คมนาคมถกคลังแก้ปัญหาเงินกู้ 400 ล้านเหรียญฯ จากจีน เพื่อลงทุนระบบราง ชี้เงื่อนไขทำไทยเสียเปรียบ เร่งสรุปข้อมูลก่อน”โสภณ”บินไปเจรจาจีน เผยรู้ปัญหานานแล้วแต่ละเลย ขณะที่บอร์ดร.ฟ.ท.นัดถกสู้มติ ครส.-สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ให้รับ 6 พนักงานกลับทำงาน อุทธรณ์สู้ยันคำสั่งไล่ออกถูกต้อง
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แผนการกู้เงินจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 14,000 ล้านบาทจากประเทศจีน เพื่อใช้ลงทุนระบบรางของประเทศไทยนั้น ขณะนี้ยังติดปัญหาเรื่องเงื่อนไขที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่มีเงื่อนไขในการกู้ เช่น การให้ใช้วัสดุก่อสร้างหรืออุปกรณ์จากจีนไม่ต่ำกว่า 50% หรือการใช้ผู้รับเหมาจากจีน เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขที่สูงมากเกินไปและไทยคงไม่สามารถรับได้ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด และเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณาอีกครั้ง พร้อมทั้งเป็นการเตรียมข้อมูลให้กับนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมที่จะไปประเทศจีนในเดือนมี.ค. 53 นี้
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำจากจีน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ทางเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานได้มีการหารือร่วมกันมาโดยตลอด ตั้งแต่รัฐบาล คมช. มีพลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ เป็นรมว.คมนาคม และได้สรุปว่า ไม่ควรใช้เงินกู้ดังกล่าวเพราะเงื่อนไขทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลปัญหาดังกล่าวไม่ได้ถูกนำเสนอขึ้นมาพิจารณาแต่อย่างใด
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า วานนี้ (18 ม.ค.) กระทรวงคมนาคม และร.ฟ.ท. ได้หารือร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อเกี่ยวกับแผนการกู้เงินจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ จากจีน เพื่อลงทุนในระบบรางของประเทศไทย
โดยที่ประชุมฯเห็นว่ารายละเอียดของเงื่อนไขการกู้เงินดังกล่าวยังไม่เรียบร้อย ดังนั้นจึงมอบหมายให้ สบน.จัดทำรายละเอียดให้เสร็จสิ้น และเสนอกระทรวงคมนาคมรับทราบอีกครั้ง ซึ่งเงื่อนไขการกู้เงินยังติดปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนกฎหมาย และความชัดเจนการกู้เพื่อมาใช้กับโครงการใด ซึ่งก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท. ระบุความจำเป็นในการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่กว่า 20 หัว เพื่อทดแทนรถจักรเดิมที่มีอาใช้งานมาก โดยจะซื้อขายในแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government : G-to-G) และจัดซื้อรางรถไฟ
**ร.ฟ.ท.ถกสู้มติ ครส.- ITF
รายงานข่าวจากร.ฟ.ท.แจ้งว่า วันนี้ (19 ม.ค.) คณะกรรมการ ร.ฟ.ท.จะประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการไล่ออก 6 พนักงานร.ฟ.ท.กรณีที่คณะผู้แทนสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ ( ITF ) จาก 5 ประเทศคือ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย นอร์เวย์ และอังกฤษ เห็นว่าการกระทำของพนักงานรถไฟทั้ง 6 คนถูกต้อง และการที่ร.ฟ.ท.และผู้ที่เกี่ยวข้อมีคำสั่งไล่ออกพนักงานทั้ง 6 คน เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2552 ผิดพร้อมกับเรียกร้องให้ร.ฟ.ท.รับ พนักงาน 6 คนกลับเข้าทำงานโดยเร็วที่สุดโดยไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งต้องถอนฟ้องพนักงานรถไฟในทุกๆ คดีทั้งคดีอาญาและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนั้น โดยบอร์ดร.ฟ.ท.จะยืนยัน คำสั่งไล่ออก 6 พนักงาน เพราะทำผิดระเบียบ ร.ฟ.ท. ประกอบกับกระบววนการพิจารณาขณะนี้อยู่ที่ศาลดังนั้นจะต้องรอให้ศาลเป็นผู้พิจารณา
และก่อนหน้านี้นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ยืนยันว่าร.ฟ.ท.จะต้องยื่นอุทธรณ์กรณีคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) มีมติให้รับ 6 พนักงานร.ฟ.ท.กลับเข้าทำงาน โดยยืนยันว่า การไล่ออกพนักงานทั้ง 6 คนเพราะละทิ้งหน้าที่ โดยการหยุดงาน ส่งผลให้ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถให้บริการเดินรถในเส้นทางสายใต้ได้ตามปกติ และการลงโทษโดยการไล่ออกเป็นการดำเนินการตามกฎระเบียบด้วยความถูกต้อง
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แผนการกู้เงินจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 14,000 ล้านบาทจากประเทศจีน เพื่อใช้ลงทุนระบบรางของประเทศไทยนั้น ขณะนี้ยังติดปัญหาเรื่องเงื่อนไขที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่มีเงื่อนไขในการกู้ เช่น การให้ใช้วัสดุก่อสร้างหรืออุปกรณ์จากจีนไม่ต่ำกว่า 50% หรือการใช้ผู้รับเหมาจากจีน เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขที่สูงมากเกินไปและไทยคงไม่สามารถรับได้ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด และเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณาอีกครั้ง พร้อมทั้งเป็นการเตรียมข้อมูลให้กับนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมที่จะไปประเทศจีนในเดือนมี.ค. 53 นี้
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำจากจีน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ทางเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานได้มีการหารือร่วมกันมาโดยตลอด ตั้งแต่รัฐบาล คมช. มีพลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ เป็นรมว.คมนาคม และได้สรุปว่า ไม่ควรใช้เงินกู้ดังกล่าวเพราะเงื่อนไขทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลปัญหาดังกล่าวไม่ได้ถูกนำเสนอขึ้นมาพิจารณาแต่อย่างใด
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า วานนี้ (18 ม.ค.) กระทรวงคมนาคม และร.ฟ.ท. ได้หารือร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อเกี่ยวกับแผนการกู้เงินจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ จากจีน เพื่อลงทุนในระบบรางของประเทศไทย
โดยที่ประชุมฯเห็นว่ารายละเอียดของเงื่อนไขการกู้เงินดังกล่าวยังไม่เรียบร้อย ดังนั้นจึงมอบหมายให้ สบน.จัดทำรายละเอียดให้เสร็จสิ้น และเสนอกระทรวงคมนาคมรับทราบอีกครั้ง ซึ่งเงื่อนไขการกู้เงินยังติดปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนกฎหมาย และความชัดเจนการกู้เพื่อมาใช้กับโครงการใด ซึ่งก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท. ระบุความจำเป็นในการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่กว่า 20 หัว เพื่อทดแทนรถจักรเดิมที่มีอาใช้งานมาก โดยจะซื้อขายในแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government : G-to-G) และจัดซื้อรางรถไฟ
**ร.ฟ.ท.ถกสู้มติ ครส.- ITF
รายงานข่าวจากร.ฟ.ท.แจ้งว่า วันนี้ (19 ม.ค.) คณะกรรมการ ร.ฟ.ท.จะประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการไล่ออก 6 พนักงานร.ฟ.ท.กรณีที่คณะผู้แทนสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ ( ITF ) จาก 5 ประเทศคือ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย นอร์เวย์ และอังกฤษ เห็นว่าการกระทำของพนักงานรถไฟทั้ง 6 คนถูกต้อง และการที่ร.ฟ.ท.และผู้ที่เกี่ยวข้อมีคำสั่งไล่ออกพนักงานทั้ง 6 คน เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2552 ผิดพร้อมกับเรียกร้องให้ร.ฟ.ท.รับ พนักงาน 6 คนกลับเข้าทำงานโดยเร็วที่สุดโดยไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งต้องถอนฟ้องพนักงานรถไฟในทุกๆ คดีทั้งคดีอาญาและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายนั้น โดยบอร์ดร.ฟ.ท.จะยืนยัน คำสั่งไล่ออก 6 พนักงาน เพราะทำผิดระเบียบ ร.ฟ.ท. ประกอบกับกระบววนการพิจารณาขณะนี้อยู่ที่ศาลดังนั้นจะต้องรอให้ศาลเป็นผู้พิจารณา
และก่อนหน้านี้นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ยืนยันว่าร.ฟ.ท.จะต้องยื่นอุทธรณ์กรณีคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) มีมติให้รับ 6 พนักงานร.ฟ.ท.กลับเข้าทำงาน โดยยืนยันว่า การไล่ออกพนักงานทั้ง 6 คนเพราะละทิ้งหน้าที่ โดยการหยุดงาน ส่งผลให้ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถให้บริการเดินรถในเส้นทางสายใต้ได้ตามปกติ และการลงโทษโดยการไล่ออกเป็นการดำเนินการตามกฎระเบียบด้วยความถูกต้อง