำมันปาล์ม 1 บาท คือ 46 บาทต่อลิตร สิ่งที่บริษัทต้องการคือปรับราคาสินค้าขึ้น 19 บาท ต่อลิตร หรือเพิ่มเป็น 65 บาท เพื่อสะท้อนต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง แต่สำหรับผมมองว่า ราคาที่สมเหตุและสมผลในเวลานี้ คือ 55 บาท ซึ่งจะไม่เป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคมากจนเกินไป
“การปรับราคาน้ำมันถั่วเหลืองจาก 46 บาท เป็น 55 บาท ผมต้องบอกว่าเป็นเพียงการบรรเทาผู้ประกอบการไม่ให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นเท่านั้น”
การทำตลาดปีนี้ของน้ำมันพืชองุ่น ซึ่งเป็นผู้นำตลาดน้ำมันถั่วเหลืองครองส่วนแบ่ง 65% ประเมินสถานการณ์ลำบาก ต้องรอดูเดือนเมษายนนี้ ที่ผลผลิตปาล์มจะออกสู่ตลาด นายสุเมธ กล่าวว่า ต่อไปในอนาคตราคาน้ำมันพืชจะผกผันอย่างรุนแรง เพราะเป็นพืชที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทน ดังนั้น โครงสร้างของน้ำมันพืชจะหาจุดสมดุลได้ยากมากขึ้น และยิ่งขณะนี้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง มีปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันจะแพงขึ้น ทำให้ยิ่งต้องใช้พืชพลังงานเพิ่มขึ้น
“ผมว่าที่ผ่านมา ภาครัฐแทรกแซงโครงสร้างราคามากเกินไป จนกระทั่งผู้ประกอบการขยับตัวไม่ได้เลย รัฐต้องให้ผู้ผลิตขยับตัวได้บ้าง แต่ก็ไม่ถึงขนาดปล่อยลอยตัว 100% ผมว่าถึงเวลานี้ผู้บริโภคเองก็ต้องเลือก บริโภคสินค้าในราคาที่แพงขึ้นบ้าง แต่ของยังมีอยู่ในตลาด หรือในทางกลับกันถ้าต้องการให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าราคาถูก และมีของภาครัฐก็ต้องชดเชยให้ อย่างไรก็ตาม ผมไม่อยากให้ผู้บริโภคกังวล การขึ้นราคาน้ำมันถั่วเหลืองต้องสมเหตุสมผลแน่นอน”
บริษัทต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการน้ำมันถั่วเหลืองอย่างเร่งด่วน โดยมี 2 แนวทาง คือ การให้การอุดหนุนแก่ผู้ประกอบการ เช่นเดียวกับภาครัฐให้การอุดหนุนน้ำมันปาล์ม 9.50 บาท และอีกแนวทางหนึ่ง คือ การอนุมัติให้ปรับราคาสินค้าขึ้น แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่า กรมการค้าภายในจะอนุมัติให้น้ำมันถั่วเหลืองปรับราคาขึ้นนเมื่อใด ซึ่งน้ำมันถั่วเหลืองไม่ได้ขึ้นราคามาตั้งแต่ปี 2552 หรือเป็นเวลากว่า 1 ปี