ครม.มาร์คมอบของขวัญส่งท้ายปี คลอด 4 มาตรการภาษี เว้นภาษีนำเข้า 13 รายการ เพิ่มสิทธิประโยชน์หน่วยลงทุน กบข.และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาตรการช่วยเหลือคนพิการและหนุนการปรับโครงสร้างหนี้
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการภาษี 4 มาตรการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ประกอบไปด้วย มาตรการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราภาษีศุลกากร มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมเพื่อการชราภาพกรณีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือคนพิการ และมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และโครงสร้างองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ พัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมการออมระยะยาวด้วย
สำหรับมาตรการพิกัดอัตราภาษีศุลกากร ครม.ได้อนุมัติให้ยกเว้นภาษีศุลกากรมาตรา 12 ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พิกัดอัตราภาษีศุลกากร ซึ่งมี 13 รายการ ที่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ หรือที่ผลิตได้ ปริมาณน้อยหรือคุณภาพต่ำ เช่น วัตถุดิบที่นำมาทำไส้กรองไปเสียจักรยานยนต์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกเป็นหลักที่สามารถลดต้นทุนทางการผลิตได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยที่ผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไม่มากนัก เพราะอัตราศุลกากรลดลงต่อเนื่อง และ 13 รายการดังกล่าวจัดเก็บรายได้ได้เพียง 35 ล้านบาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับภาษีที่จะมากขึ้นจากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ
นายประดิษฐ์กล่าวว่า มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมเพื่อการชราภาพกรณี กบข.และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นเรื่องใหม่ โดยจะยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับไม่ว่าจะเป็นการพ้นสภาพสมาชิกจากการเกษียณอายุหรือเสียชีวิต หรือการพ้นสภาพที่ไม่ได้เกิดจากการเกษียณอายุ หรือเสียชีวิต และไม่ว่าจะเป็นการขอรับทั้งจำนวนและทยอยรับรวมถึงกรณีที่มีการโอนเงินหรือผลประโยชน์จาก กบข.ไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหนึ่งไปอีกกองหนึ่ง ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาเช่นกัน
ขณะที่มาตรการใหม่อีกมาตรการคือมาตรการภาษี เพื่อช่วยเหลือคนพิการ โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ของนายจ้างหรือเจ้าของผู้ประกอบการที่รับคนพิการเข้าทำงานรวมถึงที่มีการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ โดยสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าจ้าง เพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้ดีขึ้น มีโอกาสใช้ชีวิตได้เท่าเทียมกับคนปกติ ขณะที่ผู้พิการที่มีรายได้ยังเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ
นายประดิษฐ์กล่าวว่า ครม.ยังมีมติให้ยืดอายุมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และโครงสร้างองค์กรออกไปอีก 1 ปีจากที่จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และองค์กรที่มีประสิทธิภาพ สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลดลง โดยจะเห็นว่าจากมาตรการดังกล่าวในปี 2550 เอ็นพีแอลลดลง 67,700 ล้านบาท ในปี 2551 ลดลงอีก 84,000 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 เอ็นพีแอลลดลง 23,300 ล้านบาท
“หากรวมผลของมาตรกาภาษีดังกล่าวจะช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่ลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออนาคตของประเทศ รวมถึงคุณภาพชีวิตประชาชนและผู้พิการที่จะดีขึ้น และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร เมื่อเทียบกับรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ลดลง เพราะในส่วนของกรมศุลกากรนั้นไม่มาก ขณะที่กรมสรรพากรเองก็ไม่เสียรายได้ไม่มากเช่นกัน เพราะหากส่งเสริมการออมในประเทศเพิ่มขึ้นก็น่าจะจะนำมาซื้อการลงทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย”นายประดิษฐ์กล่าวและว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุมครม.ในวันที่ 22 ธันวาคม เพราะเห็นว่ายังมีเวลาที่จะพิจารณาในเรื่องนี้
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการภาษี 4 มาตรการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ประกอบไปด้วย มาตรการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราภาษีศุลกากร มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมเพื่อการชราภาพกรณีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือคนพิการ และมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และโครงสร้างองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ พัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมการออมระยะยาวด้วย
สำหรับมาตรการพิกัดอัตราภาษีศุลกากร ครม.ได้อนุมัติให้ยกเว้นภาษีศุลกากรมาตรา 12 ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พิกัดอัตราภาษีศุลกากร ซึ่งมี 13 รายการ ที่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ หรือที่ผลิตได้ ปริมาณน้อยหรือคุณภาพต่ำ เช่น วัตถุดิบที่นำมาทำไส้กรองไปเสียจักรยานยนต์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกเป็นหลักที่สามารถลดต้นทุนทางการผลิตได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยที่ผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไม่มากนัก เพราะอัตราศุลกากรลดลงต่อเนื่อง และ 13 รายการดังกล่าวจัดเก็บรายได้ได้เพียง 35 ล้านบาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับภาษีที่จะมากขึ้นจากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ
นายประดิษฐ์กล่าวว่า มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมเพื่อการชราภาพกรณี กบข.และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นเรื่องใหม่ โดยจะยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับไม่ว่าจะเป็นการพ้นสภาพสมาชิกจากการเกษียณอายุหรือเสียชีวิต หรือการพ้นสภาพที่ไม่ได้เกิดจากการเกษียณอายุ หรือเสียชีวิต และไม่ว่าจะเป็นการขอรับทั้งจำนวนและทยอยรับรวมถึงกรณีที่มีการโอนเงินหรือผลประโยชน์จาก กบข.ไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหนึ่งไปอีกกองหนึ่ง ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาเช่นกัน
ขณะที่มาตรการใหม่อีกมาตรการคือมาตรการภาษี เพื่อช่วยเหลือคนพิการ โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ของนายจ้างหรือเจ้าของผู้ประกอบการที่รับคนพิการเข้าทำงานรวมถึงที่มีการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ โดยสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าจ้าง เพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้ดีขึ้น มีโอกาสใช้ชีวิตได้เท่าเทียมกับคนปกติ ขณะที่ผู้พิการที่มีรายได้ยังเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ
นายประดิษฐ์กล่าวว่า ครม.ยังมีมติให้ยืดอายุมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และโครงสร้างองค์กรออกไปอีก 1 ปีจากที่จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และองค์กรที่มีประสิทธิภาพ สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลดลง โดยจะเห็นว่าจากมาตรการดังกล่าวในปี 2550 เอ็นพีแอลลดลง 67,700 ล้านบาท ในปี 2551 ลดลงอีก 84,000 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 เอ็นพีแอลลดลง 23,300 ล้านบาท
“หากรวมผลของมาตรกาภาษีดังกล่าวจะช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่ลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออนาคตของประเทศ รวมถึงคุณภาพชีวิตประชาชนและผู้พิการที่จะดีขึ้น และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร เมื่อเทียบกับรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ลดลง เพราะในส่วนของกรมศุลกากรนั้นไม่มาก ขณะที่กรมสรรพากรเองก็ไม่เสียรายได้ไม่มากเช่นกัน เพราะหากส่งเสริมการออมในประเทศเพิ่มขึ้นก็น่าจะจะนำมาซื้อการลงทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย”นายประดิษฐ์กล่าวและว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุมครม.ในวันที่ 22 ธันวาคม เพราะเห็นว่ายังมีเวลาที่จะพิจารณาในเรื่องนี้