สสปน.รับข้อเสนอบอร์ด สร้างสองทางเลือก เจ้าภาพจัด งานเวิลด์เอ็กซ์โป และ งานอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็กซ์โป พร้อมเห็นชอบตั้งคณะทำงานฯ มี”พรศิริ”เป็นประธาน เพื่อศึกษาแผนก่อนเสนอครม.ไตรมาสแรกปีหน้า ด้านสทท.โวยรัฐขอทบทวนโครงการโดเมสติกไมซ์ กดค่าคอฟฟี่เบรกจนเอกชนหน้าซีด สสปน.รับปากช่วยเจรจา
นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน)หรือ สสปน. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)สสปน. ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนงานนำประเทศไทยเข้าร่วมประมูลสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 หรือปีพ.ศ. 2563 พร้อมอนุมัติจัดตั้งคณะทำงานเตรียมการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป2020” โดยมีนางพรศิริ มโนหาญ ที่ปรึกษาสสปน. เป็นประธานคณะทำงานดังกล่าว ส่วนกรรมการจะประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมไมซ์(MICE) ได้แก่ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ,กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย)(ทิก้า) ,สมาคมการแสดงสินค้าไทย(TEA) เป็นต้น โดยมีตัวแทนจากสสปน.เป็นเลขาคณะทำงาน
ทั้งนี้สสปน.ได้รับข้อเสนอจากกรรมการในที่ประชุมและจะนำไปปฎิบัติตาม คือในเรื่องของ ให้คณะทำงานที่ตั้งขึ้นทำการศึกษาเพื่อเสนอต่อที่ประชุม ครม.ใน 2 แนวทางเลือก ได้แก่ การเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 และ เจ้าภาพจัดงานอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็กซ์โป 2022 ซึ่งเป็นงานที่มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า แต่ผลตอบแทนที่ได้รับก็จะต่ำกว่าด้วย
***เข้าครม.พิจารณาก.พ.ปีหน้า***
สำหรับภาระกิจหลักของคณะทำงานฯ จะมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ศึกษาข้อมูลการเตรียมการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในขณะนี้ 2.กำหนดแนวทางที่นำเสนอที่จะให้ครม.พิจารณา 3. ประมาณการณ์งบประมาณเบื้องต้นที่จะใช้ในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน และ4.สรุปขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเสนอครม. คาดว่าคณะทำงานจะใช้เวลาในการศึกษา 1-2 เดือน โดยจะเสนอเข้าที่ประชุมครม.เพื่อพิจารณาในเดือน ก.พ.53 หรือภายในไตรมาสแรกปีหน้า
หากครม.เห็นชอบ จะตั้งคณะทำงานชุดใหญ่เพื่อมาศึกษาอย่างจริงจัง จะต้องมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และ สำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง ร่วมเป็นคณะทำงานด้วย โดยประธานคณะทำงานอาจเป็นนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดแผนการทำงานให้ตรงตามหลักเกณฑ์การพิจารณาการคัดเลือกเมืองที่จะเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปของสำนักงานส่งเสริมการจัดงานเอ็กซ์โปนานาชาติ(The Bureau of International Expositions หรือ BIE)
“การที่เราต้องศึกษา 2 แผนควบคู่กันไป คือทั้งงานเวิลด์เอ็กซ์โป และงานอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็กซ์โป ก็เพื่อใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบและเป็นทางเลือกให้แก่รัฐบาลว่าศักยภาพของประเทศไทยจะเป็นไปได้ในงานไหน ซึ่งจากการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเอกชนเห็นด้วยกับแนวเป้าหมายเป็นเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป เพราะจะก่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศ แต่ด้วยความเป็นห่วง จึงควรมีแผนสองมารองรับด้วย”
สำหรับแนวทางการศึกษาเบื้องต้น ที่สสปน.นำเสนอในที่ประชุมบอร์ดครั้งนี้ถึงความคุ้มค่าการลงทุน คือไทยจะใช้เงินลงทุน 2 หมื่นล้านบาทซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอยู่แล้ว โดยประมาณการณ์รายได้จากงานนี้ไว้ที่ 1.67 แสนล้านบาท หรือ 8 เท่าของการลงทุน มีผู้เข้าชมงานไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคนในระยะเวลาจัดงานนาน 6 เดือน
***เสนอรัฐทบทวนเลิกบี้ค่ากาแฟ****
นายอรรคพล กล่าวอีกว่า สสปน.ยังเตรียมเสนอต่อรัฐบาลถึงความต้องการของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ จากข้อมูลที่สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.)ได้รายงานมา กล่าวคือ โครงการโดเมสติกไมซ์ เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐและเอกชนจัดประชุมภายในประเทศ เป็นนโยบายที่ดี แต่รัฐบาลควรทบทวนในเรื่องของการกำหนดอัตราค่าบริการให้เอกชนสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ เช่น ค่าคอฟฟี่เบรกที่ตั้งไว้หัวละ 25 บาทนั้นเป็นอัตราที่ถูกเกินจริง ควรเปลี่ยนเป็นให้สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของการบริการและสถานที่ มิฉะนั้นแม้เอกชนจะมีลูกค้ากลุ่มไมซืเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ได้ช่วยให้รายได้ของกิจการดีขึ้นตามไปด้วย
ด้านผลการดำเนินงานในปีพ.ศ.2552 เป็นไปตามเป้าหมายที่สสปน.วางไว้คือ สามารถดึงคนเข้ามาร่วมกิจกรรมไมซ์ในประเทศไทยได้ 628,653 คน สร้างรายได้ 45,560 ล้านบาท โดยปีหน้า ตั้งเป้าเติบโต 25% หรือมีจำนวนผู้ร่วมงานกว่า 700,000 คน รายได้สะพัดกว่า 50,000 ล้านบาท
นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน)หรือ สสปน. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)สสปน. ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนงานนำประเทศไทยเข้าร่วมประมูลสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 หรือปีพ.ศ. 2563 พร้อมอนุมัติจัดตั้งคณะทำงานเตรียมการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป2020” โดยมีนางพรศิริ มโนหาญ ที่ปรึกษาสสปน. เป็นประธานคณะทำงานดังกล่าว ส่วนกรรมการจะประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมไมซ์(MICE) ได้แก่ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ,กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย)(ทิก้า) ,สมาคมการแสดงสินค้าไทย(TEA) เป็นต้น โดยมีตัวแทนจากสสปน.เป็นเลขาคณะทำงาน
ทั้งนี้สสปน.ได้รับข้อเสนอจากกรรมการในที่ประชุมและจะนำไปปฎิบัติตาม คือในเรื่องของ ให้คณะทำงานที่ตั้งขึ้นทำการศึกษาเพื่อเสนอต่อที่ประชุม ครม.ใน 2 แนวทางเลือก ได้แก่ การเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 และ เจ้าภาพจัดงานอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็กซ์โป 2022 ซึ่งเป็นงานที่มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า แต่ผลตอบแทนที่ได้รับก็จะต่ำกว่าด้วย
***เข้าครม.พิจารณาก.พ.ปีหน้า***
สำหรับภาระกิจหลักของคณะทำงานฯ จะมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ศึกษาข้อมูลการเตรียมการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในขณะนี้ 2.กำหนดแนวทางที่นำเสนอที่จะให้ครม.พิจารณา 3. ประมาณการณ์งบประมาณเบื้องต้นที่จะใช้ในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน และ4.สรุปขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเสนอครม. คาดว่าคณะทำงานจะใช้เวลาในการศึกษา 1-2 เดือน โดยจะเสนอเข้าที่ประชุมครม.เพื่อพิจารณาในเดือน ก.พ.53 หรือภายในไตรมาสแรกปีหน้า
หากครม.เห็นชอบ จะตั้งคณะทำงานชุดใหญ่เพื่อมาศึกษาอย่างจริงจัง จะต้องมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และ สำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง ร่วมเป็นคณะทำงานด้วย โดยประธานคณะทำงานอาจเป็นนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดแผนการทำงานให้ตรงตามหลักเกณฑ์การพิจารณาการคัดเลือกเมืองที่จะเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปของสำนักงานส่งเสริมการจัดงานเอ็กซ์โปนานาชาติ(The Bureau of International Expositions หรือ BIE)
“การที่เราต้องศึกษา 2 แผนควบคู่กันไป คือทั้งงานเวิลด์เอ็กซ์โป และงานอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็กซ์โป ก็เพื่อใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบและเป็นทางเลือกให้แก่รัฐบาลว่าศักยภาพของประเทศไทยจะเป็นไปได้ในงานไหน ซึ่งจากการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเอกชนเห็นด้วยกับแนวเป้าหมายเป็นเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป เพราะจะก่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศ แต่ด้วยความเป็นห่วง จึงควรมีแผนสองมารองรับด้วย”
สำหรับแนวทางการศึกษาเบื้องต้น ที่สสปน.นำเสนอในที่ประชุมบอร์ดครั้งนี้ถึงความคุ้มค่าการลงทุน คือไทยจะใช้เงินลงทุน 2 หมื่นล้านบาทซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอยู่แล้ว โดยประมาณการณ์รายได้จากงานนี้ไว้ที่ 1.67 แสนล้านบาท หรือ 8 เท่าของการลงทุน มีผู้เข้าชมงานไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคนในระยะเวลาจัดงานนาน 6 เดือน
***เสนอรัฐทบทวนเลิกบี้ค่ากาแฟ****
นายอรรคพล กล่าวอีกว่า สสปน.ยังเตรียมเสนอต่อรัฐบาลถึงความต้องการของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ จากข้อมูลที่สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.)ได้รายงานมา กล่าวคือ โครงการโดเมสติกไมซ์ เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐและเอกชนจัดประชุมภายในประเทศ เป็นนโยบายที่ดี แต่รัฐบาลควรทบทวนในเรื่องของการกำหนดอัตราค่าบริการให้เอกชนสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ เช่น ค่าคอฟฟี่เบรกที่ตั้งไว้หัวละ 25 บาทนั้นเป็นอัตราที่ถูกเกินจริง ควรเปลี่ยนเป็นให้สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของการบริการและสถานที่ มิฉะนั้นแม้เอกชนจะมีลูกค้ากลุ่มไมซืเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ได้ช่วยให้รายได้ของกิจการดีขึ้นตามไปด้วย
ด้านผลการดำเนินงานในปีพ.ศ.2552 เป็นไปตามเป้าหมายที่สสปน.วางไว้คือ สามารถดึงคนเข้ามาร่วมกิจกรรมไมซ์ในประเทศไทยได้ 628,653 คน สร้างรายได้ 45,560 ล้านบาท โดยปีหน้า ตั้งเป้าเติบโต 25% หรือมีจำนวนผู้ร่วมงานกว่า 700,000 คน รายได้สะพัดกว่า 50,000 ล้านบาท