น้ำมันพืชวิกฤต! จ่อขยับขึ้นราคาอีกรอบ “พาณิชย์” ดิ้นแก้เกม อ้อนรัฐอุดหนุนน้ำมันปาล์ม ถ้ายังอยากให้ขายราคาเดิม ส่วนน้ำมันถั่วเหลือง คาดปรับขึ้นแน่ หลังวัตถุดิบขยับและปัญหาเริ่มลาม “พรทิวา” ย้ำ ปรับราคาคือทางเลือกสุดท้าย เล็งส่งยี่ห้อ อคส.ตีตลาดสู้
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการหาแนวทางบริหารจัดการให้น้ำมันปาล์มที่จะนำเข้ารอบสองปริมาณ 120,000 ตัน ที่จะมีส่วนหนึ่งถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันปาล์มขวดเพื่อบริโภคให้สามารถขายปลีกได้ที่ขวดละ 47 บาท ตามราคาควบคุมเหมือนเดิม แม้ต้นทุนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศขณะนี้จะอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 44-45 บาท เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ากลั่น ค่าบรรจุขวด และค่าบริหารจัดการอื่นๆ อีกกว่า 10 บาทแล้ว จะไม่สามารถขายที่ 47 บาทได้เลย
ทั้งนี้ แนวทางที่จะนำมาดำเนินการ มี 2 แนวทาง คือ การให้การอุดหนุนแก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้ยังคงสามารถตรึงราคาจำหน่ายน้ำมันปาล์มขวดที่ 47 บาทได้ แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ส่วนแนวทางที่ 2 อนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มบรรจุขวดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากปรับขึ้นจาก 38 บาท เป็น 47 บาทมาแล้ว
นอกจากแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม ยังต้องแก้ไขปัญหาน้ำมันถั่วเหลือง โดยคณะอนุกรรมการ จะต้องหาทางออกให้กับน้ำมันถั่วเหลืองด้วย เพราะขณะนี้ต้นทุนได้ปรับเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มมีแนวโน้มขาดแคลนและมีราคาแพง หลังจากที่ประชาชนหันมาบริโภคมากขึ้นจากปัญหาน้ำมันปาล์มแพง
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ยังไม่ได้พิจารณาการปรับขึ้นราคาน้ำมันพืชบริโภค ทั้งน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลืองโดยกระทรวงพาณิชย์กำลังอยู่ระหว่างการหามาตรการบริหารจัดการให้ผู้ประกอบการยังสามารถขายตามราคาควบคุมไปก่อน เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากไปกว่านี้ ขณะเดียวกัน ก็อาจให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ผลิตน้ำมันปาล์มขวด ขายตามราคาควบคุมด้วย เพื่อช่วยอีกทางหนึ่ง แต่หากถึงที่สุดแล้ว ราคาวัตถุดิบยังไม่ปรับตัวลดลง ก็คงต้องให้ขึ้นราคาน้ำมันพืชบรรจุขวด ซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้าย
ส่วนการประชุมร่วมของกรมการค้าภายในกับผู้ประกอบการน้ำมันปาล์ม ทั้งโรงสกัด โรงกลั่น รวมถึงห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) เมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้หารือถึงการกระจายน้ำมันปาล์มบรรจุขวดให้ถึงมือประชาชนอย่างเพียงพอ ไม่เกิดการกักตุน และแห่ซื้อมากเกินความจำเป็น รวมถึงขอความร่วมมือให้โรงกลั่นรับซื้อผลปาล์มสดจากเกษตรกร ในประเทศหลังจากที่โรงกลั่นได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าน้ำมันปาล์มดิบล็อตแรก 30,000 ตันจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) เพื่อนำมาบรรจุขวดสำหรับบริโภค แล้วไม่ยอมรับซื้อผลผลิตในประเทศ จนส่งผลให้ราคาผลปาล์มสดลดลงมากในขณะนี้ ทั้งนี้ จะมีการทำบันทึกความเช้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างกันด้วย เพื่อไม่ให้โรงกลั่นทำผิดเงื่อนไข
นางพรทิวา กล่าวอีกว่า สำหรับการขายไข่ไก่แบบชั่งกิโล แม้จะไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน แต่รัฐบาลก็คงต้องเดินหน้าทำต่อจนกว่าจะครบช่วงการประเมินผล 3 เดือน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะรายงานให้รัฐบาลทราบว่าถึงผลตอบรับของประชาชน เมื่อถึงเวลานั้น รัฐบาลอาจให้ยกเลิก หรือเดินหน้าต่อก็ได้ เพราะการขายไข่แบบนี้ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชนในการลดค่าครองชีพ
ขณะที่กระประชุมสภา วานนี้ (9 ก.พ.) นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา กระทู้สด เรื่อง การขาดแคลนน้ำมันปาล์ม ถามนายกรัฐมนตรี ว่า ไม่เห็นด้วยกับการนำเข้าน้ำมันปาล์ม และเห็นว่า ควรให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนดกลไกการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตไบโอดีเซลให้สมดุลกับการบริโภค ที่ผ่านมา กลไกของรัฐทำงานช้า เมื่อนำเข้ามาแล้วทำให้เกิดส่วนต่างของราคากว่า 20 บาท หากมีหน่วยงานดูแลกลไกราคาและการนำเข้าจะทำให้การกำหนดราคาทำได้เร็วทำให้ภาวะขาดแคลนแก้ไขได้รวดเร็วกว่า จึงขอทราบว่าระยะยาวจะแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มอย่างไรและให้หน่วยงานใดเข้ามาดูแล
นายชาดา กล่าวว่า หากลดปริมาณการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลลงส่วนหนึ่งจะทำให้การผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคเพียงพอต่อความต้องการโดยไม่จำเป็นต้องมีการนำเข้าจึงอยากเสนอให้รัฐบาลลองบริหารจัดการ ไม่เช่นนั้นจะขยายตัวไปกระทบกับพืชที่ใช้ผลิตน้ำมันตัวอื่น เช่น ถั่วเหลืองทำให้มีการปั่นราคาเกิดขึ้น ตนเห็นว่าควรตั้งกองทุนน้ำมันปาล์มเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทุเลาลง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ชี้แจงแทนนายกฯ ว่า คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณาดูแลการผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศ ที่เกี่ยวกับเกษตรกร โรงงกลั่นน้ำมันปาล์ม เพื่อรองรับความต้องการในการผลิตและการใช้งาน ตลอด 2 ปี การดูแลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงใช้มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำมันปาล์มในการผลิตไบโอดีเซลเพื่อดูดซับปริมาณปาล์มน้ำมันที่เกิดความต้องการของประเทศ ต่อมาการผลิตไบโอดีเซลได้มีการขยายเพิ่มขึ้น
ด้าน นางพรทิวา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการตั้งกองทุนน้ำมันปาล์ม เพราะการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลมีกองทุนดูแลช่วยเหลือ แต่การผลิตน้ำมันเพื่อการบริโภคไม่มีการดูแล ที่ขาดแคลนเพราะเราไม่มีส่วนที่ดูแลผู้บริโภคเลย ผู้ประกอบการต้องรับภาระทั้งหมด ซึ่งกรมการค้าภายในได้เสนอเรื่องนี้กับ ครม.แล้วตั้ง “กองทุนดูแลผู้บริโภค”
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการหาแนวทางบริหารจัดการให้น้ำมันปาล์มที่จะนำเข้ารอบสองปริมาณ 120,000 ตัน ที่จะมีส่วนหนึ่งถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันปาล์มขวดเพื่อบริโภคให้สามารถขายปลีกได้ที่ขวดละ 47 บาท ตามราคาควบคุมเหมือนเดิม แม้ต้นทุนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศขณะนี้จะอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 44-45 บาท เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ากลั่น ค่าบรรจุขวด และค่าบริหารจัดการอื่นๆ อีกกว่า 10 บาทแล้ว จะไม่สามารถขายที่ 47 บาทได้เลย
ทั้งนี้ แนวทางที่จะนำมาดำเนินการ มี 2 แนวทาง คือ การให้การอุดหนุนแก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้ยังคงสามารถตรึงราคาจำหน่ายน้ำมันปาล์มขวดที่ 47 บาทได้ แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ส่วนแนวทางที่ 2 อนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มบรรจุขวดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากปรับขึ้นจาก 38 บาท เป็น 47 บาทมาแล้ว
นอกจากแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม ยังต้องแก้ไขปัญหาน้ำมันถั่วเหลือง โดยคณะอนุกรรมการ จะต้องหาทางออกให้กับน้ำมันถั่วเหลืองด้วย เพราะขณะนี้ต้นทุนได้ปรับเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มมีแนวโน้มขาดแคลนและมีราคาแพง หลังจากที่ประชาชนหันมาบริโภคมากขึ้นจากปัญหาน้ำมันปาล์มแพง
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ยังไม่ได้พิจารณาการปรับขึ้นราคาน้ำมันพืชบริโภค ทั้งน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลืองโดยกระทรวงพาณิชย์กำลังอยู่ระหว่างการหามาตรการบริหารจัดการให้ผู้ประกอบการยังสามารถขายตามราคาควบคุมไปก่อน เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากไปกว่านี้ ขณะเดียวกัน ก็อาจให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ผลิตน้ำมันปาล์มขวด ขายตามราคาควบคุมด้วย เพื่อช่วยอีกทางหนึ่ง แต่หากถึงที่สุดแล้ว ราคาวัตถุดิบยังไม่ปรับตัวลดลง ก็คงต้องให้ขึ้นราคาน้ำมันพืชบรรจุขวด ซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้าย
ส่วนการประชุมร่วมของกรมการค้าภายในกับผู้ประกอบการน้ำมันปาล์ม ทั้งโรงสกัด โรงกลั่น รวมถึงห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) เมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้หารือถึงการกระจายน้ำมันปาล์มบรรจุขวดให้ถึงมือประชาชนอย่างเพียงพอ ไม่เกิดการกักตุน และแห่ซื้อมากเกินความจำเป็น รวมถึงขอความร่วมมือให้โรงกลั่นรับซื้อผลปาล์มสดจากเกษตรกร ในประเทศหลังจากที่โรงกลั่นได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าน้ำมันปาล์มดิบล็อตแรก 30,000 ตันจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) เพื่อนำมาบรรจุขวดสำหรับบริโภค แล้วไม่ยอมรับซื้อผลผลิตในประเทศ จนส่งผลให้ราคาผลปาล์มสดลดลงมากในขณะนี้ ทั้งนี้ จะมีการทำบันทึกความเช้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างกันด้วย เพื่อไม่ให้โรงกลั่นทำผิดเงื่อนไข
นางพรทิวา กล่าวอีกว่า สำหรับการขายไข่ไก่แบบชั่งกิโล แม้จะไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน แต่รัฐบาลก็คงต้องเดินหน้าทำต่อจนกว่าจะครบช่วงการประเมินผล 3 เดือน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะรายงานให้รัฐบาลทราบว่าถึงผลตอบรับของประชาชน เมื่อถึงเวลานั้น รัฐบาลอาจให้ยกเลิก หรือเดินหน้าต่อก็ได้ เพราะการขายไข่แบบนี้ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชนในการลดค่าครองชีพ
ขณะที่กระประชุมสภา วานนี้ (9 ก.พ.) นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา กระทู้สด เรื่อง การขาดแคลนน้ำมันปาล์ม ถามนายกรัฐมนตรี ว่า ไม่เห็นด้วยกับการนำเข้าน้ำมันปาล์ม และเห็นว่า ควรให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนดกลไกการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตไบโอดีเซลให้สมดุลกับการบริโภค ที่ผ่านมา กลไกของรัฐทำงานช้า เมื่อนำเข้ามาแล้วทำให้เกิดส่วนต่างของราคากว่า 20 บาท หากมีหน่วยงานดูแลกลไกราคาและการนำเข้าจะทำให้การกำหนดราคาทำได้เร็วทำให้ภาวะขาดแคลนแก้ไขได้รวดเร็วกว่า จึงขอทราบว่าระยะยาวจะแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มอย่างไรและให้หน่วยงานใดเข้ามาดูแล
นายชาดา กล่าวว่า หากลดปริมาณการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลลงส่วนหนึ่งจะทำให้การผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคเพียงพอต่อความต้องการโดยไม่จำเป็นต้องมีการนำเข้าจึงอยากเสนอให้รัฐบาลลองบริหารจัดการ ไม่เช่นนั้นจะขยายตัวไปกระทบกับพืชที่ใช้ผลิตน้ำมันตัวอื่น เช่น ถั่วเหลืองทำให้มีการปั่นราคาเกิดขึ้น ตนเห็นว่าควรตั้งกองทุนน้ำมันปาล์มเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทุเลาลง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ชี้แจงแทนนายกฯ ว่า คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณาดูแลการผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศ ที่เกี่ยวกับเกษตรกร โรงงกลั่นน้ำมันปาล์ม เพื่อรองรับความต้องการในการผลิตและการใช้งาน ตลอด 2 ปี การดูแลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงใช้มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำมันปาล์มในการผลิตไบโอดีเซลเพื่อดูดซับปริมาณปาล์มน้ำมันที่เกิดความต้องการของประเทศ ต่อมาการผลิตไบโอดีเซลได้มีการขยายเพิ่มขึ้น
ด้าน นางพรทิวา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการตั้งกองทุนน้ำมันปาล์ม เพราะการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลมีกองทุนดูแลช่วยเหลือ แต่การผลิตน้ำมันเพื่อการบริโภคไม่มีการดูแล ที่ขาดแคลนเพราะเราไม่มีส่วนที่ดูแลผู้บริโภคเลย ผู้ประกอบการต้องรับภาระทั้งหมด ซึ่งกรมการค้าภายในได้เสนอเรื่องนี้กับ ครม.แล้วตั้ง “กองทุนดูแลผู้บริโภค”