รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เล็งใช้เงินกองทุนกีฬา 20 ล้านบาท ปั้นไอเดีย สร้าง “ตรามาตรฐานมวยไทย” หวังใช้เป็นยุทธ์สร้างภาพลักษณ์ประเทศ ต่อยอดขยายฐานนักท่องเที่ยวเจาะตลาดนิชมาร์เก็ต เผยผลสำรวจกระทรวงการต่างประเทศ แจงพบค่ายมวยไทยทั่วโลกมีกว่า 3 หมื่นแห่ง ล่าสุด เตรียมโครงการนำร่อง จัดแฟมทริปเชิญสื่อและเอเยนต์ทัวร์ เยี่ยมค่ายมวยอยุธยา-ราชบุรี
นางธนิฎฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวและกีฬา เห็นด้วยในหลักการ ที่จะให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ดำเนินการจัดทำตรามาตรฐานมวยไทย ดังนั้น เบื้องต้นจึงเตรียมใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท จากกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ และการจัดทำเงื่อนไขมาตรฐานมวยไทย โดยมีแนวคิดจะใช้มวยไทยในการสร้างแบรนด์ประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยว เพื่อเจาะตลาดเป้าหมายนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจเฉพาะ (นิชมาร์เก็ต)
ความน่าสนใจของโครงการนี้ สืบเนื่องมาจากผลสำรวจของกระทรวงการต่างประเทศ พบว่า ปัจจุบัน มีการเปิดค่ายมวยไทยในทั่วโลกเป็นจำนวนมาก ราว 2-3 หมื่นค่าย และที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมีจำนวนกว่า 3 พันค่าย จาก 30 ประเทศทั่วโลก เช่น โมร็อกโก มีค่ายมวยไทย กว่า 220 แห่ง แอฟริกา เมื่อ 10 ปีก่อนมีมากกว่า 10 ค่าย ซึ่งกว่า 90% เจ้าของค่ายไม่ได้เป็นคนไทย ครูฝึกก็ไม่ใช่คนไทย เพียงแต่เคยมาฝึกหรือเยี่ยมชมมวยไทยแล้วกลับไปเปิดค่าย
“ที่ผ่านมา การโรดโชว์ด้านการท่องเที่ยวของไทย จะนำกิจกรรม สปา เมดิคัล วัฒนธรรมประเพณีไทย ออกไปโปรโมต แต่กระทรวงต้องการแสดงให้เห็นว่าท่องเที่ยวและกีฬา ทำงานแบบบูรณาการ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกันได้ และเห็นว่า กีฬามวยไทยเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ เราจึงควรจัดระบบ มอบตรามาตรฐานให้ค่ายมวย เสมือนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ประเทศไทยที่เป็นต้นตำหรับกีฬาประเภทนี้ ก่อเกิดการต่อยอดของการเดินทางมาประเทสไทยเพื่อชมศิลปมวยไทย หรือมีผลพลอยได้ในเรื่องของการส่งออกอุปกรณ์ที่ใช้ในกีฬามวยไทย การจ้างครูคนไทย ที่มีความรู้แม่ไม้มวยไทยไปฝึกสอน”
รูปแบบของโครงการจะต้องมีคณะกรรมการพิจารณามาตรฐาน เดินสายตรวจค่ายมวยไทยที่มีอยู่ทั่วโลก ค่ายใดมีคุณสมบัตตรงตามเงื่อนไขก็มอบตรามาตรฐานให้ ซึ่งทางค่ายเองก็สามารถนำไปต่อยอดทางการตลาด ส่วนไทยก็จะได้เรื่องของภาพลักษณ์ประเทศ
***เล็งจัดแฟมทริปชมค่ายมวยไทย****
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นยุทธศาตร์การบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างงานด้านท่องเที่ยวและกีฬา ดังนั้นในแผนยุทธศาสตร์ปี 2554-2555 กรมพลศึกษา ซึ่งมีสถาบันพลศึกษารวม 17 แห่งทั่วประเทศ เปิดหลักสูตร ปริญญาตรีด้านกีฬามวยไทย ขณะเดียวกัน ยังได้จัดทำศูนย์อนุรักษ์มวยไทย และพิพิธภัณฑ์มวยไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมพลศึกษา จึงมีแนวคิดว่า จะจัดเป็นแฟมทริป เชิญสื่อมวลชนและบริษัทนำเที่ยว มาเยี่ยมชม เพื่อจะได้นำไปโปรโมต และบรรจุไว้ในแพกเกจทัวร์ท่องเที่ยว ซึ่งจะมีทั้งการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ และการเยี่ยมชมค่ายมวยตัวอย่าง เบื้องต้นได้ประสานไปยังค่ายมวยไทย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และราชบุรี เพื่อทำเป็นโครงการนำร่อง
ประเทศที่สนใจมวยไทย ได้แก่ กลุ่มประเทศในยุโรป เช่น โปรตุเกส สเปน ที่ผ่านมา ก็มีบริษัทนำเที่ยวที่จัดทัวร์มาประเทศไทย บรรจุกิจกรรมการเยี่ยมชมค่ายมวยไทย ไว้ในแพกเกจทัวร์ด้วย ส่วนตลาดตะวันออกกลาง ก็มีความสนใจกีฬามวยไทย มีการตั้งค่ายมวย และสอนการชกเช่นกัน
นางธนิฎฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวและกีฬา เห็นด้วยในหลักการ ที่จะให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ดำเนินการจัดทำตรามาตรฐานมวยไทย ดังนั้น เบื้องต้นจึงเตรียมใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท จากกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ และการจัดทำเงื่อนไขมาตรฐานมวยไทย โดยมีแนวคิดจะใช้มวยไทยในการสร้างแบรนด์ประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยว เพื่อเจาะตลาดเป้าหมายนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจเฉพาะ (นิชมาร์เก็ต)
ความน่าสนใจของโครงการนี้ สืบเนื่องมาจากผลสำรวจของกระทรวงการต่างประเทศ พบว่า ปัจจุบัน มีการเปิดค่ายมวยไทยในทั่วโลกเป็นจำนวนมาก ราว 2-3 หมื่นค่าย และที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมีจำนวนกว่า 3 พันค่าย จาก 30 ประเทศทั่วโลก เช่น โมร็อกโก มีค่ายมวยไทย กว่า 220 แห่ง แอฟริกา เมื่อ 10 ปีก่อนมีมากกว่า 10 ค่าย ซึ่งกว่า 90% เจ้าของค่ายไม่ได้เป็นคนไทย ครูฝึกก็ไม่ใช่คนไทย เพียงแต่เคยมาฝึกหรือเยี่ยมชมมวยไทยแล้วกลับไปเปิดค่าย
“ที่ผ่านมา การโรดโชว์ด้านการท่องเที่ยวของไทย จะนำกิจกรรม สปา เมดิคัล วัฒนธรรมประเพณีไทย ออกไปโปรโมต แต่กระทรวงต้องการแสดงให้เห็นว่าท่องเที่ยวและกีฬา ทำงานแบบบูรณาการ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกันได้ และเห็นว่า กีฬามวยไทยเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ เราจึงควรจัดระบบ มอบตรามาตรฐานให้ค่ายมวย เสมือนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ประเทศไทยที่เป็นต้นตำหรับกีฬาประเภทนี้ ก่อเกิดการต่อยอดของการเดินทางมาประเทสไทยเพื่อชมศิลปมวยไทย หรือมีผลพลอยได้ในเรื่องของการส่งออกอุปกรณ์ที่ใช้ในกีฬามวยไทย การจ้างครูคนไทย ที่มีความรู้แม่ไม้มวยไทยไปฝึกสอน”
รูปแบบของโครงการจะต้องมีคณะกรรมการพิจารณามาตรฐาน เดินสายตรวจค่ายมวยไทยที่มีอยู่ทั่วโลก ค่ายใดมีคุณสมบัตตรงตามเงื่อนไขก็มอบตรามาตรฐานให้ ซึ่งทางค่ายเองก็สามารถนำไปต่อยอดทางการตลาด ส่วนไทยก็จะได้เรื่องของภาพลักษณ์ประเทศ
***เล็งจัดแฟมทริปชมค่ายมวยไทย****
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นยุทธศาตร์การบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างงานด้านท่องเที่ยวและกีฬา ดังนั้นในแผนยุทธศาสตร์ปี 2554-2555 กรมพลศึกษา ซึ่งมีสถาบันพลศึกษารวม 17 แห่งทั่วประเทศ เปิดหลักสูตร ปริญญาตรีด้านกีฬามวยไทย ขณะเดียวกัน ยังได้จัดทำศูนย์อนุรักษ์มวยไทย และพิพิธภัณฑ์มวยไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมพลศึกษา จึงมีแนวคิดว่า จะจัดเป็นแฟมทริป เชิญสื่อมวลชนและบริษัทนำเที่ยว มาเยี่ยมชม เพื่อจะได้นำไปโปรโมต และบรรจุไว้ในแพกเกจทัวร์ท่องเที่ยว ซึ่งจะมีทั้งการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ และการเยี่ยมชมค่ายมวยตัวอย่าง เบื้องต้นได้ประสานไปยังค่ายมวยไทย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และราชบุรี เพื่อทำเป็นโครงการนำร่อง
ประเทศที่สนใจมวยไทย ได้แก่ กลุ่มประเทศในยุโรป เช่น โปรตุเกส สเปน ที่ผ่านมา ก็มีบริษัทนำเที่ยวที่จัดทัวร์มาประเทศไทย บรรจุกิจกรรมการเยี่ยมชมค่ายมวยไทย ไว้ในแพกเกจทัวร์ด้วย ส่วนตลาดตะวันออกกลาง ก็มีความสนใจกีฬามวยไทย มีการตั้งค่ายมวย และสอนการชกเช่นกัน