กรมเจรจาการค้า ชี้เปิดอาฟต้า ช่วยให้เอสเอ็มอีไทยได้ประโยชน์มากกว่าเสีย เพราะเพิ่มโอกาสเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้น รวมถึง ต้นทุนต่างๆ ลดลง จากภาระภาษีที่หมดไป ขณะที่หลายอุตสาหกรรม ไทยมีศักยภาพที่ได้เปรียบเป็นทุนอยู่แล้ว แนะเร่งปรับตัว ใช้ประโยชน์จากอาฟตาให้เต็มที
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวในการเปิดสัมมนา “โอกาสการค้าการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ว่า ภายใต้กรอบความร่วมมือเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ซึ่งทำให้มีผลการลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.เป็นต้นมา โดยเวลาเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าการค้าระหว่างกันในส่วนของอาฟตาเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเชื่อว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนครั้งนี้จะทำให้ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (เอสเอ็มอี) ได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้น อีกทั้ง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายลดลง เนื่องจากภาษีศุลกากร อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจะหมดไป และกฎระเบียบต่าง ๆ จะได้รับการปรับและประสานให้สอดคล้องกันมากขึ้น
นอกจากนั้น ผู้ประกอบการไทยสาขาที่เข้มแข็งอยู่แล้ว ได้ประโยชน์จากศักยภาพในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยว การบริการ สุขภาพ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้อุตสาหกรรมเหล่านี้ มีศักยภาพที่ได้เปรียบอยู่ แต่ควรต้องปรับตัว เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวให้เต็มที ทั้งด้านช่องทางการค้า และการลดอุปสรรคการค้าจากข้อตกลงต่างๆ
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวในการเปิดสัมมนา “โอกาสการค้าการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ว่า ภายใต้กรอบความร่วมมือเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ซึ่งทำให้มีผลการลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.เป็นต้นมา โดยเวลาเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าการค้าระหว่างกันในส่วนของอาฟตาเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเชื่อว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนครั้งนี้จะทำให้ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (เอสเอ็มอี) ได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้น อีกทั้ง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายลดลง เนื่องจากภาษีศุลกากร อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจะหมดไป และกฎระเบียบต่าง ๆ จะได้รับการปรับและประสานให้สอดคล้องกันมากขึ้น
นอกจากนั้น ผู้ประกอบการไทยสาขาที่เข้มแข็งอยู่แล้ว ได้ประโยชน์จากศักยภาพในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยว การบริการ สุขภาพ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้อุตสาหกรรมเหล่านี้ มีศักยภาพที่ได้เปรียบอยู่ แต่ควรต้องปรับตัว เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวให้เต็มที ทั้งด้านช่องทางการค้า และการลดอุปสรรคการค้าจากข้อตกลงต่างๆ