ถกชดเชยอียูขึ้นภาษีไก่ชะงัก หลังเล่นแง่ขอใช้ระบบโควตารวม โยนเข้ากองกลางแล้วให้ทุกประเทศแย่งชิงกันเอง ไทยเสียงแข็งไม่รับ เหตุเสียเปรียบคู่แข่งจีน ชิลี เตรียมผนึกกำลังบราซิลขอใช้โควตารายประเทศก่อนกดดันอียูใหม่
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลการหารือเพื่อขอชดเชยการปรับอัตราภาษีสินค้าสัตว์ปีก 8 รายการจากสหภาพยุโรป (อียู) อย่างไม่เป็นทางการระหว่างไทยกับอียูเมื่อช่วงเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ยังไม่ได้ข้อสรุป ส่งผลให้การบังคับใช้ตารางอัตราภาษีใหม่ของอียูไม่ทันกำหนดเดิมในวันที่ 1 ม.ค. 2553 ซึ่งสาเหตุที่การเจรจาทั้งสองฝ่ายไม่ได้ข้อยุติ เกิดจากความขัดแย้งแนวทางการกำหนดโควตาที่อียูต้องการใช้ระบบโควตารวม (เอ็มเอฟเอ็น โควตา) ขณะที่ไทยต้องการจัดสรรโควตาเป็นรายประเทศ เพราะได้ประโยชน์มากกว่าการใช้โควตารวม หรือให้อียูกำหนดปริมาณโควตาออกมาและจัดสรรให้ทุกประเทศตามสัดส่วนในโควตาที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ หากใช้ระบบโควตารวม ภาคเอกชนไทยเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ เพราะเท่ากับว่าไทยไม่ได้รับการชดเชยผลกระทบอย่างแท้จริง และไทยยังต้องไปแข่งขันกับผู้ส่งออกรายอื่น เช่น จีน ชิลี ที่พยายามจะขอให้ระบบโควตารวม เพราะสามารถเข้าไปทำตลาดอียูได้ โดยเอกชนไทยได้ขอให้ภาครัฐหยุดเจรจาก่อน เพื่อรอหารือกับเอกชนบราซิลที่เห็นพ้องกันว่าจะต้องได้ระบบโควตารายประเทศเท่านั้น และกลับไปเจรจาใหม่
นอกจากการเจรจาเรื่องระบบโควตาภาษีแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังได้เจรจาเกี่ยวกับการคำนวณปริมาณโควตา ซึ่งเบื้องต้นกำหนดจะใช้ปริมาณการนำเข้าเฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง (ปี 2549-2551) และใช้อัตราการเติบโตของการส่งออกปีละ 10% สำหรับทุกพิกัด โดยประเด็นนี้ทางภาคเอกชนไทยเห็นว่าไทยควรใช้ปีที่มีการส่งออกดีที่สุดเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนอัตราภาษีในโควตากำหนดไว้เท่าปัจจุบัน คือ 10.2% สำหรับตับเป็ดและห่าน 86.7 ยูโร/1,010 กก. สำหรับสัตว์ปีกแปรรูปดิบ และ 10.9% สำหรับสัตว์ปีกแปรรูปปรุงสุก ส่วนภาษีนอกโควตายังไม่ได้กำหนด เพียงแต่อียูให้แนวทางว่าจะต้องอยู่ในระดับสูงมากพอที่จะปกป้องการนำเข้าทะลักเข้ามา
“เอกชนไทยจะประสานกับเอกชนบราซิลก่อน อาจจะยื่นหนังสือแสดงความกังวลต่อผู้แทนอียูประจำประเทศไทย และการประชุมครั้งต่อไปทั้งสองประเทศจะหารือกับอียูพร้อมกัน เพื่อยืนยันท่าทีไม่เห็นด้วยกับระบบโควตารวม และต้องเลือกปีที่ส่งออกดีที่สุดมาคำนวณ” แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม คาดว่าอียูจะใช้ระบบอัตราภาษีสัตว์ปีกทั้ง 8 รายการ ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับจากวันที่ 1 ม.ค. 2553 เพราะต้องรอขั้นตอนผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป และแจ้งให้สมาชิกรับทราบ ก่อนมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้ไทยและบราซิลมีระยะเวลาในการเจรจาขอชดเชยโควตาจากการเปลี่ยนตารางภาษีใหม่ของอียู
สำหรับรายละเอียดอียูขอปรับเปลี่ยนตารางข้อผูกพันสินค้าสัตว์ปีก 8 รายการ ได้แก่ ตับเป็ดและตับห่าน เนื้อไก่แปรรูป (ดิบ) ที่มีสัดส่วนเนื้อไก่มากกว่า 57% เนื้อไก่แปรรูปที่มีสัดส่วนเนื้อไก่มากกว่า 25% แต่ไม่เกิน 57% เนื้อไก่แปรรูปที่มีสัดส่วนเนื้อไก่น้อยกว่า 25% เนื้อเป็ด ห่าน ไก่กินีแปรรูป (ดิบ) ที่สัดส่วนเนื้อมากกว่า 57% เนื้อเป็ด ห่าน ไก่กินีแปรรูป (ปรุงสุก) ที่มีสัดส่วนเนื้อมากกว่า 57% เนื้อเป็ด ห่าน ไก่กินีแปรรูป(ดิบ) ที่มีสัดส่วนเนื้อมากกว่า 25% แต่ไม่เกิน 57% และเนื้อเป็ด ห่าน ไก่กินีแปรรูป ที่มีสัดส่วนเนื้อน้อยกว่า 25% ตามความตกลงแกตต์ มาตรา 28 ซึ่งไทยและบราซิลในฐานะประเทศผู้ส่งออกที่จะได้รับผลกระทบได้แจ้งขอสงวนสิทธิเจรจาชดเชยการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีนำเข้าดังกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลการหารือเพื่อขอชดเชยการปรับอัตราภาษีสินค้าสัตว์ปีก 8 รายการจากสหภาพยุโรป (อียู) อย่างไม่เป็นทางการระหว่างไทยกับอียูเมื่อช่วงเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ยังไม่ได้ข้อสรุป ส่งผลให้การบังคับใช้ตารางอัตราภาษีใหม่ของอียูไม่ทันกำหนดเดิมในวันที่ 1 ม.ค. 2553 ซึ่งสาเหตุที่การเจรจาทั้งสองฝ่ายไม่ได้ข้อยุติ เกิดจากความขัดแย้งแนวทางการกำหนดโควตาที่อียูต้องการใช้ระบบโควตารวม (เอ็มเอฟเอ็น โควตา) ขณะที่ไทยต้องการจัดสรรโควตาเป็นรายประเทศ เพราะได้ประโยชน์มากกว่าการใช้โควตารวม หรือให้อียูกำหนดปริมาณโควตาออกมาและจัดสรรให้ทุกประเทศตามสัดส่วนในโควตาที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ หากใช้ระบบโควตารวม ภาคเอกชนไทยเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ เพราะเท่ากับว่าไทยไม่ได้รับการชดเชยผลกระทบอย่างแท้จริง และไทยยังต้องไปแข่งขันกับผู้ส่งออกรายอื่น เช่น จีน ชิลี ที่พยายามจะขอให้ระบบโควตารวม เพราะสามารถเข้าไปทำตลาดอียูได้ โดยเอกชนไทยได้ขอให้ภาครัฐหยุดเจรจาก่อน เพื่อรอหารือกับเอกชนบราซิลที่เห็นพ้องกันว่าจะต้องได้ระบบโควตารายประเทศเท่านั้น และกลับไปเจรจาใหม่
นอกจากการเจรจาเรื่องระบบโควตาภาษีแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังได้เจรจาเกี่ยวกับการคำนวณปริมาณโควตา ซึ่งเบื้องต้นกำหนดจะใช้ปริมาณการนำเข้าเฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง (ปี 2549-2551) และใช้อัตราการเติบโตของการส่งออกปีละ 10% สำหรับทุกพิกัด โดยประเด็นนี้ทางภาคเอกชนไทยเห็นว่าไทยควรใช้ปีที่มีการส่งออกดีที่สุดเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนอัตราภาษีในโควตากำหนดไว้เท่าปัจจุบัน คือ 10.2% สำหรับตับเป็ดและห่าน 86.7 ยูโร/1,010 กก. สำหรับสัตว์ปีกแปรรูปดิบ และ 10.9% สำหรับสัตว์ปีกแปรรูปปรุงสุก ส่วนภาษีนอกโควตายังไม่ได้กำหนด เพียงแต่อียูให้แนวทางว่าจะต้องอยู่ในระดับสูงมากพอที่จะปกป้องการนำเข้าทะลักเข้ามา
“เอกชนไทยจะประสานกับเอกชนบราซิลก่อน อาจจะยื่นหนังสือแสดงความกังวลต่อผู้แทนอียูประจำประเทศไทย และการประชุมครั้งต่อไปทั้งสองประเทศจะหารือกับอียูพร้อมกัน เพื่อยืนยันท่าทีไม่เห็นด้วยกับระบบโควตารวม และต้องเลือกปีที่ส่งออกดีที่สุดมาคำนวณ” แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม คาดว่าอียูจะใช้ระบบอัตราภาษีสัตว์ปีกทั้ง 8 รายการ ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับจากวันที่ 1 ม.ค. 2553 เพราะต้องรอขั้นตอนผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป และแจ้งให้สมาชิกรับทราบ ก่อนมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้ไทยและบราซิลมีระยะเวลาในการเจรจาขอชดเชยโควตาจากการเปลี่ยนตารางภาษีใหม่ของอียู
สำหรับรายละเอียดอียูขอปรับเปลี่ยนตารางข้อผูกพันสินค้าสัตว์ปีก 8 รายการ ได้แก่ ตับเป็ดและตับห่าน เนื้อไก่แปรรูป (ดิบ) ที่มีสัดส่วนเนื้อไก่มากกว่า 57% เนื้อไก่แปรรูปที่มีสัดส่วนเนื้อไก่มากกว่า 25% แต่ไม่เกิน 57% เนื้อไก่แปรรูปที่มีสัดส่วนเนื้อไก่น้อยกว่า 25% เนื้อเป็ด ห่าน ไก่กินีแปรรูป (ดิบ) ที่สัดส่วนเนื้อมากกว่า 57% เนื้อเป็ด ห่าน ไก่กินีแปรรูป (ปรุงสุก) ที่มีสัดส่วนเนื้อมากกว่า 57% เนื้อเป็ด ห่าน ไก่กินีแปรรูป(ดิบ) ที่มีสัดส่วนเนื้อมากกว่า 25% แต่ไม่เกิน 57% และเนื้อเป็ด ห่าน ไก่กินีแปรรูป ที่มีสัดส่วนเนื้อน้อยกว่า 25% ตามความตกลงแกตต์ มาตรา 28 ซึ่งไทยและบราซิลในฐานะประเทศผู้ส่งออกที่จะได้รับผลกระทบได้แจ้งขอสงวนสิทธิเจรจาชดเชยการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีนำเข้าดังกล่าว