กลุ่มภาคประชาสังคมจากประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน เดินทางมายังศูนย์ผู้สื่อข่าว เพื่อแจกผลสรุปจากมหกรรมประชาชนครั้งที่ 2 แก่สื่อมวลชน ซึ่งแต่เดิมแถลงการณ์และผลสรุปเหล่านี้จะต้องนำเข้าหารือกับผู้นำและตัวแทนผู้นำในช่วงของการหารืออย่างไม่เป็นทางการในเวลาประมาณ 11.50 น.วันนี้ แต่ปรากฏว่าก่อนถึงเวลาเข้าพบมีการปฏิเสธไม่ให้ตัวแทนจาก 6 ประเทศที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากภาคประชาสังคมกันเอง ให้ได้เข้าพบกับผู้นำ และให้เพียงตัวแทนจากไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียเท่านั้น ทั้งหมดจึงประท้วงและไม่เข้าพบกับผู้นำ แต่ก็ยืนยันว่าพร้อมจะเจรจา
นางขิ่น โอมา ตัวแทนภาคประชาสังคมของพม่า ระบุว่า รู้สึกผิดหวัง แต่จะไม่ละความพยายาม รวมทั้งจะร่วมมือกับภาคประชาสังคมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้ต่อไป
การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำกับตัวแทนภาคประชาสังคมเกิดขึ้นตามกำหนดเดิม แต่ตัวแทนทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการปฏิเสธไม่ให้ตัวแทนจากภาคประชาสังคมเข้าพบ เพราะในการหารือระหว่างผู้นำกับตัวแทนภาคประชาสังคมครั้งแรกที่เคยเกิดขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่ 14 ที่หัวหิน-ชะอำ ก็เคยมีการปฏิเสธตัวแทนจากภาคประชาสังคม 2 ประเทศ คือ กัมพูชา และพม่า
ที่ผ่านมาสิ่งหนึ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน คืออาเซียนนั้นห่างไกลประชาชน นโยบายต่างๆ ที่จัดทำขึ้นก็ไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมวางนโยบาย ร่วมสร้างประชาสังคมอาเซียน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้อาจจะสะท้อนได้ถึงความไม่จริงจัง เพราะตัวแทนจากภาคประชาสังคมเหล่านี้เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และการเข้าไปสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนในแต่ละประเทศ รวมทั้งในอาเซียน เป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่สิ่งนี้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
นางขิ่น โอมา ตัวแทนภาคประชาสังคมของพม่า ระบุว่า รู้สึกผิดหวัง แต่จะไม่ละความพยายาม รวมทั้งจะร่วมมือกับภาคประชาสังคมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้ต่อไป
การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำกับตัวแทนภาคประชาสังคมเกิดขึ้นตามกำหนดเดิม แต่ตัวแทนทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการปฏิเสธไม่ให้ตัวแทนจากภาคประชาสังคมเข้าพบ เพราะในการหารือระหว่างผู้นำกับตัวแทนภาคประชาสังคมครั้งแรกที่เคยเกิดขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่ 14 ที่หัวหิน-ชะอำ ก็เคยมีการปฏิเสธตัวแทนจากภาคประชาสังคม 2 ประเทศ คือ กัมพูชา และพม่า
ที่ผ่านมาสิ่งหนึ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน คืออาเซียนนั้นห่างไกลประชาชน นโยบายต่างๆ ที่จัดทำขึ้นก็ไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมวางนโยบาย ร่วมสร้างประชาสังคมอาเซียน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้อาจจะสะท้อนได้ถึงความไม่จริงจัง เพราะตัวแทนจากภาคประชาสังคมเหล่านี้เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และการเข้าไปสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนในแต่ละประเทศ รวมทั้งในอาเซียน เป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่สิ่งนี้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้