“พาณิชย์”ฟื้นเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู เตรียมเสนอครม.ไฟเขียวตั้งคณะกรรมการรับฟังความเห็น ดึงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ก่อนกำหนดท่าทีไทยจะเดินหน้าต่อหรือยุติการเจรจา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 190
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากที่อียูได้หยุดการเจรจา FTA ระหว่างอาเซียน-อียู แต่แสดงความสนใจที่จะจัดทำ FTA กับบางประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งไทย
ทั้งนี้ การตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อศึกษาการทำ FTA เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 190 ที่ต้องการเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดท่าทีในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ยังเห็นว่าอียูเป็นคู่ค้าและนักลงทุนที่มีมูลค่าการค้าและการลงทุนสูงเป็นอันดับหนึ่งของไทย การทำ FTA จะช่วยรักษาส่วนแบ่งตลาดทางการค้าและการลงทุนของไทยกับอียูได้ และยังช่วยขยายตลาดสินค้าและบริการของไทย
“ที่เราเสนอให้ตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมา และดึงให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดท่าทีในการเจรจา เพื่อให้รู้ว่าควรจะมีการเจรจา FTA กับอียูหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็จะได้เดินหน้าต่อ แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ก็จะได้ยุติการเจรจา เพราะการทำ FTA กับอียู จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในทางบวกและลบ จึงต้องการที่จะได้ฉันทามติจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนกำหนดนโยบายในการเจรจาต่อไป”นางพรทิวากล่าว
สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ จะประกอบไปด้วยผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนจากภาคประชาสังคมที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องต่างๆ เช่น สิทธิบัตรยา ทรัพย์สินทางปัญญา และสิ่งแวดล้อม ผู้แทนจากสมาคมผู้ประกอบการที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี เช่น เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ผู้เลี้ยงกุ้ง และผู้ประกอบการขนส่ง และนักวิชาการ
ก่อนหน้านี้ อียูได้พยายามที่จะเปิดการเจรจา FTA กับอาเซียน แต่อียูมีปัญหากับอาเซียนบางประเทศ และเห็นว่าการเจรจากับอาเซียนทั้งหมด จะล่าช้า จึงได้ยุติการเจรจา และได้หันมาใช้วิธีการเจรจา FTA เป็นรายประเทศแทน ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่อียูต้องการทำ FTA ด้วย และได้มีการเจรจากับไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เปิดเวทีการเจรจาทำ FTA แต่ไทยก็ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนในเรื่องนี้ออกมา
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากที่อียูได้หยุดการเจรจา FTA ระหว่างอาเซียน-อียู แต่แสดงความสนใจที่จะจัดทำ FTA กับบางประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งไทย
ทั้งนี้ การตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อศึกษาการทำ FTA เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 190 ที่ต้องการเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดท่าทีในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ยังเห็นว่าอียูเป็นคู่ค้าและนักลงทุนที่มีมูลค่าการค้าและการลงทุนสูงเป็นอันดับหนึ่งของไทย การทำ FTA จะช่วยรักษาส่วนแบ่งตลาดทางการค้าและการลงทุนของไทยกับอียูได้ และยังช่วยขยายตลาดสินค้าและบริการของไทย
“ที่เราเสนอให้ตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมา และดึงให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดท่าทีในการเจรจา เพื่อให้รู้ว่าควรจะมีการเจรจา FTA กับอียูหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็จะได้เดินหน้าต่อ แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ก็จะได้ยุติการเจรจา เพราะการทำ FTA กับอียู จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในทางบวกและลบ จึงต้องการที่จะได้ฉันทามติจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนกำหนดนโยบายในการเจรจาต่อไป”นางพรทิวากล่าว
สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ จะประกอบไปด้วยผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนจากภาคประชาสังคมที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องต่างๆ เช่น สิทธิบัตรยา ทรัพย์สินทางปัญญา และสิ่งแวดล้อม ผู้แทนจากสมาคมผู้ประกอบการที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี เช่น เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ผู้เลี้ยงกุ้ง และผู้ประกอบการขนส่ง และนักวิชาการ
ก่อนหน้านี้ อียูได้พยายามที่จะเปิดการเจรจา FTA กับอาเซียน แต่อียูมีปัญหากับอาเซียนบางประเทศ และเห็นว่าการเจรจากับอาเซียนทั้งหมด จะล่าช้า จึงได้ยุติการเจรจา และได้หันมาใช้วิธีการเจรจา FTA เป็นรายประเทศแทน ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่อียูต้องการทำ FTA ด้วย และได้มีการเจรจากับไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เปิดเวทีการเจรจาทำ FTA แต่ไทยก็ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนในเรื่องนี้ออกมา