ภาคเอกชนห่วงการเปิดเสรีภาคบริการในกลุ่มประเทศอาเซียน มีประเทศที่สามเข้ามาใช้สิทธิ์ถือหุ้นใหญ่ 70% โดยเฉพาะโทรคมนาคม ขณะที่ไทยมีปัญหาโครงสร้างการผลิต จี้ ผู้ประกอบการเร่งพัฒนาผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานสากลเพื่อการแข่งขัน
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านกฎระเบียบการค้า เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการที่ไม่เข้าใจกฎระเบียบการค้าค่อนข้างมากโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ดังนั้น หอการค้าฯ ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาติดตามและเฝ้าระวังประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Prompt) เพื่อผลักดันให้คนไทยได้รับข้อมูลข่าวสารรวมไปถึงกฎระเบียบต่างๆภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวในปี 2558
ทั้งนี้ หอการค้าฯได้ร่วมมือกับกรมเจรจาการค้า กระทรวงพาณิชย์เดินทางไปให้ข้อมูล ความรู้แก่นักธุรกิจในจังหวัดขนาดใหญ่มาแล้ว 5 แห่ง และจะเดินไปให้ให้ครบ 10 แห่งภายในปีนี้ พร้อมกับกำหนดยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรควบคู่กันไปด้วย อาทิ ยุทธศาสตร์ข้าวและพืชพลังงาน เป็นต้น
สิ่งที่ภาคเอกชนเป็นห่วงในการเปิดเสรีภาคบริการในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยสาขาบริการที่เร่งรัดในปีนี้ ได้แก่ E-ASEAN (โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์) สุขภาพ ท่องเที่ยว การบินและลอจิสติกส์ ซึ่งจะอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนถือหุ้นในสาขาบริการได้ถึง 70%ของทุนจดทะเบียน โดยห่วงว่าบริษัทในประเทศที่สาม จะเข้ามาลงทุนในบางประเทศของอาเซียนแล้วขยายการลงทุนในไทยโดยใช้สิทธินี้ลงทุนถือหุ้นได้ 70% เสมือนเป็นบริษัทในประเทศอาเซียน จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสาขาโทรคมคมนาคม
นายพรศิลป์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาโครงสร้างการผลิต ขาดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสินค้าต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้สินค้าไม่ได้มาตรฐานสากล ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งพัฒนาการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานระดับสากลเพื่อให้แข่งขันได้ เนื่องจากภาษีนำเข้าลดเหลือเพียง 0%ภายใต้กรอบ AEC รวมทั้งต้องมีการเลือกอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น เกษตรอาหารและท่องเที่ยว ซึ่งไทยมีความได้เปรียบประเทศอื่นๆ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยคงแข่งขันสู้ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีได้ยากเพราะไม่มีเทคโนโลยี ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ต้องมาพิจารณาอีกทีว่าจะกำหนดทิศทางอย่างไรในอนาคต
ขณะเดียวกัน หากมีการเจรจาข้อตกลงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นประเด็นภาคสังคมก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นหลัก เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ เช่น การเจรจาเรื่องภาวะโลกร้อนภายใต้อนุสัญญา UNFCCC เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ควรให้ความรู้ต่อผู้บริโภคในการซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐานที่ดี ไม่ใช่แค่คำนึงด้านราคาเพียงอย่างเดียว เพราะการเปิดเสรีจะทำให้สินค้าราคาถูกแต่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาขายมากขึ้น
นอกจากนี้ ในอีก 2 ปีข้างหน้า ผู้ส่งออกไทยจะต้องออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตนเองจากเดิมที่หน่วยงานราชการออกให้ ดังนั้นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมจำเป็นต้องมีความรู้ถึงแหล่งกำเนิดสินค้านอกเหนือจากพิกัดภาษีศุลกากร เพื่อไม่ให้มีปัญหาด้านการส่งออก
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านกฎระเบียบการค้า เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการที่ไม่เข้าใจกฎระเบียบการค้าค่อนข้างมากโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ดังนั้น หอการค้าฯ ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาติดตามและเฝ้าระวังประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Prompt) เพื่อผลักดันให้คนไทยได้รับข้อมูลข่าวสารรวมไปถึงกฎระเบียบต่างๆภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวในปี 2558
ทั้งนี้ หอการค้าฯได้ร่วมมือกับกรมเจรจาการค้า กระทรวงพาณิชย์เดินทางไปให้ข้อมูล ความรู้แก่นักธุรกิจในจังหวัดขนาดใหญ่มาแล้ว 5 แห่ง และจะเดินไปให้ให้ครบ 10 แห่งภายในปีนี้ พร้อมกับกำหนดยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรควบคู่กันไปด้วย อาทิ ยุทธศาสตร์ข้าวและพืชพลังงาน เป็นต้น
สิ่งที่ภาคเอกชนเป็นห่วงในการเปิดเสรีภาคบริการในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยสาขาบริการที่เร่งรัดในปีนี้ ได้แก่ E-ASEAN (โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์) สุขภาพ ท่องเที่ยว การบินและลอจิสติกส์ ซึ่งจะอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนถือหุ้นในสาขาบริการได้ถึง 70%ของทุนจดทะเบียน โดยห่วงว่าบริษัทในประเทศที่สาม จะเข้ามาลงทุนในบางประเทศของอาเซียนแล้วขยายการลงทุนในไทยโดยใช้สิทธินี้ลงทุนถือหุ้นได้ 70% เสมือนเป็นบริษัทในประเทศอาเซียน จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสาขาโทรคมคมนาคม
นายพรศิลป์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาโครงสร้างการผลิต ขาดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสินค้าต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้สินค้าไม่ได้มาตรฐานสากล ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งพัฒนาการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานระดับสากลเพื่อให้แข่งขันได้ เนื่องจากภาษีนำเข้าลดเหลือเพียง 0%ภายใต้กรอบ AEC รวมทั้งต้องมีการเลือกอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น เกษตรอาหารและท่องเที่ยว ซึ่งไทยมีความได้เปรียบประเทศอื่นๆ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยคงแข่งขันสู้ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีได้ยากเพราะไม่มีเทคโนโลยี ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ต้องมาพิจารณาอีกทีว่าจะกำหนดทิศทางอย่างไรในอนาคต
ขณะเดียวกัน หากมีการเจรจาข้อตกลงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นประเด็นภาคสังคมก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นหลัก เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ เช่น การเจรจาเรื่องภาวะโลกร้อนภายใต้อนุสัญญา UNFCCC เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ควรให้ความรู้ต่อผู้บริโภคในการซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐานที่ดี ไม่ใช่แค่คำนึงด้านราคาเพียงอย่างเดียว เพราะการเปิดเสรีจะทำให้สินค้าราคาถูกแต่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาขายมากขึ้น
นอกจากนี้ ในอีก 2 ปีข้างหน้า ผู้ส่งออกไทยจะต้องออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตนเองจากเดิมที่หน่วยงานราชการออกให้ ดังนั้นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมจำเป็นต้องมีความรู้ถึงแหล่งกำเนิดสินค้านอกเหนือจากพิกัดภาษีศุลกากร เพื่อไม่ให้มีปัญหาด้านการส่งออก