บอร์ดปาล์มชุด “สุเทพ” เคาะนำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ 3 หมื่นตัน จากมาเลย์ เพื่อให้ อคส.นำเข้าภายในสิ้นเดือนนี้ แก้ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ พร้อมสั่งจัดการพวกกักตุนเด็ดขาด ลุ้น “พาณิชย์” เคาะราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มบรรจุขวดใหม่วันนี้ ส่วนหอการค้าระนองค้าน เหตุเกษตรกรผู้ปลูกได้รับผลกระทบ
นายอภิชาติ จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติให้นำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์จำนวน 3 หมื่นตัน ภาษี 0% ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ภายในสิ้นเดือนม.ค.2554 โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้า ก่อนจัดสรรให้ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน โดยราคาน้ำมันปาล์มนำเข้าจากมาเลเซีย อยู่ที่ 38 บาท/กิโลกรัม ขณะที่ราคาจำหน่ายในประเทศอยู่ที่ 42-44 บาท/กิโลกรัม
“ที่ต้องนำเข้าให้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.นี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับราคาผลผลิตของเกษตรกรที่คาดว่าจะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือนก.พ.-มี.ค.นี้ โดยปัจจุบันราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 7.40 บาท/กก. เนื่องจากมีผลผลิตน้อย”
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปตรวจสอบการกักตุนน้ำมันปาล์มจนทำให้เกิดการขาดแคลน โดยให้นำกฎหมายกักตุนสินค้ามาใช้ ส่วนราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันปาล์มบรรจุขวดหลังจากนำเข้ามานั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้กำหนดราคา
ขณะเดียวกัน ได้อนุมัติให้มีการปลูกปาล์มในพื้นที่สวนส้มรังสิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถกู้เงินอัตราดอกเบี้ยต่ำ MRR-1% จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาใช้ในการปลูกปาล์มตามนโยบายส่งเสริมการปลูกปาล์ม
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า คณะอนุกรรมการน้ำมันพืชบริโภค ที่มีนางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน จะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดวันนี้ (7 ม.ค.) โดยทางผู้ผลิตได้ยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคารวดเดียว 10 บาท แต่กระทรวงพาณิชย์มีช่วงราคาอยู่ระหว่าง 6-9 บาท ซึ่งก็ต้องติดตามดูว่าจะเคาะราคาใดออกมา
ด้าน นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้อนุมัติให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่สวนส้ม เขตรังสิต โดยทางเกษตรกรสามารถกู้เงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยทางกองทุนอนุรักษ์พลังงานได้เคยอนุมัติไว้ 700 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรสามารถมากู้เงินได้ ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพลังงานคาดว่า ตั้งแต่ช่วงกลางปีจะมีผลผลิตปาล์มเพื่อผลิตเป็นน้ำมันไอโอดีเซลบี 5 ได้ 4.8 แสนลิตรจาก 3.8 แสนลิตร ในปี 53
สำหรับพื้นที่สวนส้มร้างทุ่งรังสิตขณะนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอรายละเอียดและผลการศึกษาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่สวนส้มร้างทุ่งรังสิตซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาการใช้ประโยชน์อยู่ในขณะนี้ จากการสำรวจพื้นที่ส้มร้างในพื้นที่ทุ่งรังสิตพบว่าเกษตรกรมีพื้นที่สวนส้มเสียหายหันมาปลูกปาล์มน้ำมันอยู่บ้างแล้ว โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันแล้วประมาณ 12,000 ไร เกษตรกร 300 ราย และได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่า ชมรมชาวสวนปาล์มทุ่งรังสิตพร้อมเรียกร้องให้ทางราชการประกาศให้พื้นที่ทุ่งรังสิตเป็นเขตส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อ วัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1.ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรช่วยปรับภาระหนี้และให้เงินกู้การทำสวนส้มได้ 2. เพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านความรู้และเทคโนโลยีการผลิตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและ 3. ในอนาคตหากมีปัญหาด้านราคาจะได้รับการช่วยเหลือเช่นเดียวกันกับเกษตรกรในภาคใต้
จากการทำโครงการทดสอบการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันของกรมส่งเสริมการเกษตรได้สรุปการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบดตและผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างพื้นที่ ทุ่งรังสิตกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในการเจิรญเติบโตและผลผลิตปาล์มน้ำมันพื้นที่ทุ่งรังสิตเมื่อ อายุ 4-5 ปี และผลผลิตในปีที่ 5-6 เฉลี่ย 2,588 กก./ไร่/ปี และ 4,283 กก./ไร่/ปี ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยปาล์มน้ำมันทั้งประเทศที่มีผลผลิตต่อไร่จำนวน 2,790 กก./ไร่/ปี เพียงเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลศึกษาวิเคราะห์และประเมินศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่วนส้มร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกส้มเดิมในพื้นที่ทุ่งรังสิตแล้ว กระทรวงเกษตรฯ จึงเห็นว่าทุ่งรังสิตน่าจะเป็นแหล่งที่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้อีกแหล่งหนึ่งของประเทศ โดยจะเป็นพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันได้ไม่น้อยกว่า 150,000 ร่ และเกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 5,000 รายและการประกาศให้ทุ่งรังสิตเป็นเขตส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันจะสามารถผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อทดแทนพลังงานได้ปีละไม่น้อยกว่า 50,000 ตันและพื้นที่ร่องส้ม ยังมีที่ว่างมากพอที่จะรองรับน้ำในฤดูน้ำหลากเพื่อเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งได้อีกด้วย
***หอฯ ระนองค้านนำเข้าน้ำมันปาล์ม
หลังคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ มีมติให้นำเข้าน้ำมัน ปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ จากต่างประเทศ 3 หมื่นตัน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนภายในประเทศ นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า หอการค้าระนองไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ให้นำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศ ปริมาณ 3หมื่นตัน เพราะจะส่งผลกระทบต่อราคาปาล์มของเกษตรกรผู้ปลูกในระยะยาว รัฐบาลต้องหันมาดูแลเกษตรกรด้วย อย่ามองเพียงผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่เพียงอย่างเดียว
"เมื่อมีการนำน้ำมันปาล์มเข้ามาในประเทศ จะทำให้ราคาปาล์มดิบของเกษตรกรลดลงอีก เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่จะมีกดราคากับโรงหนีบน้ำมันปาล์ม และโรงหนีบน้ำมันปาล์มก็จะไปกดราคากับเกษตรกรอีกทอดหนึ่ง" นายนิตย์กล่าวและยังเห็นว่า กรณีน้ำมันปาล์มขาดเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้ง หากมีการให้ปุ๋ยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอผลผลิตปาล์มจะไม่ขาดดังนั้นรัฐบาลควรให้นักวิชาการเกษตรไปอบรมให้ความรู้แก่เกษตรในการดูแลต้นปาล์มน้ำมันเพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดทั้งปีได้
***เชลส์เตรียมขาย B3 อีกครั้ง
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า อาจจะหันกลับมาจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B3 อีกครั้ง จากปัจจุบันที่จำหน่ายเฉพาะ B5 หลังการอุดหนุนราคา B3 ของภาครัฐ ทำให้ราคาจำหน่ายแตกต่างกันไม่มาก ขณะที่ค่าการตลาด ของ B3 สูงกว่า B5 ในอัตรา 10 สตางค์/ลิตร
"ที่ผ่านมา เชลล์ได้ทำตามแผนนโยบายพลังงานทดแทน จึงจำหน่ายเฉพาะแก๊สโซฮอล์ และ B5 แต่เมื่อไม่มีความชัดเจน (การเลื่อนบังคับใช้ B5 เกรดเดียว) เชลล์ อาจจะกลับมาจำหน่าย B3 อีก" นางพิศวรรณกล่าวและว่า รัฐบาลไม่ควรตรึงราคาพลังงานยาวนานเกินไป เพราะจะเป็น การบิดเบือนกลไกตลาด ทั้งกรณีการอุดหนุนราคา B3 ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร หรือการตรึง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลจะอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลในระยะสั้นนั้น ควรจะอุดหนุน เฉพาะ B5 ดีกว่า B3 ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายที่จะตรึงราคา B3 ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ส่งผลให้ตอนนี้ราคาขายปลีกน้ำมันไบโอดีเซล B3 อยู่ที่ 29.99 บาท/ลิตร ขณะที่ราคา B5 อยู่ที่ 29.39 บาท/ลิตร ทำให้ส่วนต่างราคา B5 ต่ำกว่า B3 เพียง 60 สตางค์/ลิตร จากเดิมที่ราว 1.20 บาท/ลิตร ทำให้ผู้ใช้รถบางส่วนหันกลับไปเติม B3 มากขึ้น
นายอภิชาติ จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติให้นำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์จำนวน 3 หมื่นตัน ภาษี 0% ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ภายในสิ้นเดือนม.ค.2554 โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้า ก่อนจัดสรรให้ผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน โดยราคาน้ำมันปาล์มนำเข้าจากมาเลเซีย อยู่ที่ 38 บาท/กิโลกรัม ขณะที่ราคาจำหน่ายในประเทศอยู่ที่ 42-44 บาท/กิโลกรัม
“ที่ต้องนำเข้าให้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.นี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับราคาผลผลิตของเกษตรกรที่คาดว่าจะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือนก.พ.-มี.ค.นี้ โดยปัจจุบันราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 7.40 บาท/กก. เนื่องจากมีผลผลิตน้อย”
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปตรวจสอบการกักตุนน้ำมันปาล์มจนทำให้เกิดการขาดแคลน โดยให้นำกฎหมายกักตุนสินค้ามาใช้ ส่วนราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันปาล์มบรรจุขวดหลังจากนำเข้ามานั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้กำหนดราคา
ขณะเดียวกัน ได้อนุมัติให้มีการปลูกปาล์มในพื้นที่สวนส้มรังสิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถกู้เงินอัตราดอกเบี้ยต่ำ MRR-1% จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาใช้ในการปลูกปาล์มตามนโยบายส่งเสริมการปลูกปาล์ม
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า คณะอนุกรรมการน้ำมันพืชบริโภค ที่มีนางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน จะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดวันนี้ (7 ม.ค.) โดยทางผู้ผลิตได้ยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคารวดเดียว 10 บาท แต่กระทรวงพาณิชย์มีช่วงราคาอยู่ระหว่าง 6-9 บาท ซึ่งก็ต้องติดตามดูว่าจะเคาะราคาใดออกมา
ด้าน นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้อนุมัติให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่สวนส้ม เขตรังสิต โดยทางเกษตรกรสามารถกู้เงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยทางกองทุนอนุรักษ์พลังงานได้เคยอนุมัติไว้ 700 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรสามารถมากู้เงินได้ ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพลังงานคาดว่า ตั้งแต่ช่วงกลางปีจะมีผลผลิตปาล์มเพื่อผลิตเป็นน้ำมันไอโอดีเซลบี 5 ได้ 4.8 แสนลิตรจาก 3.8 แสนลิตร ในปี 53
สำหรับพื้นที่สวนส้มร้างทุ่งรังสิตขณะนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอรายละเอียดและผลการศึกษาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่สวนส้มร้างทุ่งรังสิตซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาการใช้ประโยชน์อยู่ในขณะนี้ จากการสำรวจพื้นที่ส้มร้างในพื้นที่ทุ่งรังสิตพบว่าเกษตรกรมีพื้นที่สวนส้มเสียหายหันมาปลูกปาล์มน้ำมันอยู่บ้างแล้ว โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันแล้วประมาณ 12,000 ไร เกษตรกร 300 ราย และได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่า ชมรมชาวสวนปาล์มทุ่งรังสิตพร้อมเรียกร้องให้ทางราชการประกาศให้พื้นที่ทุ่งรังสิตเป็นเขตส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อ วัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1.ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรช่วยปรับภาระหนี้และให้เงินกู้การทำสวนส้มได้ 2. เพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านความรู้และเทคโนโลยีการผลิตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและ 3. ในอนาคตหากมีปัญหาด้านราคาจะได้รับการช่วยเหลือเช่นเดียวกันกับเกษตรกรในภาคใต้
จากการทำโครงการทดสอบการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันของกรมส่งเสริมการเกษตรได้สรุปการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบดตและผลผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างพื้นที่ ทุ่งรังสิตกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในการเจิรญเติบโตและผลผลิตปาล์มน้ำมันพื้นที่ทุ่งรังสิตเมื่อ อายุ 4-5 ปี และผลผลิตในปีที่ 5-6 เฉลี่ย 2,588 กก./ไร่/ปี และ 4,283 กก./ไร่/ปี ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยปาล์มน้ำมันทั้งประเทศที่มีผลผลิตต่อไร่จำนวน 2,790 กก./ไร่/ปี เพียงเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลศึกษาวิเคราะห์และประเมินศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่วนส้มร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกส้มเดิมในพื้นที่ทุ่งรังสิตแล้ว กระทรวงเกษตรฯ จึงเห็นว่าทุ่งรังสิตน่าจะเป็นแหล่งที่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้อีกแหล่งหนึ่งของประเทศ โดยจะเป็นพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันได้ไม่น้อยกว่า 150,000 ร่ และเกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 5,000 รายและการประกาศให้ทุ่งรังสิตเป็นเขตส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันจะสามารถผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อทดแทนพลังงานได้ปีละไม่น้อยกว่า 50,000 ตันและพื้นที่ร่องส้ม ยังมีที่ว่างมากพอที่จะรองรับน้ำในฤดูน้ำหลากเพื่อเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งได้อีกด้วย
***หอฯ ระนองค้านนำเข้าน้ำมันปาล์ม
หลังคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ มีมติให้นำเข้าน้ำมัน ปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ จากต่างประเทศ 3 หมื่นตัน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนภายในประเทศ นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า หอการค้าระนองไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ให้นำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศ ปริมาณ 3หมื่นตัน เพราะจะส่งผลกระทบต่อราคาปาล์มของเกษตรกรผู้ปลูกในระยะยาว รัฐบาลต้องหันมาดูแลเกษตรกรด้วย อย่ามองเพียงผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่เพียงอย่างเดียว
"เมื่อมีการนำน้ำมันปาล์มเข้ามาในประเทศ จะทำให้ราคาปาล์มดิบของเกษตรกรลดลงอีก เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่จะมีกดราคากับโรงหนีบน้ำมันปาล์ม และโรงหนีบน้ำมันปาล์มก็จะไปกดราคากับเกษตรกรอีกทอดหนึ่ง" นายนิตย์กล่าวและยังเห็นว่า กรณีน้ำมันปาล์มขาดเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้ง หากมีการให้ปุ๋ยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอผลผลิตปาล์มจะไม่ขาดดังนั้นรัฐบาลควรให้นักวิชาการเกษตรไปอบรมให้ความรู้แก่เกษตรในการดูแลต้นปาล์มน้ำมันเพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดทั้งปีได้
***เชลส์เตรียมขาย B3 อีกครั้ง
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า อาจจะหันกลับมาจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B3 อีกครั้ง จากปัจจุบันที่จำหน่ายเฉพาะ B5 หลังการอุดหนุนราคา B3 ของภาครัฐ ทำให้ราคาจำหน่ายแตกต่างกันไม่มาก ขณะที่ค่าการตลาด ของ B3 สูงกว่า B5 ในอัตรา 10 สตางค์/ลิตร
"ที่ผ่านมา เชลล์ได้ทำตามแผนนโยบายพลังงานทดแทน จึงจำหน่ายเฉพาะแก๊สโซฮอล์ และ B5 แต่เมื่อไม่มีความชัดเจน (การเลื่อนบังคับใช้ B5 เกรดเดียว) เชลล์ อาจจะกลับมาจำหน่าย B3 อีก" นางพิศวรรณกล่าวและว่า รัฐบาลไม่ควรตรึงราคาพลังงานยาวนานเกินไป เพราะจะเป็น การบิดเบือนกลไกตลาด ทั้งกรณีการอุดหนุนราคา B3 ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร หรือการตรึง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลจะอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลในระยะสั้นนั้น ควรจะอุดหนุน เฉพาะ B5 ดีกว่า B3 ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายที่จะตรึงราคา B3 ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ส่งผลให้ตอนนี้ราคาขายปลีกน้ำมันไบโอดีเซล B3 อยู่ที่ 29.99 บาท/ลิตร ขณะที่ราคา B5 อยู่ที่ 29.39 บาท/ลิตร ทำให้ส่วนต่างราคา B5 ต่ำกว่า B3 เพียง 60 สตางค์/ลิตร จากเดิมที่ราว 1.20 บาท/ลิตร ทำให้ผู้ใช้รถบางส่วนหันกลับไปเติม B3 มากขึ้น