xs
xsm
sm
md
lg

บาทส่งสัญญาณอันตราย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เมื่อวานนี้ (10 ม.ค.) ค่าเงินบาทและตลาดหุ้นไทยทรุดลงอย่างน่าตกใจ โดยตลาดหุ้น "ดิ่งลงต่ำสุดที่ 27 จุด" ก่อนกลับมาปิดติดลบ 18 จุด ดัชนียืนอยู่ที่ระดับ 1,018 จุด...

ส่วนเงินบาททำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบ 5 เดือน ปิดตลาดที่ระดับ 30.73 บาทต่อดอลลาร์ ลดลงจากช่วงเช้าที่อยู่ที่ 30.37 บาทต่อดอลลาร์ หรือวันเดียว "ลดลงมากกว่า 30 สตางค์?@!!!"

ทั้งสองตลาดมีการเคลื่อนไหวที่ผันผวนในทิศทางอ่อนค่าและลดลงอย่างรวดเร็ว วันเดียวมากกว่า 30 สต. โดยช่วงเช้าเปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 30.37/40 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ 30.74 บาท/ดอลลาร์...

เบื้องต้นเป็นไปตามทิศทางตลาดยังคงกังวลเรื่องหนี้สินของฝั่งยูโรโซนและมีข่าวว่าทางการจีนจะขึ้นภาษีอสังหาริมทรัพย์ หลายฝ่ายกังวลว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวจึงเทขายหุ้นทั่วภูมิภาค...

แต่ที่มีนัยสำคัญก็คือตลาดหุ้นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ทั้งสองตลาดหุ้นดิ่งเหว!...เป็น 2 ประเทศที่ราคาหุ้นพุ่งขึ้นมามากพอๆ กับไทยในช่วงที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญบอกว่ารออีกระยะ โดยเฉพาะค่าเงินในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนจึงจะชัดเจนว่า หุ้นตกรอบนี้ เม็ดเงินจะไหลกลับสู่ฝั่งสหรัฐอเมริกาหรือไม่ หรือเป็นแค่การทำกำไร "สองต่อ" เพราะจริงๆ แล้วเศรษฐกิจอเมริกายังไม่ฟื้น!!..

แน่นอนเมื่อวานนี้ ต่างชาติเป็นพระเอกในการซื้อขาย ดังนั้นการที่เงินบาทอ่อนค่าเป็นโอกาสทำกำไร 2 ต่อ ทั้งจากการลงทุนในตลาดหุ้นและส่วนต่างค่าเงินบาท...

เกี่ยวกับเรื่องนี้ แบงก์ชาติมองแง่ดี ส่วนนักลงทุนจะเชื่อหรือไม่ ลองดู แบงก์ชาติให้เหตุผลถึงปรากฏกรรณ์บาทอ่อน-หุ้นตก ว่าเกิดจากเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น พร้อมั่นใจว่าเงินบาทจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค "เท่านั้นเอง!...จ๊ะ "

ส่วนประเด็นที่ยังร้อนและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่องคือ 9 มาตรการ"ปฏิบัติการร่วมเดินหน้า ปฏิรูปประเทศไทย" ภาคเอกชนออกมาแสดงความกังวลกลัวว่านักการเมืองจะทำให้ประชาชนเสพติดนโยบายของฟรีมากเกินไป “พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เห็นว่านโยบายนี้มีบางมาตรการดีแต่ภาพรวมยังมีอีกหลายมาตรการที่จะต้องดูผลกระทบให้ชัดเจนหวั่นว่าระยะยาวจะมีปัญหาต่องบประมาณรายได้ของประเทศ

ด้าน “ธนิต โสรัตน์” รองประธานสภาอุตฯ ก็ห่วงว่าบางมาตรการสุ่มเสียงหากขาดวินัยทางการเงินเพราะของฟรีที่สุดแล้วไม่มีในโลกระยะสั้นถือเป็นเรื่องที่ดีแต่สิ่งที่ห่วงคือนโยบายลักษณะนี้จะไม่หยุดเพียงเท่านี้กลายเป็น การเมืองเสพติดประชานิยมมากขึ้นโดยอาจจะปรับเป็นชื่ออื่นแต่ก็เน้นหาเสียงแบบไม่ได้คำนึงถึงรายได้ของประเทศ

งานนี้ทำเอาขุนคลัง “กรณ์ จาติกวณิช” ต้องออกมายืนยันทั้ง 9 มาตรการก็พร้อมที่จะเดินหน้าตามตารางเวลาโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและผู้ว่าฯ กทม.จะร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและติดตามประเด็นที่เป็นปัญหาให้เดินหน้าต่อไปได้

และยังได้ย้ำว่ามาตรการที่ออกมาเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า เป็นประชานิยมหรือไม่ หลายมาตรการแก้ปัญหาประชานิยม เช่นมาตรการชดเชยก๊าซแอลพีจีที่ทำมาตลอด แต่สามารถยกเลิกการชดเชยได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน!!!
กำลังโหลดความคิดเห็น